น้ำเสียเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมราคาแพงอีกปัญหาหนึ่ง ที่ต้องจัดการอย่างเข้มงวดมานานทั่วโลก เพราะน้ำเสีย ยังคงเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญตั้งแต่ระดับครอบครัว และ ชุมชนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรมมาแต่ไหนแต่ไร หลายประเทศจึงเก็บเงินค่าน้ำทิ้งแพงกว่าค่าน้ำปะปาก็มี… โดยเฉพาะน้ำเสียปนกากตะกอนของเสียเน่าเหม็นทั่วไปจนถึงสารพิษปนเปื้อนแขวนลอยมากับน้ำ
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… น้ำเสียส่วนใหญ่มักจะปนเปื้อนวัสดุแขวนลอยเป็นตะกอนปนมาด้วยเสมอ ซึ่งตะกอนในน้ำทิ้ง หรือ น้ำใช้แล้วทั้งหมด… กากตะกอนและแขวนลอยเหล่านั้นคืออุปสรรคสำคัญในการ Recycle น้ำ และหมักหมมสะสมจนกลายเป็น “น้ำเน่าเสียปนตะกอนเน่า” ปริมาณมหาศาลให้เห็นมากมาย โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม
ในบ้านแต่ละหลัง… น้ำเสียจากครัวเรือนที่มีคนอยู่อาศัยเกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน เมื่อหลายหลังคาเรือนรวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ น้ำเสียจากครัวเรือนเองก็ไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อยเช่นเดียวกัน แถมยังมาพร้อมกับขยะเปียก และ ตะกอนปนเปื้อน ซึ่งถูกแยกออกจากน้ำใช้แล้วไปลงถังขยะ… เพื่อไม่ให้อุดตันระบบระบายน้ำ แต่ก็ไปเพิ่มปัญหาการแยกขยะ ให้กลายเป็นขยะแยกยาก เพราะมีขยะเปียกปนขยะแห้งตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งการแยกขยะในกระบวนการลำดับต่อจากนั้นมา ล้วนเป็นเรื่องตลกร้ายที่ทำไม่ได้จริงมานาน ตราบเท่าที่ไม่เอาขยะเปียก หรือ ขยะอินทรีย์มารวมกันทิ้งกับขยะแห้งอื่นๆ ตั้งแต่ต้น… สุดท้ายก็ต้องขนไปกองรวมกันในลานกองขยะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมใหญ่มากให้เห็นอยู่ดาษดื่นทั่วโลก
นานมาแล้วที่โลกมีสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าเครื่องบดกําจัดเศษอาหาร หรือ Waste Disposal ซึ่งถูกแนะให้ติดตั้งกับอ่างล้างจานในบ้าน โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่มีกฏการอยู่อาศัยร่วมกันเคร่งครัดเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อม… ซึ่ง Waste Disposal ช่วยเรื่องขยะเปียกและขยะอินทรีย์จากครัวทั่วไป และ โต๊ะอาหารได้มาก แม้ว่ากากตะกอนเศษอาหารจะยังปนเปื้อนกับน้ำทิ้งให้ต้องคิดต่ออีกเยอะก็ตาม แต่ก็แก้ปัญหาทิ้งขยะปนกันจนแยกยากได้ระดับหนึ่ง
ประเด็นก็คือ… เมื่อน้ำทิ้งกลายเป็นแนวทางกำจัดขยะเปียก และ ขยะอินทรีย์ทั่วไปจากครัวเรือนซึ่งมาพร้อมกากตะกอนที่ขยะถูกบดย่อยละลายมากับน้ำทิ้ง… รวมทั้งน้ำทิ้งอุตสาหกรรมซึ่งก็มีกากตะกอนและแขวนลอยปนเปื้อนชัดเจน… ความพยายามในการแยกบำบัดตะกอนปนเปื้อนน้ำทิ้งในหลายมิติ โดยเฉพาะรูปแบบเดิมๆ ที่เคยพึ่งพาบ่อบำบัด และ บ่อเกรอะ ซึ่งก็มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหยุมหยิมอีกมากทั้งกลิ่น ทั้งล้น และ รั่วซึม… การแยกกากตะกอนจากน้ำทิ้งปนเปื้อน จึงกลายเป็นกุญแจหลักของการแก้ปัญหาของเสียเน่าได้ ที่งานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมทั่วโลกให้ความสนใจ และ ผลักดันเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการปัญหานี้
งานตีพิมพ์หัวข้อ Treatment and Reuse of Sludge โดย Dr.Maria Fürhacker และ Tadele Measho Haile จาก University of Natural Resources and Life Sciences Vienna ซึ่งเป็นผลงานตีพิมพ์จากปัญหาวิจัยที่ว่า… กากตะกอนจากน้ำเสียเพิ่มขึ้นทั่วโลกเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ภาคอุตสาหกรรมเติบโตขึ้น รมทั้งการขยายตัวของเมือง ในขณะที่การบำบัด และ กำจัดกากตะกอนน้ำเสียมีต้นทุนสูง และ ท้าทายต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม… ซึ่งพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขาดการยอมรับทางสังคม… ต้นทุนการบำบัดที่สูง… ความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ และ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัด… ทำให้ขาดทางเลือกในการกำจัดอย่างยั่งยืน
แปลซ้ำอีกชั้นหนึ่งได้ว่า… ปัญหาน้ำเสียปนตะกอนของเสีย ยังคงไร้ทางออกที่ดีในระดับยั่งยืนเหมือนกันทั่วโลก!
ปัญหาเดียวกันนี้ท้าทายผู้ผลิต และ ออกแบบเครื่องจักรทั่วโลก… จึงเสนอเครื่องกล และ ระบบรีดกรองตะกอน หรือ Sludge Dewatering Systems มาทดแทนบ่อเกรอะ และ บ่อบำบัดที่มีใช้โดยไม่ได้แก้ปัญหาอะไรให้สิ่งแวดล้อมมากนัก นอกจากเป็นเพียงที่ทิ้งน้ำเน่าเสียอย่างเป็นที่เป็นทางเท่านั้น
ตัวระบบบำบัดน้ำเสียแบบมีเครื่องรัดกรองตะกอนก่อนนำไปบำบัดที่ว่านี้… ปัจจุบันกำลังได้รับความสนใจในการนำมาประยุกต์ใช้ในขบวนการ Recycled Water หรือ Greywater System เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ… ดูภาพประกอบและคลิปวิดีโอต่อน๊ะครับ… หรือถ้าท่านสนใจระบบ และ รายละเอียดเพิ่มเติมทักทางไลน์ส่วนตัวผมที่ ID: dr.thum ได้ตลอดเช่นเดิมครับ!
References…