Digital Education

Digital Education ปฐมบท… Bloom’s Digital Taxonomy

ในบรรดาทฤษฎีฐานด้านการศึกษา หรือ Grounded Theory in Educational นั้น… นักการศึกษาทุกคนต้องเรียนและรู้จักทฤษฎีบลูม หรือ Bloom Theory และต้องรู้จัก… อนุกรมวิธานของบลูม หรือ Bloom’s Texonomy ที่พัฒนาโดย Benjamin Bloom และคณะ ซึ่งเผยแพร่ไว้ในยุคปี 1950 

ความโดดเด่นของทฤษฎีบลูม ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาทั่วโลกมาอย่างยาวนานก็เพราะว่า ทฤษฎีบลูมและอนุกรมวิธานของบลูม หรือขั้นตอนการเรียนรู้ของบลูม พัฒนาอ้างอิงพัฒนาการของมนุษย์ จากผู้ไม่มีความรู้ไปเป็นผู้มีความรู้อย่างสอดคล้องต่อพฤติกรรม โดยมีจิตวิทยาการเรียนรู้ขับเคลื่อนและถูกขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง

โครงสร้าง Bloom’s Taxonomy ต้นฉบับที่สร้างโดยปรมาจารย์ด้านการศึกษามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า… ปิรามิดการเรียนรู้ ซึ่งมีฐานให้ต้องสะสมก่อนจะพัฒนาสูงขึ้นจนถึงยอดปิรามิด โดยมีลำดับจากฐานไปยอดได้แก่… Knowledge หรือความรู้…  Comprehension หรือความเข้าใจ… Application หรือการประยุกต์… Analysis หรือการวิเคราะห์… Synthesis หรือการสังเคราะห์ และ Evaluation หรือการประเมิน

ในปี 2001… กลุ่มลูกศิษย์และนักจิตวิทยาการเรียนรู้ หรือ Cognitive Psychologists ได้เห็นพ้องที่จะ “ปรับปรุง Bloom’s Taxonomy ขึ้นใหม่” เพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับบริบทการเรียนรู้ในยุคข้อมูลข่าวสารหลากล้น… โดยทำการย้ายขั้น Evaluation หรือการประเมิน ลงมาสลับที่กับ Synthesis หรือการสังเคราะห์ และเปลี่ยนแนวคิดการสังเคราะห์ไปเป็นแนวคิด “สร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือ Creating” ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการสร้างนวัตกรรม อันเป็นผลลัพธ์ขั้นสูงของการเรียนรู้และการศึกษา… และยังเปลี่ยน Title หรือชื่อเรียก ให้ฐานปิรามิดสามขั้นต้นใหม่เพื่อให้การตีความชัดเจนขึ้น โดยเปลี่ยน Knowledge หรือความรู้ ที่อธิบายว่าได้มาจากการจดจำ ไปเป็นคำว่า Remembering หรือจดจำ ตรงๆ ไปเลย… และเปลี่ยนขั้น Comprehension หรือความเข้าใจ ไปเป็น Understanding หรือเข้าใจ ตรงๆ อีกเช่นกัน… ส่วนคำว่า Application หรือการประยุกต์ ก็เปลี่ยนมาใช้คำว่า Applying หรือประยุกต์เป็น ซึ่งเห็นภาพการเอาสิ่งที่เรียนมาอย่างเข้าใจ ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์… และพวกเขาร่วมกันประกาศใช้และเผยแพร่ในปี 2005 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง…

