Consultant and Think Tank… ที่ปรึกษาและคลังสมอง #ExtreamLeadership

การถกเถียงเชิงนโยบายเพื่อนำไปสู่การตัดสินใจด้านนโยบาย ไล่มาตั้งแต่การดำเนินการทางนโยบายสาธารณะโดยกลุ่มผู้บริหารประเทศ และ ข้าราชการชั้นสูง ไปจนถึงการวางนโยบายขององค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีตัวแปรซับซ้อนเป็น “ผลได้–ผลเสีย” ที่ต้องชั่งน้ำหนักอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจใดๆ โดยเฉพาะการตัดสินใจออกกฏที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้เข้าร่วมกระบวนการเพื่อตัดสินใจนั้นด้วย… 

แนวทาง และ กลไกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในการตัดสินใจระดับนโยบายสาธารณะ รวมทั้งการตัดสินใจเชิงนโยบายในระดับองค์กรที่มีธรรมมาภิบาลสูงทั้งหมด… ต่างก็ใช้กระบวนการที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” ไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเสมอ… แต่กลไกประชาธิปไตยในทางเทคนิคจะเป็นเพียงการออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้าน “ทางเลือกจากตัวเลือก” ที่ถูก “ถกเถียงเชิงนโยบาย” จนเหลือเป็นตัวเลือกไม่มากเพื่อหาเสียงสนับสนุนเท่านั้น โดยข้อมูลจำนวนมากที่ถูกใช้ และ นำไปสู่การถกเถียงจนได้ข้อสรุปหนึ่งๆ มานำเสนอเป็นทางเลือกเชิงนโยบายในขั้นตอนแบบประชาธิปไตย ล้วนแต่ถูกดำเนินการโดยคณะทำงาน “กลั่นกรองตัวแปรอันซับซ้อน” มาก่อน ซึ่งคณะทำงานนี้มักถูกเรียกว่า “คลังสมอง หรือ Think Tank” ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่สามารถให้คำปรึกษาโดยมีข้อมูลอ้างอิงมากและที่ดีที่สุด

คำถามก็คือ ถ้า Think Tank ก็ให้คำปรึกษา แล้วจะต่างจาก Consultant ที่รับทำงานด้านให้คำปรึกษาเช่นกันอย่างไร?

Think Tank หรือ คลังสมอง ในทางเทคนิคจะนิยามถึงสถาบันที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ช่วยกันสะสมข้อมูลและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ทันสมัย และ สามารถส่งมอบข้อเท็จจริงที่เชื่อถือได้ในทุกๆ ตัวแปร และ ผลประโยชน์ได้–เสีย ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นสถาบันที่ค้นคว้าวิจัยเฉพาะทางที่เชื่อถือได้ จากการทำงานด้านนั้นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสนอ… ส่วน Consultant หรือ ที่ปรึกษา ในทางเทคนิคจะนิยามถึง “บุคคล หรือ องค์กร” ที่สามารถส่งมอบข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์พร้อมเป้าหมายหนึ่งๆ ซึ่งในทางปฏิบัติจะเป็นการนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่ Think Tank หรือ คลังสมอง สะสมไว้มาใช้ประโยชน์เชิงบูรณาการต่อเป้าหมายหนึ่งๆ แต่ก็มีองค์กรที่เป็น Consultancy ไม่น้อยที่ทำงานระดับ Think Tank เพื่อสนองเป้าหมายของตัวเองและของลูกค้า เช่น McKinsey Global Institute หรือ MGI… Accenture Institute for High Performance… IBM Institute for Business Value… และ Boston Consulting Group’s Henderson Institute ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานวิจัยและใช้ข้อมูลจากการวิจัยช่วยผลักดันเป้าหมายใหญ่ๆ ได้อย่างแม่นยำมานาน

ประเด็นก็คือ… ในการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่ “การนำ และ ภาวะผู้นำ” ไม่อยู่ในวิสัยที่จะขับเคลื่อนอะไรได้ง่ายๆ นักบริหารที่เชี่ยงชาญกลยุทธ์การจัดการมักจะเรียกหา “บุคคลที่ 3” ซึ่งก็มักจะเป็น Consultant หรือไม่ก็ Think Tank มาช่วยงานเปลี่ยนผ่านที่ “ออกหน้าเองได้ลำบาก” เสมอ

ผู้นำตั้งแต่ระดับผู้นำประเทศ ลงมาจนถึงผู้นำทีมในองค์กรเอกชนที่ต้องการผลักดันการเปลี่ยนแปลง จึงมองหา Consultant หรือไม่ก็ Think Tank มาช่วยงานด้านเทคนิคและกลยุทธ์เสมอ… แต่อย่าไปสับสนกับการตั้ง “ที่ปรึกษาของนักการเมืองบางกลุ่ม” ซึ่งหาที่ปรึกษาจากพวกพ้องและคนในครอบครัว เพื่อมารับเงินเดือนและเป็นมือเท้ามากกว่าจะให้มาช่วยคิดอะไรดีๆ ได้ถึงขั้นสร้างการเปลี่ยนแปลง… ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือกรณีของประธานาธิบดี Donald Trump ผู้ไม่สนใจ Think Tank กว่า 1,800 สถาบันในสหรัฐ ที่ประธานาธิบดีรุ่นก่อนๆ ใช้ข้อมูลจากสถาบันเหล่านี้ทำงานเชิงนโยบาย ซึ่งต่างจากประธานาธิบดี Barack Obama ซึ่งนักวิจัยระดับศาสตราจารย์มากมายทั่วสหรัฐยืนยันว่า ประธานาธิบดี Barack Obama และคณะทำงานใกล้ชิดกับข้อมูลจาก Think Tank จนสามารถผลิตนโยบายสาธารณะที่ “ใส่ใจ”ได้แตกต่าง และ ให้ความสำคัญมากต่อผลการศึกษาวิจัยที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่ง Assoc. Prof. Mark Rom จาก McCourt School of Public Policy and the Department of Government ของ Georgetown University ได้วิเคราะห์บทบาทและยืนยันไว้

ที่จะบอกก็คือ… เป็นผู้นำ หรือ ผู้บริหารยุคใหม่ “ควรต้อง” ใช้ Consultant และ Think Tank เพื่องานระดับนโยบายและกลยุทธ์ให้เป็นครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts