Creative Strategy

Creative Strategy… เครื่องมือและเทคนิคการสื่อสารเพื่อความสำเร็จระยะยาว #SaturdayStrategy

ความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity ถือเป็นเครื่องมือและเทคนิคการสื่อสารชั้นสูง ที่มีไว้เพื่อนเปลี่ยนมุมมองการรับสารของเป้าหมาย ให้ง่ายต่อการเชื่อมต่อ หรือ Connected ระหว่างแบรนด์หรือธุรกิจ เข้ากับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายโดยมี “ความสำเร็จระยะยาวแลกเปลี่ยนกันระหว่างแบรนด์กับลูกค้า”

แบรนด์หรือธุรกิจที่เข้าใจความสำคัญของการสื่อสารด้วยมุมมองอันสร้างสรรค์ จึงประสบความสำเร็จให้เห็นมานาน และถือเป็นเคล็ดลับความสำเร็จอย่างหนึ่งของแบรนด์หรือธุรกิจ ที่มีทรัพยากรให้ “ความคิดสร้างสรรค์” ได้ทำหน้าที่เชื่อมโยงให้เกิด “ความสำเร็จระยะยาว”

ในทางเทคนิค… การพาแบรนด์หรือธุรกิจมาใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” จะเป็นการพัฒนาแผนธุรกิจแบบมุ่งเป้าหมายการสื่อสารทางการตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ยังหมายถึง “แผนกลยุทธ์” โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบการสื่อสารทางการตลาดให้ใหม่กว่าเดิม… พิเศษกว่าเดิม หรือ แตกต่างไปจากเดิมและอะไรอื่นๆ อีกมากที่ตรงเข้าหา… ความสำเร็จระยะยาวที่แบรนด์หรือธุรกิจ สามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนต่อเนื่องได้ยาวนานขึ้นกว่าเดิม

ส่วนในทางปฏิบัติ… แบรนด์หรือธุรกิจส่วนใหญ่จะพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ผ่านงานโฆษณาประชาสัมพันธ์… การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งรูปแบบการสื่อสารทางการตลาด ซึ่งมักจะถูกประดิษฐ์ประดอยร้อยเรียงขึ้น ด้วยมุมมองและความหมายที่ต่างออกไปจากมุมมองและความหมายเดิม

งานค้นคว้าตีพิมพ์เรื่อง Creative Strategy: A Management Perspective โดย Charles F. Frazer ได้ให้ความสำคัญกับการเลือกกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการตัดสินใจในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ

คำถามคือ… ถ้าสนใจจะใช้ Creative Strategy ควรต้องทำอะไรและอย่างไร?

โดยส่วนตัวเชื่อว่า… ความคิดสร้างสรรค์ไม่มีกรอบ หรือแม้แต่ขั้นตอนหรือองค์ประกอบมาแจกแจงแบ่งปันได้ชัดเจน… จริงอยู่ว่า ถ้าท่าน Google ด้วยคำว่า Creative Strategy ก็สามารถพบคำแนะนำมากมาย ที่บอกท่านได้ว่าควรทำหนึ่งสองสามสี่อะไรบ้าง… ผมเองก็ค้นเจอและยอมรับว่า ทุกคำแนะนำล้วนมีประโยชน์และเห็นภาพการเตรียมแผนด้วยกลยุทธ์ความคิดสร้างสรรค์กันทั้งสิ้น

แต่ในโลกความจริง… แบรนด์หรือธุรกิจมักไม่ได้มีบริบทเหมือนกัน จนสามารถใช้สูตรสำเร็จเดียวกันก็จะได้ผลลัพธ์เดียวกัน… ซึ่งถ้าสูตรสำเร็จเดียวกันให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ สูตรสำเร็จนั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในสภาพความคิดสร้างสรรค์แล้ว

โดยส่วนตัวจึงมองการพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิค Goal Oriented และ Customers Focused มากกว่า… ส่วนการออกแบบก็แค่กลับไปดูบริบทกับ Goal หรือเป้าหมายแล้วเติมความคิดสร้างสรรค์ใส่ช่องว่างระหว่างบริบทกับ Goal ให้สามารถ Connect บริบทของลูกค้าเข้ากับแบรนด์หรือธุรกิจให้ว๊าวที่สุด

แค่นั้น!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts