Democratizing Open Knowledge โดย Harvard University และ Filecoin Foundation for the Decentralized Web… อนาคตของโลกความรู้ #ReDucation

ปัญหาความน่าเชื่อถือของข้อมูลอ้างอิงที่สืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เห็นแนวโน้มชัดเจนว่ามีส่วนในการบ่อนทำลายสังคมข้อมูลข่าวสารได้ไม่ต่างจาก “ข่าวเท็จ หรือ Fake News” ซึ่งสร้างความสับสนให้สังคมอินเตอร์เน็ตมานานนับสิบปี… 

กรณีศึกษาเรื่องความน่าเชื่อถือของข้อมูลอ้างอิงในอินเตอร์เน็ต เกิดขึ้นล่าสุดกับกรณีการแก้ไขการนิยามของคำว่า Recession บนเวบไซต์ Wikipedia ซึ่งเป็นการแก้ไขให้สอดคล้องกับคำจัดความใหม่ที่เผยแพร่ผ่าน Blog Post ของเวบไซต์ทำเนียบขาว ซึ่งถือเป็นคำแถลงอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลกลางที่มีการให้ความหมายของคำกำกับไว้… นิยามของคำว่า Recession บนเวบไซต์ Wikipedia จึงถูกแก้ไขหลายครั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม 2022 ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงนั้น… และยังมีการปรับแต่งคำนิยามอยู่เนืองๆ จนถึงต้นสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม 2022 ที่ผมกำลังเรียบเรียงต้นฉบับบทความตอนนี้อยู่… การถกเถียงในกรณีคำจำกัดความของคำว่า Recession ซึ่งมีการค้นข้อมูลอ้างอิงย้อนหลัง และ ได้ค้นพบ “พัฒนาการของนิยามคำว่า Recession ตามเอกสารอ้างอิงเก่า” มากมาย… โดยความเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ได้กลายเป็นปัญหาความน่าเชื่อถือของเอกสารอ้างอิงที่รองรับ และ รับรององค์ความรู้ หรือ Knowledge ของอารยธรรมมนุษย์โลกอย่างมีนัยยะสำคัญ

ข่าวดีก็คือ… ปัญหาเอกสารอ้างอิงจากหลายแหล่ง และ ข้อมูลไม่ตรงกันทำนองนี้ถูกพบมาระยะหนึ่งแล้ว โดย Filecoin Foundation for the Decentralized Web หรือ FFDW ได้ออกมาเปิดเผยการร่วมงานกับ Library Innovation Lab หรือ LIL แห่ง Harvard University ภายใต้โครงการ Democratizing Open Knowledge ซึ่งเป็นโครงการที่จะนำ Filecoin Network Blockchain และ เทคโนโลยี IPFS หรือ Interplanetary File System  ของ Filecoin มาใช้ในการบันทึกเอกสารอ้างอิงด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน… ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาเอกสารอ้างอิงย้อนหลังที่เคยถูกลบทิ้งจำนวนมาก ไม่ให้ถูกทำลาย หรือ แก้ไขโดยขาดความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องอีก

Marta Belcher ในฐานะประธานและผู้อำนวยการของ FFDW กล่าวว่า… FFDW อยู่ในภารกิจที่จะรักษาข้อมูลที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ โดยความร่วมมือในโครงการ Democratizing Open Knowledge จะช่วยให้ Library Innovation Lab สามารถเข้าถึง และ ใช้เทคโนโลยีการกระจายศูนย์มาแก้ปัญหาความท้าทายในโลกแห่งความเป็นจริงเพื่อรักษาข้อมูลที่สำคัญ ซึ่ง FFDW รู้สึกตื่นเต้นที่ได้สนับสนุนโครงการ Democratizing Open Knowledge ของ LIL

ในทางเทคนิค… Democratizing Open Knowledge จะบันทึกเอกสารอ้างอิงที่สำคัญลงบล็อกเชน และ เก็บข้อมูลทั้งหมดเอาไว้บน IPFS หรือ Interplanetary File System ซึ่งการแก้ไขข้อมูลล่าสุดจะไม่สามารถ “ลบทิ้ง” เอกสารอ้างอิงย้อนหลังที่ได้บันทึกไว้ ซึ่งจะทำให้ Library Innovation Lab กลายเป็นหอสมุดแห่งแรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน และ การบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ด้วยเทคโนโลยี IPFS หรือ Interplanetary File System… ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแบบ Peer-To-Peer ที่แข็งแกร่งด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนอันเป็นสิทธิบัตรของ Filecoin ซึ่งได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ WEB 3.0 หรือ Blockchain Internet ไปแล้ว

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… แนวคิด Democratizing Open Knowledge ถือเป็นแนวทางเดียวกับการออกแบบฐานข้อมูลงานวิจัยแบบกระจายศูนย์ รวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลที่ไม่ได้มุ่งสะสม หรือ เก็บหนังสือเป็นเล่มไว้ใช้อีกต่อไป… เพราะองค์ความรู้ยุคหน้าจะถูกบันทึกเป็นข้อมูล หรือ Data โดยแบ่งเป็นเรื่อง หรือ หัวข้อย่อยๆ มากขึ้น ซึ่งจะทำให้หนังสือ หรือ Book ถูกลดบทบาทลงอย่างมากในฐานะ Knowledge Resource ที่พัฒนามาจากการเขียนจารึกในสมัยโบราณ… แต่เรียนก่อนน๊ะครับว่า ผมไม่ได้บอกว่า Data หรือ เทคโนโลยีแบบ Democratizing Open Knowledge จะมาทดแทนหนังสือ หรือ Book… มันไม่ได้เหมือนกันจนทดแทนกันได้หรอกครับ เพียงแต่หนังสือจะสำคัญน้อยลงแน่นอน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts