Leader Hand

Creative Leadership

ผู้นำและภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นสองคำที่สามารถแยกอธิบายจากกันก็พอได้ เพราะคำว่า “ผู้นำ” จะหมายถึงคนหรือบุคคล ในขณะที่ “ภาวะผู้นำ” เป็นพฤติกรรมของผู้นำอีกทีหนึ่ง… แต่ไม่ว่าจะอย่างไร พฤติกรรมผู้นำ หรือ ภาวะผู้นำนั่นเองที่สร้างผู้นำ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับตำแหน่งหรือหัวโขน

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ ในโลกของการงานยุคใหม่ซึ่งคนตั้งแต่ 2 คนต้องมารวมกันเพื่อสะสางกิจธุระร่วมกัน มักจะต้องการการนำในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทีมหรือกลุ่มสามารถสะสางกิจธุระร่วมกันได้อย่างลุล่วง… ด้วยดี

การนำอย่างสร้างสรรค์ภายใต้ภาวะผู้นำที่สร้างสรรค์จึงเป็นที่ต้องการของทีมหรือกลุ่ม เพื่อให้กิจธุระที่ต้องทำร่วมกันผ่านพ้นไปอย่างราบรื่นดีงาม ได้ผลลัพธ์ยอดเยี่ยม มีทางเลือกมากมาย ร่วมกันสะสางกิจธุระอย่างมีความสุข และข้ามผ่านปัญหาเชิงรายละเอียดได้อย่างง่ายดาย

ก่อนอื่นเรียนก่อนว่า… บทความตอนนี้ไม่ได้เขียนขึ้นอ้างอิงทฤษฎีผู้นำ และเขียนถึงนิยามความหมายและอะไรอีกหลายอย่างตามหลักวิชา ซึ่งผมคิดว่ามีผู้เผยแพร่หลักการภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์หรือ Creative Leadership อยู่มากมายโดยทั่วไปแล้ว… แต่บทความตอนนี้อยากจะพูดถึงภาวะผู้นำ หรืออีกนัยหนึ่งคือพฤติกรรมการนำอย่างสร้างสรรค์ ที่คนหรือกลุ่มคนซึ่งมารวมกันเพื่อสะสางกิจธุระช่วยกันสร้างสรรค์ แล้วช่วยกันสร้างสรรค์ทางเลือกหลากหลาย เพื่อทำให้กิจธุระสำเร็จเสร็จสิ้นไปตามวัตถุประสงค์หนึ่งๆ

แต่ความคาดหวัง “การนำระดับ Creative Leadership” ในปัจจุบัน ต้องการพฤติกรรมของผู้นำที่มีความสามารถในการสร้างและตระหนักต่อปัญหาต่างๆ ที่สามารถนำพากลุ่มหรือทีมและองค์กร “ใช้ปัญหาเป็นหนทางสร้างสรรค์นวัตกรรม ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนในเชิงโครงสร้างบนความอ่อนไหวที่สะท้อนผ่านการเปลี่ยนแปลง”

เวบไซต์ thnk.org ได้เผยแพร่งานเขียนของ Mark Vernooij และ Robert Wolfe ไว้ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2014 ระบุถึงความสามารถของการนำอย่างสร้างสรรค์ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนั้น… ผู้นำที่มีภาวะผู้นำอย่างสร้างสรรค์ หรือ Creative Leadership จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง 3 ประเด็นหลักคือ

  1. The world is changing หรือ โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่
  2. Business is changing หรือ ธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่
  3. People are changing หรือ ผู้คนกำลังเปลี่ยนแปลงอยู่

ประเด็นก็คือ… ผู้นำที่มี Creative Leadership ในตัวจะตามทันการเปลี่ยนแปลง… แต่ที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมก็คือ “การตามทันการเปลี่ยนแปลง” เป็นคนละประเด็นกับ “การเปลี่ยนตัวเองให้ทันการเปลี่ยนแปลง…” ซึ่งหลายกรณีของ “การตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ก็เพื่อจะได้รู้ทันว่าควรเปลี่ยนหรือไม่ควรเปลี่ยน”

… อ่านซ้ำช้าๆ หลายๆ รอบน๊ะครับถ้าพารากราฟข้างบนทำให้งง!!!

อีกประเด็นก็คือ… อะไรก็แล้วแต่ที่มีคำว่า Creative ผูกติดหน้าติดหลังอยู่… ให้ทราบไว้เป็นเบื้องต้นว่าเป็นคำชี้แนะให้หาทางจัดการกิจธุระหรือปัญหาให้เจอหลายๆ ตัวเลือกหรือแนวทาง… ก่อนเลือกทางและทำตามทางที่เลือก

และอีกอย่างคือ… ผู้นำยุคสร้างสรรค์และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ จะหาทางให้ทีมได้สร้างผลงานขั้นยิ่งยวด แทนการใช้ทีมทั้งหมด มาหนุนสร้างผลงานขั้นยิ่งยวดของผู้นำคนเดียวครับ…

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts