Problem Solving

Creative Thinking… คิดอย่างไรให้สร้างสรรค์

ผมได้ข้อความจากเพื่อนเก่าที่ติดตามงานเขียนบน Reder.red มาอย่างต่อเนื่อง ขอให้เขียนถึงการคิดสร้างสรรค์ หรือ Creative Thinking… ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเชื่อมาตลอดว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นรูปแบบของการเชื่อมโยง “หลายสิ่งอย่าง” บนความสัมพันธ์โดยธรรมชาติของ “หลายสิ่งอย่าง” ที่คนคิดสร้างสรรค์หาเจอรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย

แต่โดยความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า Creo ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษว่า To Create หรือ  To Make หรือความหมายในภาษาไทยว่า สร้าง หรือ ทำให้เกิด

ความคิดสร้างสรรค์ที่ผลักดันพูดคุยส่งเสริมกันส่วนใหญ่จึงพูดถึง สร้าง หรือ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งคำว่า “สิ่งใหม่” ในนิยามการคิดสร้างสรรค์นี่เอง ได้กลายเป็นประเด็นที่ขึ้นอยู่กับการตีความของ “เจ้าของความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสังคมและผู้คนที่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งใหม่” ที่เกิดขึ้น… การนิยามความใหม่ในแนวทางคิดสร้างสรรค์ จึงมีขอบเขตที่ใช้เป็นแนวทางอธิบายไว้บนแง่มุมต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
  2. สิ่งประดิษฐ์ที่อาจปรากฏอยู่ที่อื่น แต่มีผู้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยอิสระ
  3. การคิดวิธีดำเนินการใหม่
  4. ปรับกระบวนการผลผลิตเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างออกไป
  5. คิดวิธีการใหม่ในการแก้ไขปัญหา
  6. เปลี่ยนแนวคิดที่แตกต่างจากผู้อื่น

ส่วนคำถามที่ว่า… มีสูตรเชื่อมโยง “หลายสิ่งอย่างเข้าหากันจนกลายเป็นความคิดสร้างสรรค์” ได้อย่างไร?

แนวทางความคิดสร้างสรรค์ที่ผูกขึ้นผ่านการเชื่อมโยงหลายสิ่ง เพื่อให้ได้… แนวคิดที่เป็นไปได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งทางเลือกใหม่ๆ หรืออย่างน้อยก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าเดิม

งานตีพิมพ์หัวข้อ Creative Problem Solving (CPS Version 6.1™) A Contemporary Framework for Managing Change ของ Donald J. Treffinger, Scott Isaksen และ K. Brian Dorval ยังคงอ้างอิงกรอบการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการหาทางจัดการปัญหาซึ่งเคยเผยแพร่ผ่านหนังสือชื่อ Creative Problem Solving: The Basic Course ซึ่ง Scott G. Isaksen และ Donald J. Treffinger พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 1985… ซึ่งมีหลักการและเครื่องมือว่าด้วย  CPS หรือ Creative Problem Solving ที่ว่าประกอบด้วยการค้นหา 6 แนวทางดังต่อไปนี้คือ

  1. Mess Finding หรือ ค้นหาจากข้อบกพร่อง
  2. Data Finding หรือ ค้นหาจากข้อมูล
  3. Problem Finding หรือ ค้นหาจากปัญหา
  4. Idea Finding หรือ ค้นหาจากแนวคิดหลากหลาย
  5. Solution Finding หรือ ค้นหาจากแนวทางจัดการรอบด้าน
  6. Acceptance Finding หรือ ค้นหาจากข้อสรุปที่ยอมรับได้

ขออนุญาตตัดจบตอนนี้เท่านี้ก่อนครับ… เพราะยังมีแง่มุมเรื่องความคิดสร้างสรรค์มากมายให้พูดถึง และยืนยันว่าจะนำแง่มุมทั้งหมดที่ว่า… มากล่าวถึงและรวบรวมไว้แบ่งปันต่อไป

โปรดติดตามและติชมได้ตามอัธยาศัยครับ!

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts