การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจจีนให้เติบโตชะลอลงอย่างเห็นได้ชัด แถมยังฉุดเศรษฐกิจของชาติที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจีน ที่เกี่ยวข้องทางการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างกันมากมาย… ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า หากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยืดเยื้อยาวนานเกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน อาจฉุดรั้งเศรษฐกิจจีนให้เติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ราว 1.0% และลงไปแตะที่ระดับประมาณ 4.7%
การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากจีนมายังอาเซียนในอัตราส่วนที่สูงที่สุด เนื่องจากมูลค่าการลงทุนโดยตรง มักมีความผันผวนอย่างมากไปตามเศรษฐกิจของประเทศ โดยหาก GDP ของจีนเติบโตลดลง 1.0%… มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากจีนไปยังอาเซียนคาดว่าจะลดลงถึง 2.8%
ขณะที่ รายได้การท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีนจะลดลง 1.5%… มูลค่าการส่งออกไปยังจีนของอาเซียนจะลดลงราว 1.2% ด้วย
กรณีของไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หากเศรษฐกิจจีนเติบโตลดลง 1.0% จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจไทยในกรอบประมาณ 500-700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 0.09-0.13% ของ GDP ทั้งปีของไทย โดยภาคการส่งออกของไทยได้รับผลกระทบสูงสุดถึงราว 300-400 ล้านดอลลาร์สหรัฐแน่นอน
ตัวเลขการคาดการณ์ต่างๆ เรารับทราบพอเป็นแนวทางประมาณนี้ เป็นข้อมูลการประเมินในกรอบที่ว่า วิกฤติไวรัส COVID-19 ต้องจบในสามเดือนหกเดือนครับ… แต่สาระหลักและประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า… จิตวิทยาการบริโภคในปัจจุบันทรุดลงอย่างหนัก และระบาดไปทั่วโลกยิ่งกว่าไวรัสเสียอีก
คนส่วนใหญ่คงเคยได้ยินเรื่องวิกฤติสร้างโอกาสมาบ้าง… วันนี้ผมก็เลยจะเอาแนวคิดประเด็นโอกาสในวิกฤติ จากกรณีสถานการณ์ COVID-19 นี่แหละ ว่าเราจะมองทะลุปัญหาไปเจอโอกาสอะไรอย่างไรได้บ้าง…
ซึ่งตอนนี้ไม่มีใครบอกได้ว่า… วิกฤติ COVID-19 จะยืดเยื้อยาวนานไปอีกแค่ไหน… แต่หลายฝ่ายก็คาดว่าจะไม่จบง่ายอย่างที่คิดแล้ว หลายสำนักชี้ว่าผลกระทบอาจถึงขั้นเปลี่ยนระบบนิเวศน์ทางเศรษฐศาสตร์โลกไปตลอดกาลก็มี… และท้ายที่สุด ชีวิตยังต้องเดินหน้าต่อไปทั้งชีวิตผู้คนทั้งโลกและเศรษฐกิจการค้า
ถ้าท่านเป็นแฟนประจำของ Reder.red ก็คงเคยผ่านตาเรื่อง VUCA World ที่พูดถึงความสับสนไม่แน่นอนซับซ้อนคลุมเครือของโลกปัจจุบันมาบ้างแล้ว… ซึ่งท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติอะไรแค่ไหน ผู้คนจะปรับตัวและออกจากบ้านไปทำมาหากินและทำในสิ่งที่ต้องทำอยู่ดี
ประเด็นก็คือ… ของที่ต้องมีติดตัวคนๆ หนึ่งในวันที่ต้องออกจากชายคาไปเจอฝุ่นควันและเชื้อโรคข้างนอก… ซึ่งไอเท็มเหล่านี้น่าจะสร้างโอกาสให้ SME ได้ไม่มากก็น้อย… ตัวอย่างเช่น

เจลทำความสะอาดมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์แบบไม่ต้องล้างออก… สินค้าพื้นฐานอย่างเจลล้างมือผสมแอลกอฮอล์ หรือสูตรการฆ่าเชื้อแบบใช้กับมือโดยไม่ต้องล้างออกหลากหลายสูตร ที่กำลังจำเป็นสำหรับผู้คน และกำลังนิยมผลิตจำหน่ายและ DIY ใช้เองหลากหลายไอเดีย… ด้านหนึ่ง ตลาดนี้เติบโตอย่างเงียบๆ มานานและชัดเจนมาตั้งแต่คราวที่ไข้หวัด 2009 ระบาดและผู้คนตื่นตัวเรื่องสุขอนามัยเรื่องกินร้อนช้อนกลางและล้างมือ 9 ขั้นตอนมานับสิบปีแล้ว ถึงจะไม่เคร่งครัดนัก… และตอนนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขบังคับใช้เกณฑ์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสาหรับมือ พ.ศ. 2562 จะมีการยกเลิกทะเบียน อย. สินค้าหมวดนี้ทั้งหมดในวันที่ 11 มีนาคม 2563 นี้ครับ… และย้ายสินค้าหมวดนี้ไปขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ เหมือนหน้ากากอนามัย N95… ซึ่งผมมองว่า นี่เป็นจังหว่ะโอกาสสำหรับ SME สายผลิตจำหน่ายสินค้าดูแลสุขภาพประจำวันอย่างเจลล้างมือ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ หรือเทคนิคการควบคุมเชื้อโรคที่มือแบบอื่นๆ
ใช่ครับผมกำลังจะบอกว่า… สินค้าอย่างเจลล้างมือและสเปรย์แอลกอฮอล์กำลังจะถูกควบคุมเข้มข้น หลังจากที่สินค้าหมวดนี้สำคัญกับชีวิตประจำวันอย่างมาก แต่ย่อนยานเรื่องมาตรฐานจนปรากฎเชื้อดื้อยาเนื่องจากความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ถึง 70%… และหากคิดแบบนวัตกรโดยใช้ First Principal Thinking ก็จะทราบว่า… ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ต้องเป็นเจลล้างมือหรือสเปรย์ฆ่าเขื้อหรอกครับ… แต่เป็นเรื่องเชื้อโรคที่มือที่น่าจะมีวิธีอีกมากมาควบคุม ซึ่งเจลหรือสเปรย์ฆ่าเชื้อก็เป็นเพียงหนึ่งวิธีที่นิยมเท่านั้น

หน้ากากอนามัย… ของใช้พื้นฐานอีกชิ้นในวันที่อากาศปนเปื้อนหลายสิ่ง จนลมหายใจกลายเป็นช่องทางบั่นทอนสุขภาพถึงขั้นฆ่าใครก็ได้ ถ้าเพียงแค่หายใจเอาอากาศพิษ หรือเชื้อโรคเข้าไปมากพอ… กรณีการฆ่าตัวตายด้วยเตาอั้งโล่จุดไฟยืนยันได้อย่างดีว่า อากาศพิษฆ่าคนได้… และกรณีบุคลากรทางการแพทย์ในอู่ฮั่นเสียชีวิตในหน้าที่ก็เช่นเดียวกัน… หน้ากากอนามัยจึงกลายเป็นของจำเป็นที่ไม่มีใครอยากใช้!… แต่จำต้องใช้!!!… ซึ่ง Pain Point มากมายของการคาดหน้ากากอนามัยสารพัดเกรด ทำลายความสุขและพัฒนาความเครียดใส่เราทั้งในฐานะคนสวมและเห็นคนอื่นสวมเต็มไปหมด ทำให้เรารู้สึกว่า รอบๆ ตัวเราช่างน่ากลัวถึงขั้นต้องใส่หน้ากากเข้าหากัน
แต่ประเด็นหน้ากากอนามัยที่มี Pain Point อยู่มาก… ที่อาจจะแปลซ้ำได้ว่า มีโอกาสอยู่มากเช่นกัน… ซึ่งทัศนส่วนตัวของผมเชื่อว่า สมควรถอยกลับมาหานวัตกรรมลมหายใจ ที่มองว่า หน้ากากอนามัยยังไม่ใช่ที่สุดของการหาอากาศที่ปลอดภัย ซึ่งผมคิดว่ามา Scale ของการวิเคราะห์หานวัตกรรมหลายระดับทีเดียว ตั้งแต่พื้นที่สาธารณะจนถึงไอเท็มส่วนบุคคล

