Creativity and Learning

Creativity Organizer for VESPA Mindset

Roger von Oech เจ้าของหนังสือ เวบไซต์ ของเล่นและสิ่งละอันพันละน้อยมากมายที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ หรือ Creativity… ได้พูดถึงการใช้เครื่องมือหรือแนวทางพื้นฐานอย่าง การเปรีบเทียบและอุปมาอุปมัย สอบทานและหาทางให้องค์ความรู้ที่อาจไม่อยู่ในรูปที่เข้าใจได้ง่าย ให้กลายเป็นโครงสร้างข้อมูลความรู้ ที่อยู่ในรูปที่เข้าใจได้จนถึงเข้าใจง่ายกว่า “ทรัพยากรการเรียนรู้ที่สะสมตระเตรียมได้จากเบื้องต้น”

เครื่องมือสร้างสรรค์ที่หนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin แนะนำให้ใช้ หากการเรียบเรียงจัดการทรัพยากรการเรียนรู้แบบทั่วไป ที่กล่าวไว้แล้วจากบทความตอน Knowledge Organizer for VESPA Mindset นำใช้ได้บกพร่องในบางกรณี ทรัพยากรการเรียนรู้ที่สะสมตระเตรียมไว้ย่อมต้องการความคิดสร้างสรรค์ช่วยการจัดการเรียบเรียง… ซึ่งมีคำแนะนำและแนวทางที่น่าสนใจดังนี้

  1. Cooking Something หรือ ปรุงแต่งบางอย่างเพิ่ม… สอบทานดูว่า ทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีอยู่ เป็นส่วนผสม หรือข้อมูลปรุงแต่งชุดข้อมูลใด… สามารถนำมารวมกันได้อย่างไร… มีขั้นตอนการรวมกันและปรุงแต่งเสริมเติมอย่างไร… และนำไปใช้อย่างไร
  2. Creating A Colony On An Empty Island หรือ สร้างอาณานิคมใหม่บนเกาะที่ว่างเปล่า… กรณีที่ชิ้นส่วนข้อมูลของทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องใช้ หรือเป็นที่ต้องการ ยังมีไม่สมบูรณ์หรือไม่ครบถ้วนเพียงพอ… การย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นก่อนการมีของทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องสะสมตระเตรียมคือสิ่งเดียวที่ควรทำ
  3. Sailing Through A Storm หรือ แล่นใบฝ่าพายุ… กรณีการพบอุปสรรค จนอาจจะมองไม่เห็น หรือหาชิ้นส่วนทรัพยากรการเรียนรู้ได้ไม่เพียงพอที่จะให้ภาพรวมที่สมบูรณ์… ให้อุปมาเข้ากับเรือ แล้วมองหาส่วนที่เป็นใบเรือซึ่งทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรือให้เคลื่อนที่… มองหาอับเฉาที่ถ่วงเรือไม่ให้โครงเครงยามฝ่าท้องน้ำและคลื่นลม… รู้จักกระแสลมคลื่นและพายุ… ระบุทิศมุ่งทางไปและการตอบสนองของเรือต่อสภาวการณ์รอบด้าน
  4. Planting A Garden หรือ เตรียมดินปลูกพืชจัดสวน… กรณีของการขาดตกซึ่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่จะตระเตรียมได้ จนส่งผลต่อการจัดการเรียบเรียงเพื่อให้ได้ภาพรวมองค์ความรู้ที่สมบูรณ์เพียงพอ… แนะนำให้สร้างกรอบคิดอ้างอิงการทำสวนจากพื้นที่ว่างเปล่า… เทียบเคียงเอาว่า… ต้องเตรียมดินแบบไหนอย่างไร… ต้องปลูกอะไรก่อนอะไรหลัง… สิ่งจำเป็นต่อการเติบโตคืออะไร… สิ่งที่ปลูกจะเติบโตและพัฒนาอย่างไร… และภัยคุกคามการเติบโตมีอะไรบ้าง
  5. Conducting An Orchestra หรือ อำนวยเพลงประสานเสียง… กรณีที่ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตระเตรียมได้มีมากเกินไป… ให้อุปมาเทียบเคียงกับวงออร์เคสตรา… อะไรคือส่วนประกอบของวง… มีนักดนตรีในวงกี่คนและเกี่วข้องสัมพันธ์กันอย่างไร… ใครเป็นวาทยากร… เพลงหรือผลงานยอดเยี่ยมคืออะไร… และถ้าเกิดผิดพลาดบกพร่องจะเป็นอย่างไร

ทั้ง 5 แนวทางการคิดสร้างสรรค์ที่กล่าวมา… ทั้งหมดเป็นการนำโครงสร้างที่มีองค์ประกอบครบถ้วน มาใช้เปรียบเทียบเพื่อจัดวางองค์ประกอบของ ทรัพยากรการเรียนรู้ที่กระจัดกระจาย ให้ประกอบโครงร่างเป็นชุดความรู้ที่อยู่ในแผ่นภาพผืนเดียว… และหากครูอาจารย์นำกิจกรรมส่งเสริมการเปรียบเทียบเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ ไปทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนบ้าง… นอกจากจะรวบรวมความสัมพันธ์ของ “ทรัพยากรการเรียนรู้ที่สะสมตระเตรียมไว้” ให้อยู่ในรูปโครงสร้างที่เข้าใจง่ายกว่าได้แล้ว… ผู้เรียนยังจะได้ประสบการณ์การคิดสร้างสรรค์แบบ Creativity Canvas ด้วย

Creativity Canvas เกี่ยวกับวรรณกรรมซอมบี้

บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts