คำว่า Data Driven ในยุคตื่นข้อมูล ซึ่งใครๆ ก็พูดถึงและไขว่คว้า… โดยเฉพาะเทคนิคประกอบแนวคิดการใช้วิทยาการข้อมูลเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ สนับสนุนทั้งเป้าหมายเดิมและเป้าหมายใหม่ขององค์กร ทั้งเพื่อพาองค์กรฝ่ากระแส Disrupted และ พาองค์กรไล่ล่าโอกาสใหม่ๆ ให้เหนือชั้นขึ้นไปกว่าที่เคยเป็นมา
รายงานฉบับเต็มจาก Futurum Research ในหัวข้อ THE FUTURE OF WORK: DATA-DRIVEN LEADERSHIP ซึ่งเป็นรายงานจากการศึกษาและจัดทำจากข้อมูลย้อนหลังก่อนปี 2015 โดยสรุปข้อมูลวิเคราะห์เป็น Insight และ นำเสนอข้อมูลเชิงทำนายเป็น Foresight ช่วงปี 2016-2020 เอาไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็น Data Driven Leadership ซึ่งรายงานชุดนี้เจาะข้อมูลเชิงลึกมาอ้างอิง พร้อมๆ กับการนำเสนอ Framework สำหรับใช้ยกระดับองค์กรไปสู่ Data Driven Culture… ซึ่งต้องเริ่มที่ผู้นำและภาวะผู้นำที่สามารถครอบครองและใช้งานข้อมูลเป็น… ซึ่งข้อมูลหลายอย่างที่รายงานฉบับนี้ทำนายไว้ กำลังเป็นวาระจำเป็นเร่งด่วนในปัจจุบันสำหรับหลายๆ องค์กรอย่างชัดเจน
ประเด็นก็คือ… ภาวะผู้นำที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่ใช่ประเด็นการวิเคราะห์… ไม่ใช่ประเด็นการเก็บข้อมูล หรือ ไม่ใช่ประเด็นการใช้ข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดในระดับดำเนินการ และเป็น Tecnical อย่างมาก ซึ่งจะมีและเกิดขึ้นโดยปริยายในกรณีที่องค์กรถูกปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรไปใช้ Data Driven Culture อย่างเต็มรูปแบบ
โดยภาพรวมทั้งหมดของ Data Driven Culture… จะมีภาพความเชื่อมั่นและศัทธาในคุณค่าและความจำเป็นของข้อมูล ซึ่งเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจระหว่างคนภายในองค์กร และ เชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจระหว่างองค์กรกับคู่ค้าและลูกค้า… โดยมีแนวปฏิบัติอันยืดยุ่นของการตัดสินใจ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามข้อมูลที่ถูกวัด… ประเมิน… วิเคราะห์ และ รายงานข้อมูล “อันเป็นตัวแปรต้นเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจระดับต่างๆ”
ปัญหาก็คือ… การปรับเปลี่ยน หรือ Transform องค์กรจาก Command And Control Culture ไปเป็น Data Driven Culture ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับองค์กรส่วนใหญ่… ซึ่งล้วนแต่คิดได้ แต่ทำไม่ง่าย หรือ ไม่เชื่อว่าจะทำได้ก็มีมาก ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะ “เป็นเหมือนเดิม” จนกว่าจะไม่สามารถเป็นเหมือนเดิมได้อีกค่อยว่ากัน
ส่วนองค์กรที่กระตือรือร้นกับข้อมูล และ พยายามพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ข้อมูลทำหน้าที่ Command And Control ที่เชื่อถือได้จริง รวมทั้งการปรับใช้ข้อมูลให้เป็นส่วนหนึ่งของ “กลไกอัตโนมัติ หรือ Automation Process” จนสามารถลดเวลาและลดการใช้ทรัพยากรลงได้… และได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ “คุณค่า” อย่างแท้จริงอย่างชัดเจน
ในทางเทคนิค… การลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานเรื่องข้อมูลจึงต้องการ “ภาวะผู้นำ และ วิสัยทัศน์” ที่ชัดเจนก่อน… โดยส่วนตัวผมเคยเจอคนสำคัญๆ ระดับผู้นำที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย และ อยู่ในสถานะปรับเปลี่ยนนโยบายได้หลายคนที่สนใจข้อมูล และ รู้ว่าข้อมูลสำคัญ… แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้อง “ลงทุน” กับโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูล คนเหล่านี้ส่วนหนึ่งมักจะเมินที่จะลงทุนลงแรง หรือ ตัดสินใจลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีข้อมูลอยู่ในสถานะพร้อมใช้… ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของคนที่ไปได้ข้อมูล หรือ ความรู้ฉาบฉวยเกี่ยวกับ “ความสำคัญของข้อมูล” มาแบบงงงวย และ ไม่ได้จริงจังชัดเจนในขั้นเชื่อมั่นจนกล้าเจียดแบ่งทรัพยากรมาให้ความสำคัญกับข้อมูลอย่างจริงจัง… และที่ตลกร้ายกว่านั้นก็คือ หลายคนทำท่ารู้เรื่องข้อมูล และ กระตือรือร้นเรื่องข้อมูลเอาเท่ห์จนคนอื่นๆ หลงเชื่อ แต่พอคุยถึงเรื่องทุนและค่าใช้จ่ายเท่านั้นแหละ… คนเหล่านี้จะเลิกคุยและหลบหน้าไปเลยก็เยอะ
ตามนั้นครับ!!!