อีกหมวดสินค้าบริการที่น่าสนใจคือ อาคารสถานที่และพื้นที่สาธารณะ… จุดสัมผัสมากมายในพื้นที่สาธารณะตั้งแต่ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟท์ อุปกรณ์ในห้องน้ำ รวมทั้งม้านั่งโซฟา ซึ่งทั้งหมดเป็นอะไรที่มือของเราต้องสัมผัสเท่าๆ กับมือของคนอื่นๆ โดยการจัดการระดับบุคคลคือการทำความสะอาดมือเสมอที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อ จนเจลล้างมือและสเปรย์แอลกอฮอล์ขายดิบขายดี… แต่ในระดับพื้นที่และอุปกรณ์ของใช้ในที่สาธารณะ เราจำเป็นต้องค้นหาวิธีจัดการควบคุมการแพร่ระบาด อย่างการฆ่าเชื้ออัตโนมัติที่ประตู หรือใช้กลไกเปิดปิดแบบไม่ต้องใช้มือเปิด หรือใช้เสียงสั่งแทน เป็นต้น หรือไม่ก็อาจถึงขั้นหาทางอื่นเข้าออกและปิดกั้นแทนการใช้ประตูแบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน ซึ่งหัวใจของการผ่านเข้าออกประตูไม่เคยใช่ประตูมาแต่ไหนแต่ไร… ส่วนกรณีลิฟท์หรือบันไดเลื่อนในมุมมองของผมก็คิดว่า… ยังมีหลายมิติให้ Empathize Journey อีกมากครับ! แต่ขอไม่พูดถึงตอนนี้เพราะหลายไอเดียเป็นเพียงสมมุติฐานฟุ้งๆ เท่านั้นเองครับ และยังถือว่าห่างไกลจากแนวทาง SME เยอะมาก เว้นแต่จะโฟกัสเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยเชิงป้องกัน… ซึ่งก็สามารถนำไปใช้กับทุกสถานที่ในอาคารตั้งแต่ประตูหน้าถึงยอดตึกและท่อระบายน้ำทีเดียว… โดยหลักสำคัญผมเชื่อว่า อยู่ที่การสื่อสารเรื่องวัฒนธรรมด้านสุขอนามัย ของสถานที่เป็นสำคัญ

เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ผมขอเอ่ยถึงหน่อยคือเรื่อง การตรวจคัดกรอง ที่ผมมองว่า… การใช้คนใส่ชุดแบบ Protective Cloth ไปทำหน้าที่ Screening จุดเสี่ยงต่างๆ ช่างดูไม่ Healthy อย่างมากกับคนทำงาน ในขณะที่กลุ่มเสี่ยงทั้งหลายส่วนหนึ่ง ยังไม่เคารพและใส่ใจความเสี่ยงที่ตัวเองมีโอกาสเป็นพาหะ… และผมเชื่อว่า เทคโนโลยีการอบฆ่าเชื้อก่อนขึ้นและลงเครื่องบินหรือรถโดยสาร สามารถสร้างความเชื่อมั่นในภาวะแบบนี้ได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งการพัฒนากลไกการตรวจคัดกรองหรือ Screening อัตโนมัติแบบต่างๆ ที่เราไม่ต้องส่งผู้เสียสละไปห่อตัวอยู่ใน Protective Cloth อย่างทุกข์ทรมานวันละหลายขั่วโมงแบบนั้น… ที่สำคัญ ผมไม่รู้ว่าเราควรจะพก Protective Cloth ไปไหนมาไหนเผื่อไว้เหมือนพกร่มหรือเสื้อกันฝนหรือยัง… ซึ่งผมคิดว่ามีโอกาสที่ตลาดนี้จะ Mass ได้อีกน๊ะ
แสดงความเห็นของท่านท้ายบทได้ตามอัธยาศัยครับ… หรือจะ DM มาทาง Line:@reder ก็ยินดีเช่นเดิม
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
อ้างอิง
https://kasikornresearch.com
http://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/Shared%20Documents/ประกาศแอลกอฮอลล์.pdf
http://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/MinistryofHealth/ประกาศกระทรวงสาธารณสุข%20เรื่อง%20ผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสขุอนามัยสำหรับมือ%20(1).PDF