แต่แล้ว… การเรียนรู้ในระดับ Remembering หรือจดจำ กลับถูกกระแสดิจิทัลรบกวน จนครูอาจารย์ที่ Google ข้อมูลไม่เป็นเจอการท้าทายจากนักเรียนและผู้เรียน จากชุดข้อมูลที่สดกว่าจากอินเตอร์เน็ตที่ผู้เรียนเห็นและจำมาถามครูอาจารย์ในหลายแง่มุม รวมทั้งการใช้ข้อมูลความรู้แบบ Copy/Paste ส่งต่อกัน จนครูอาจารย์หมดปัญญาจะต้านแรง “การลอก” ที่เคยผิดศีลธรรมด้านการศึกษาข้อใหญ่… ในขณะที่ พฤติกรรมการสะท้อน “ความเข้าใจ หรือ Understanding” เอง ก็ไม่ได้มีนักเรียนหรือผู้เรียนคนไหนรอวันสอบหรือรอครูให้คะแนนรายงานกันอีกแล้ว พวกเขาเอาสิ่งที่รู้จากขั้นต้น ไปสืบเสาะแสวงหา เข้ากลุ่มออนไลน์ ส่งต่อเผยแพร่ความเข้าใจและทัศนคติผ่านโซเชี่ยลมีเดียในทุกรูปแบบ เปิดรับคำชมและเสียงด่าเพื่อเรียนรู้และปรับปรุงความเข้าใจเอาเอง… ซึ่งจังหวะการคลุกคลีกับความรู้และความไม่รู้บนวิถีดิจิทัลนี่เอง ที่ผลักดันการเรียนรู้ขั้นต่อไปกลายเป็น “พฤติกรรมหลอมรวมกับดิจิทัล” ให้คนๆ หนึ่งที่สนใจเรียนรู้เรื่องๆ หนึ่งสามารถยกระดับไปสู่ขั้น Creating หรือสร้างสรรค์บางสิ่งได้ไม่ยากอีกต่อไป… โดยไม่ต้องพึ่งพาครูอาจารย์ก็ได้ด้วยในบางกรณี

Image Source: https://teachonline.asu.edu

หลายท่านที่ติดตามงานเขียนของผมบน Reder.red เกี่ยวกับมิติทางการศึกษามาตั้งแต่ต้น… น่าจะเคยผ่านตาการตั้งคำถามจากผมว่า… ความยากของการศึกษายุคใหม่ ที่ครูและโรงเรียนจะสำคัญน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่รู้จะ “หาเงิน” ยังไงกับโมเดลการศึกษายุคดิจิทัล… อย่างน้อย Bloom’s Digital Taxonomy ซึ่งกระแสแรงเข้มมาตั้งแต่ ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งนักการศึกษาที่เห็นบริบทเห็นตรงกันว่า… การศึกษายุคดิจิทัลสมบูรณ์แบบ แทบไม่มีช่องว่างให้ครูอาจารย์หรือสถานศึกษาเข้าไปแทรกตรงไหนได้เลย โดยเฉพาะกับผู้เรียนที่มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับสูง… จนมีชื่อเรียกครูอาจารย์ในบทบาทใหม่ว่า “Facilitator แทน Teacher”

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… ส่วนตัวแล้วผมก็ได้เห็นครูอาจารย์บางท่านบางกลุ่ม แสดงให้เห็นว่าเข้าใจประเด็นการเปลี่ยนแปลงนี้แล้ว โดยการมอบหมายงานให้นักศึกษา เรียนรู้จากแหล่งความรู้หลากหลาย แทนการยืนเลคเชอร์ความรู้ชุดเดียวจากครูคนเดียว… เปิดกว้างสนับสนุนให้ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและกระตุ้นให้นักศึกษา “เอาความรู้มาสร้างชุดความรู้” เพื่อเผยแพร่ต่อทั้งในรูปของคลิปวิดีโอ พ๊อดคาสท์ ไปจนถึงลงมือจัดกิจกรรมโดยนำความรู้ไปใช้จริงในมิติต่างๆ และอีกไม่นานคงมีครูอาจารย์รุ่นคลาสสิคน้อยลงเรื่อยๆ และผมเชื่อว่า นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่จะช่วยกัน Disrupted ทั้งหมดนั้นเองด้วยวิถีดิจิทัล

ขอต้อนรับทุกท่านสู่ศักราชแห่ง… Digital Education… ตอนหน้าจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ ปรัชญาทางการศึกษาในยุคดิจิทัลที่จะทำให้ปรัชญาการศึกษาเก่าแก่อย่าง Pedagogy และ Andragogy เองก็ถูก Disrupted จนกลายเป็นปรัชญาการศึกษายุคคลาสิคไปทันที เมื่อเรามาถึงยุคปรัชญาการศึกษาที่ชื่อ… Peeragogy

โปรติดตามและแบ่งปันแชร์ต่อด้วยครับ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

2 replies on “Digital Education ปฐมบท… Bloom’s Digital Taxonomy”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts