ความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรมถือเป็นความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์แนวทางเดียวที่ถูกมองว่า… เป็นโอกาสที่จะทำให้การแข่งขัน และ ความท้าทายต่อปัญหาอุปสรรค ถูกจัดการอย่างเบ็ดเสร็จในแนวทางเดียวเพื่อเข้าถึงเป้าหมายใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยไม่เกี่ยงว่าเป้าหมายนั้นจะยาก และ ซับซ้อนแค่ไหน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้… หลายประเทศเริ่มให้ความสนใจในการจัดอันดับตาม ดัชนี GTCI หรือ Global Talent Competitiveness Index ซึ่งเป็นความพยายามในการวัดประเมินและเปรียบเทียบ “ทุนมนุษย์ หรือ Human Capital” โดยพิจารณาความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ เชื่อมโยงกับ “ความสามารถในการแข่งขัน” โดยเฉพาะทรัพยากรบุคคลในระดับผู้นำขององค์กรจากภาครัฐ ภาควิชาการ และ ภาคอุตสาหกรรม… ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 120 ประเทศที่เข้าร่วมการประเมิน
ประเด็นก็คือ… Talents หรือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพสูง หรือ คนเก่งขององค์กรได้กลายเป็นเป้าหมายแรก ในการนำองค์กรออกจาก “กับดักการเติบโต” ซึ่งต้องการทั้งความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรม… เพื่อเปิดเป้าหมายและแนวทางใหม่
แต่การเปลี่ยนแปลงเพื่อออกจาก “กับดักการเติบโต” ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรมนั้น… ผู้นำจำเป็นต้องใช้ทักษะสร้างสรรค์ และ ทักษะนวัตกรรมในการจัดการผลลัพธ์ที่ต่างออกไปจากแนวทางคุ้นเคยเดิม หรือ ต่างออกไปจากความสำเร็จดั้งเดิมที่เคยเป็นมาให้ได้ก่อน
การให้ราคา หรือ การเห็นคุณค่าของ Talents สำหรับผู้นำในองค์กรยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ ใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือสร้างความสำเร็จใหม่… จึงสำคัญที่ “ทักษะสร้างสรรค์ และ ทักษะนวัตกรรม” ในตัวผู้นำเอง ที่จำเป็นจะต้องใช้ทักษะทั้งสองอย่างมาสร้างสภาพแวดล้อมให้ “ความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรม” ได้เกิด และ เติบโตภายใต้การนำ
ประเด็นความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรมในองค์กรที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องยากนั้น… แท้จริงแล้วคนส่วนใหญ่มักจะขาดความเข้าใจในการ “บ่มเพาะ” ความคิดสร้างสรรค์ และ แนวคิดนวัตกรรมให้กลายเป็นผลงานสร้างสรรค์ หรือ สร้างเป็นนวัตกรรมมากกว่า… โดยเฉพาะผู้นำ หรือ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจที่ขาดความสามารถในจัดเตรียม Innovative Solution หรือ โซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อบ่มเพาะไอเดียจากใครบางคน ให้กลายเป็นเป้าหมายของทุกๆ คนที่เกี่ยวข้อง… ซึ่งก็มีแต่ผู้นำเท่านั้นที่จะทำหน้าที่จัดเตรียม Innovative Solution และ มอบหมายภาระที่มีในไอเดียทั้งหมดให้ทีมไปช่วยกัน
องค์กรไหน หรือ ทีมไหนที่อยากได้นวัตกรรม หรือต้องการแค่เพียงความคิดสร้างสรรค์เพื่ออะไรก็แล้วแต่… ขั้นตอนการเกิดของ “ไอเดียสร้างสรรค์ หรือ ไอเดียนวัตกรรม” มักไม่ใช่เรื่องยากลำบาก… แต่การบ่มเพาะไอเดียเพื่อให้กลายเป็นผลงานสร้างสรรค์ หรือ ให้เป็นนวัตกรรมนั้น… ไม่ง่าย
เว้นแต่ผู้นำจะมีทักษะเชิงสร้างสรรค์ และ มีทักษะ “การตัดสินใจแบบนวัตกร” อยู่กับตัวก่อนอื่น!
References…