ชื่อ Hiram J. Bertoch สำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา และ ครอบครัวอเมริกันที่เชื่อมั่นใน Homeschooling กับ บรรดาครู ผู้ปกครอง และ Homeschoolers ทั้งหลาย… ซึ่งต่างก็ยกย่อง และ ติดค้างการแบ่งปันทรัพยากรทางการศึกษา ที่ Hiram J. Bertoch ผู้เป็นอดีตครูคนหนึ่งจากเมือง Granger-Hunter ในรัฐยูทาห์ที่เชื่อมั่น Digital Education ได้แชร์ทุกอย่างที่มี และ ผลิตได้ผ่าน Kids Know It Network หรือ KKI ที่ Hiram J. Bertoch ก่อตั้งขึ้นในปี 1998 ซึ่งมีแชร์ทั้งเพจกิจกรรมการเรียนรู้ระดับแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนเวบไซต์ เกม คลิปวิดีโอ แผ่นงาน การบ้าน และ สื่อการเรียนการสอนสารพัดแบบ โดยมีพอสำหรับผู้ใช้งานเวบไซต์กว่า 6 ล้านบัญชี… ซึ่งไม่มีโรงเรียนไหนสอนนักเรียนได้มากเท่านั้นในแต่ละปีอย่างแน่นอน
Kids Know It Network ถูกซื้อกิจการทั้งหมดโดย Education.com ในช่วงปลายปี 2018… ซึ่งถือเป็นข่าวใหญ่ในวงการ EdTech… เพราะ Education.com ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่สุดในฐานะแพลตฟอร์มสื่อ และ ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน หรือ Users มากกว่า 20 ล้านบัญชีทั้งใน และ นอกสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว… การซื้อ KKI จาก Hiram J. Bertoch ในคราวนั้นจึงไม่ได้เป็นการซื้อเอาทีมพัฒนา หรือ ซื้อเอาจำนวน Users จาก KKI อย่างที่ StartUp ส่วนใหญ่ทำ Growth Hacking ด้วยการซื้อกิจการเอาทีมทำงาน หรือ ไม่ก็ซื้อเอาตลาดซึ่งก็คือจำนวน Users เพื่อเอามาต่อยอดให้การขยายกิจการให้สามารถทำได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลามาทำตลาดหาสมาชิก หรือ ลูกค้าใหม่… ซึ่งก็อาจจะต้องใช้เงินทุนไม่ต่างจากการทุ่มซื้อกิจการที่มี Users อยู่แล้วมาทำธุรกิจ
Todd Schwartz ในฐานะ Co-CEO ของ Education.com ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อ Kids Know It Network เอาไว้ว่า… Users หรือ ผู้ใช้งาน 6 ล้านบัญชีทั้งที่เป็นคุณครู ผู้ปกครอง และ Homeschoolers จาก Kids Know It Network และ Users หรือ ผู้ใช้งานของ Education.com กว่า 20 ล้านบัญชีจะได้ประโยชน์จากการรวมทรัพยากรเรียนการสอน หรือ Education Resource และ วรรณกรรมทางการศึกษา หรือ Education Contents ที่มีมากกว่า 30,000 ชิ้น… ซึ่งการรวม Education Resource และ Education Contents มาไว้ที่เดียวเพื่อเป็นผู้เล่นรายใหญ่รายเดียวต่างหากที่เป็นเป้าหมาย
ท่านที่เป็นครูอาจารย์ และ นักการศึกษาคงพอจะจินตนาการถึงปริมาณแผนการสอนพร้อมทรัพยากรประกอบเนื้อหาบทเรียนเป็นหมื่นๆ ชุดที่ Education.com มีให้ใช้… ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับแผนการสอนที่เตรียมใช้กับห้องเรียนขนาด 30–40 หัวนักเรียน ที่ครูอาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ตรง… หลายท่านคงอึ้งเหมือนผมว่ามันช่างมากมายล้นหลามจนเหลือเฟืออย่างมาก
ประเด็นการจัดการเชิงกลยุทธ์ของแพลตฟอร์ม Education.com ผมขอข้ามที่จะเอามาเล่าถึงน๊ะครับ… เพราะที่อยากจะบอกจนต้องยกเอาเรื่องนี้มาเล่าก็เพราะว่า… แนวคิดการโฟกัส Education Resource และ Education Contents สำหรับครูอาจารย์ นักการศึกษา นักเรียน และ ผู้ปกครองที่มีให้อย่างเพียงพอกับทุกๆ ความต้องการในแบบที่ Education.com ทำไปแล้วนั้น… สำคัญกับแนวทาง Personalized Learning และ ยุทธศาตร์การปฏิรูปการศึกษาอย่างมาก… ซึ่งถ้าประเทศไทยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักก็คงไม่มีอะไรให้กังวล นอกจากแนะนำ Education.com ให้ทุกท่านไปใช้กันให้เยอะๆ
โดยส่วนตัวผมไม่กล้าตั้งคำถามว่าเรามี Education Resource และ Education Contents สำหรับผู้เรียนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแรกแค่ไหนอย่างไร… ซึ่งถ้าไม่นับ eLearning แบบติวเตอร์ และ คอร์สเรียน How To สำหรับวัยทำงานที่เอกชนทำมาหากินกันอยู่เป็นล่ำเป็นสัน… Digital Education Resource และ Digital Education Contents สำหรับเด็กไทยในช่วงเวลาที่เราจำต้องเปลี่ยนผ่านจากยุค “ความรู้ต้องแบกหามไปโรงเรียนจนหลังแอ่น” ไปสู่ยุคดิจิทัลจริงๆ จะต้องใช้เวลา และ อะไรอีกแค่ไหน?
อย่าคิดเยอะเลยครับ… หัวจะปวด!
References…