Curiosity and The Pandora Effect… ความอยากรู้อยากเห็น และ ผลกรรมจากการเปิดกล่องแพนโดร่า #SelfInsight

ความสนใจใคร่รู้ หรือ ความอยากรู้อยากเห็น หรือ Curiosity ซึ่งเป็นคุณสมบัติทางปัญญาของมนุษย์ ที่สามารถผลักดันมนุษย์คนหนึ่งให้เพียรค้นหาคำตอบ โดยมักจะมีแรงปราถนาลึกซึ้งจากภายใน หาทางเติมเต็มช่องว่างระหว่างส่วนที่รู้แล้ว กับ ส่วนที่ยังไม่รู้… 

Curiosity ในมุมของความสนใจใคร่รู้… ซึ่งถูกอธิบายว่าสามารถใช้ในทางสร้างสรรค์ และ ถูกใช้เพื่อหาคำตอบให้ปัญหาที่กำลังรอทางออกได้เกือบทุกอย่าง… จึงแทบจะเป็นวิธีกระตุ้นความคิดหนทางเดียวที่ถูกแนะนำเป็นหลักในการใช้ความคิดเพื่อสร้างผลงานเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการคิดเพื่อพัฒนานวัตกรรม ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ และ นวัตกรล้วนแต่ใช้ Curiosity ในมุมของความสนใจใคร่รู้ผลักดันสร้างสรรค์ผลงานกันทั้งสิ้น

แต่… Curiosity ในมุมของความอยากรู้อยากเห็น… ซึ่งถูกอธิบายว่าเป็นแรงกระตุ้นภายในที่มีด้านมืดให้น่ากังวลมากโขอยู่เช่นกัน เพราะ “ความอยากรู้อยากเห็น” จะผลักดันพฤติกรรมการตัดสินใจให้เจ้าของความอยากรู้อยากเห็น “กล้าเสี่ยง” ได้มากถึงขั้นรู้ว่าเสี่ยงก็อยากลองที่จะเสี่ยงอยู่ดี

ตำนานเทพนิยายกรีกซึ่งเล่าเรื่อง “มนุษย์ผู้หญิงคนแรก” นาม Pandora ผู้ที่ Hephaestus หรือ เฮเฟสตัส สร้างขึ้นตามคำแนะนำของ Zeus หรือ ซุส… ซึ่ง Zeus ได้ใส่ “ความอยากรู้อยากเห็น” ลงในจิตใจ และ ความคิดของ Pandora พร้อมกับมอบ Pandora’s Box ให้นางโดยกำชับไม่ให้นางเปิด Pandora’s Box… แล้วจึงส่งนางลงไปยังโลกมนุษย์ ซึ่ง Pandora ได้กลายเป็นภรรยาของ Epimetheus หรือ เอพิมีเทียส เทพไททันเจ้าของ DNA มนุษย์ และ ทั้งคู่ได้ให้กำเนิดลูกหลานเป็นมนุษย์ชายหญิงในกาลต่อมา… แต่การใช้ชีวิตนานวันบนโลกมนุษย์โดยยังคง “อยากรู้อยากเห็นว่า” ในกล่อง Pandora’s Box ที่เทพ Zeus ประทานให้แต่ห้ามเปิดมีสิ่งใดอยู่ภายใน… Pandora จึงเปิดกล่องที่บรรจุความชั่วร้ายทั้งมวลที่ Zeus อยากให้มนุษย์ชดใช้กรรมถ้าคิดจะท้าทายฤทธาแห่งเทพ… ซึ่งความชั่วร้ายทั้งมวลที่พรั่งพรูออกมาจาก Pandora’s Box จนเกิดเป็น Pandora Effect ล้วนแต่เป็นหายนะที่เกิดจาก “ความสงสัยแต่ไม่เข้าใจผลที่จะตามมา” กระทั่งมนุษย์ขัดแย้งกันเอง และ ก่อสงครามฆ่ากันเองเป็นครั้งแรก… แม้จะสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน

ความสงสัยแต่ไม่เข้าใจผลที่จะตามมาจึงเป็นด้านมืดของความอยากรู้อยากเห็นที่ขาดปัญญา และ ไร้สัมปชัญญะ โดยไม่รู้ว่าตัวเองกำลังถูกด้านมืดของจิตใจครอบงำ

ภาพเขียน Pandora โดย John William Waterhouse ปี 1896

งานวิจัยทางจิตวิทยาเรื่อง Inquisitive but not discerning: Deprivation curiosity is associated with excessive openness to inaccurate information โดย Claire M. Zedelius และคณะ ได้แยกความแตกต่างระหว่าง ความอยากรู้อยากเห็น หรือ Curiosity ในมิติของแรงจูงใจทั่วไป หรือ General Motivation ซึ่งผลักดันการเรียนรู้สิ่งใหม่ กับ… ความอยากรู้อยากเห็น หรือ Curiosity ในมิติของความสนุกที่จะค้นหาแบบ Deprivation Curiosity หรือ ความอยากรู้อยากเห็นที่ปิดกั้นความน่าจะเป็นอันสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างผลกรรม และ ความไม่แน่นอนที่จะตามมา

การใช้แบบสอบถามทางจิตวิทยากับกลุ่มตัวอย่างกว่า 2,000 คนในงานวิจัยของ Claire M. Zedelius ได้ข้อสรุปว่า… กลุ่มคนที่ถูกจัดว่ามีความอยากรู้อยากเห็นแบบ General Motivation ถูกยืนยันว่าเป็นผู้ที่มีความสนใจใคร่รู้มากกว่า… มีความรู้ทั่วไปมากกว่า… แม่นยำกว่าในการแยกแยะข้อมูลที่เคยเห็นมาก่อน กับ ข้อมูลใหม่ล่าสุดที่ได้เห็น… อ่อนน้อม และ มีบุคลิกภาพแบบ Intellectually Humble หรือ ความถ่อมตนทางปัญญามากกว่า… ซึ่งนักวิจัยตีความว่าเป็นกลุมคนที่ยอมรับความจริงได้ว่า “ความเชื่อ และหรือ ความเชื่อมั่นของตนผิดพลาดได้”

ส่วนกลุ่มคนที่ถูกจัดว่ามีความอยากรู้อยากเห็นแบบ Deprivation Curiosity ล้วนถูกยืนยันว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีความรู้ทั่วไปใหม่ๆ เพิ่มขึ้นในความจำ และ ประสบการณ์… ตัดสินใจผิดพลาดมากกว่า ซึ่งนักวิจัยยืนยันว่าคนกลุ่มนี้ได้รับสัญญาณการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะคนกลุ่มนี้ “สับสนระหว่างข้อเท็จจริง กับ ความคิดปรุงแต่ง” ซึ่งพิสูจน์ได้จากความสามารถในการแยกความต่างระหว่างข้อมูลเดิมที่รู้มาก่อน กับ ข้อมูลใหม่ที่เข้าใจว่าตนรู้มาก่อนแล้ว… 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts