แม่นํ้าโขง สายน้ำหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตในอุษาคเนย์มาเนิ่นนานนับพันปีจากต้นกําเนิดในทิเบต… นํ้าโขงไหลสู่มณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ผ่านพม่า ลาว ไทย เขมร จนลงสู่ทะเลทางเวียดนามใต้ ประชาชนกว่า 60,000,000 คนอาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่นํ้าโขง ได้พึ่งพาทั้งทรัพยากรมากมายจากแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ซึ่งนอกจากจะไหลผ่านอารยธรรมและความเชื่อมากมายของหลายเชื้อชาติแล้ว… แม่น้ำโขงยังมีสายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำที่สำรวจพบมากถึง 1,245 ชนิด พบมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำอเมซอนในอเมริกาใต้ และแม่น้ำแซร์ในทวีปแอฟริกา… มีพื้นที่ชุ่มน้ำกินเนื้อที่ 795,000 ตารางกิโลเมตร… มีปริมาณน้ำไหลลงทะเลจีนใต้ปีละกว่า 475,000 ลูกบาศก์เมตร
โครงการปรับปรุงร่องนํ้าเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่นํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง ระยะที่ 1 พ.ศ. 2537–2546
การรวมตัวกันของกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง หรือ GMS หรือ Greater Mekong Sub-region ประกอบด้วย กัมพูชา ไทย ลาว เมียนม่า เวียดนามและจีน… ที่จับมือกันมุ่งพัฒนาความร่วมมือด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การคมนาคมขนส่งและพลังงานภายใต้การสนับสนุนของ ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536… รัฐบาลจาก 4 ชาติ GMS ได้แก่ จีน ลาว เมียนม่าและไทยก็ริเริ่มแนวคิดการเดินเรือเชิงพาณิชย์ในลำน้ำโขงตอนบน… ซึ่งคณะสำรวจก่อนหน้านั้นให้ความเห็นไว้ว่า นํ้าโขงในสภาพธรรมชาติสามารถเดินเรือได้ ขนาดใหญที่สุดระวางบรรทุกราว 60 ตัน… แต่หากควบคุมเกาะแก่งบางสวน โดยการระเบิดเกาะแก่งและปรับปรุงสันดอนที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือขนาดใหญ่ออก แล้ว
ปรับปรุงแม่นํ้าใหมีลักษณะคล้ายคลอง หรือ Canalization… จะสามารถเดินเรือขนาดระวางบรรทุก 100–500 ตันได้กว่า 347 วันต่อปี… มหากาพย์ความขัดแย้งยืดเยื้อเรื่องระเบิดแก่งกลางลำน้ำโขงจึงเริ่มต้นขึ้น
เอกสารชื่อ “ทำไมจึงไม่ควรระเบิดแก่งแม่น้ำโขง?” โดย เครือข่ายอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มนํ้าโขง–ล้านนา หรือกลุ่มรักษ์เชียงของ ในอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย… ได้บันทึกและเผยแพร่ข้อมูลเคลื่อนไหวต่อต้านการริเริ่มพัฒนาเส้นทางเดินเรือด้วยการระเบิดแก่ง และเทคนิคทางวิศวกรรมเพื่อพัฒนาเส้นทางเดินเรือในลำน้ำโขงมาจนถึงปัจจุบัน
โครงการปรับปรุงร่องนํ้าเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแมนํ้าล้านช้าง–แมนํ้าโขง ระยะที่ระยะที่ 2 พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา
แม้โครงการระเบิดแก่งแม่นํ้าโขงจะเงียบหายไปหลายปี แต่ในทางความร่วมมือระหวางรัฐทั้ง 4 ประเทศ ยังมีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง… โดยเฉพาะการประชุมคณะกรรมการประสานงานดำเนินการความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง หรือ JCCN ครั้งที่ 11 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555… ทางประเทศจีนได้เสนอโครงการจัดทำแผนการพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง ระยะกลางและระยะยาว เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง เพื่อให้เรือบรรทุกขนาด 500 ตัน หรือ DWT ผ่านได้อย้างสะดวกและปลอดภัย และการประชุมคณะกรรมการ JCCN ครั้งที่ 13 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ได้พิจารณาร่างแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง ค.ศ. 2015–2025 หรือ Development Plan of International Navigation on the Lancang-Mekong River: 2015–2025 และในการประชุม JCCN วาระพิเศษ เมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ.
2558… ที่ประชุมได้ข้อยุติต่อร่างแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ และเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง
คณะทํางานสําหรับการดําเนินงานเบื้องต้น โครงการปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง หรือ Joint Working Group for Preliminary Work of Navigation Channel Improvement Project on the Lancang-Mekong River ขึ้น
ตัดมาที่ความเคลื่อนไหวภาคประชาชน… หลังมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นเครือข่ายประชาชน องค์กรสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกว่า 60 องค์กร… ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยมีข้อกังวลว่า… มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจะนําไปสูการระเบิดแก่งในระยะที่ 2 ซึ่งจะทําลายแกงคอนผีหลวงและแกงอื่่นๆ ในแมนํ้าโขงจนส่งผลกระทบต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของปลา สัตวนํ้าและนกอพยพ พืชพรรณที่อยู่บนเกาะแก่งหิน การทำลายตลิ่งแม่นํ้าโขง อาจสร้างปัญหาเรื่องเขตแดนไทย–ลาว… รวมทั้งโครงการดังกลาวละเมิดรัฐธรรมนูญของไทยเนื่องจากยังไม่มีการพิจารณาผ่านสภาผู้แทนราษฎรและการละเมิดข้อตกลงของแม่นํ้าโขงปี พ.ศ. 2538 เพราะแม่นํ้าโขงเป็นแมนํ้านานาชาติ
ผมแนบเอกสารยาว 41 หน้าเกี่ยวกับการเปิดทางเดินเรือขนาด 500 ตันตามลำน้ำโขง ให้ท่านที่สนใจรายละเอียดเอาไว้ใต้อ้างอิงครับ…
ถึงปัจจุบัน… ต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ที่ผมเรียบเรียงต้นฉบับชุดนี้ ความชัดเจนเรื่องเส้นทางเดินเรือในลำน้ำโขงคงเกิดขึ้นแน่นอนแล้ว ข้อมูลล่าสุดในมือผม… การต่อรองระหว่างคณะทำงานโครงการปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือในแมนํ้าล้านช้าง–แม่นํ้าโขง หรือ Joint Working Group for Preliminary Work of Navigation Channel Improvement Project on the Lancang-Mekong River มาถึงการต่อรองลดขนาดระวางเรือให้ต่ำกว่า 500 ตันเพื่อรักษาธรรมชาติในจุดสำรวจบางแห่ง เอาไว้ให้ได้มากที่สุดเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงโดยเจตนามนุษย์ต่อธรรมชาติดั้งเดิม… เกิดขึ้นแน่นอนแล้วในลำน้ำโขง!!!
#FridaysForFuture ครับ!
อ้างอิง