เอกสารเผยแพร่ของ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD ว่าด้วยข้อเสนอแนะต่อ SMEs ในเครือข่ายประเทศสมาชิก… พูดถึงช่องว่างทางเทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจที่ SMEs ต้องเรียนรู้และ Update เพื่อตามให้ทันการแข่งขันในวันที่… ลมหายใจธุรกิจเป็น Digital ไปหมดแล้ว
เอกสารชื่อ OECD Digital for SMEs Global Initiative ขนาดยาว 8 หน้า พูดถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและสนับสนุน SMEs ในยุคดิจิตอลเมื่อครั้งจัดการประชุมรัฐมนตรีจากกระทรวงที่เกี่ยวกับ SME ของชาติสมาชิก หรือ The OECD SME Ministerial Meeting on Strengthening SMEs and Entrepreneurship for Productivity and Inclusive Growth ที่ Mexico City เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2018… ซึ่งเป็นเอกสารหลักที่ใครก็ตามจะพูดถึงแนวทางการทำ Digital Transformation ระดับโครงสร้างจะตัองพูดถึงและอ้างอิง
แต่วันนี้ผมจะไม่ลงรายละเอียดในเอกสารชิ้นนี้หรอกครับ แม้ว่าข้อมูลในเอกสารจะยัง “ใช่” อยู่และพูดถึงได้… แต่อะไรที่เกี่ยวกับ Digital Transformation ที่พูดถึงหรือเผยแพร่มาแล้วเกิน 180 วันก็ถือว่าเป็นข้อมูลเก่าไปหน่อย แม้เนื้อหาจะยัง “ใช่” อยู่ทั้งหมดก็ตาม… ท่านที่สนใจโมเดลและข้อมูลชุดนั้นคลิกที่นี่ครับ
ผมขอตัดตอนมาพูดถึงประเด็นที่… ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics… สรุปปัจจัยเกี่ยวกับ Digital Ecosystem ของไทย และความพร้อมในการขับเคลื่อนรองรับการประกอบกิจการ SMEs หลังผ่านช่วง COVID19 เพื่อมองหาโอกาสในการเพิ่มศักยภาพต่อการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ในช่วงตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว… มาดูเลยว่า TMB Analytics มองประเด็นไหนไว้บ้าง
1. e-Channel หรือช่องทางอิเลคทรอนิค หรือช่องทางดิจิตอล
การเข้าถึงตลาดออนไลน์ที่เป็น e-Marketplace หรือ Social Network เช่น Lazada Shopee Tarad.com Facebook Line Agoda Booking… ผู้บริโภคจำนวนมากที่เคยอยู่ตามตลาดห้างร้านต่างๆ ได้กระโดดเข้าไปอยู่ในตลาด e-Commerce ที่ไร้ข้อจำกัดด้านขนาดและสถานที่ โดยข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ ETDA เผยสถิติการซื้อสินค้าผ่านช่องทาง e-Marketplace พบว่า ในปี 2562 มูลค่าตลาด e-Commerce มีการเติบโตสูงขึ้น 35% เมื่อเทียบกับช่วงปีก่อน โดยมีมูลค่ามากถึง 163,300 ล้านบาท
และจากข้อมูลของ Priceza ในการแถลงข่าว Priceza Virtual Conference พบว่า ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโควอดช่วงเดือนมีนาคม–เมษายน พ.ศ. 2563… ยอดขายออนไลน์ในธุรกิจสุขภาพ ความงาม และสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 34% เมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนก่อนการระบาด หรือแม้แต่ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แม้ว่าแนวโน้มของภาวะตลาดจะหดตัวตามกำลังซื้อ แต่กลับมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 22%… นอกจากนี้ ในช่วงปี 2561–2562 ที่ผ่านมา SMEs ที่ทำ e-Commerce มีโอกาสไปต่อถึง 92% และมีเพียง 8% เท่านั้นที่เลิกกิจการ ดังนั้น ธุรกิจที่ต้องการอยู่รอด จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์มากขึ้น
2. e-Payment หรือ ระบบชำระราคาดิจิตอล
การเข้าถึงระบบอำนวยความสะดวกในการชำระเงินของลูกค้าธนาคารจำนวนมากผ่าน Internet Banking… Mobile Banking… e-Wallet… และ QR Code Payment… โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า… การใช้ e-Payment ของคนไทยเพิ่มขึ้น 114% ในช่วงปี 2560–2562… มีการใช้ Internet Banking และ Mobile Banking เติบโต 276%… และในช่วงการแพร่ระบาดในเดือนเมษายนทำให้มีการใช้ e-Payment ถึง 151 ครั้งต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากปี 2559 และปัจจุบันธุรกิจ ร้านค้า และภาครัฐต่างๆ มีจุดบริการกว่า 6 ล้านจุดทั่วประเทศ พฤติกรรมความคุ้นชินในการใช้ e-Payment เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา
3. Logistics หรือ ระบบขนส่งในห่วงโซ่อุปทาน
โดยการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมในธุรกิจรับ-ส่งสินค้า… ช่วยส่งสินค้าให้ถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว ด้วยต้นทุนต่ำ เช่น ไปรษณีย์ไทย… Kerry… DHL… LINE Man… Grab ฯลฯ กลายเป็นสิ่งจำเป็นควบคู่ในธุรกิจ e-Commerce และส่งเสริมให้ผู้บริโภคจับจ่ายมากขึ้นด้วยทั้งผ่านร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าทั่วไป จากข้อมูลไปรษณีย์ไทยได้เผยสถิติการส่งสิ่งของผ่านเส้นทางไปรษณีย์ไทยว่าในปี 2563 มีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่า 60% จากปีก่อนที่มีสิ่งของฝากส่งวันละ 8 ล้านชิ้น จากข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าทั้งตัวธุรกิจและผู้บริโภคมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
4) Management & Analytics Tool หรือ เครื่องมือวิเคราะห์และช่วยจัดการธุรกิจ
การจัดการระบบวิเคราะห์ เพื่อช่วยบริหารจัดการธุรกิจและการตลาดอย่างชาญฉลาดมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยสุดท้าทายที่กำลังมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน หมายถึง การนำข้อมูลจากธุรกิจเองหรือจาก e-Channel หรือผู้ให้บริการต่างๆ เช่น Google Analytics หรือ Facebook Insights มาใช้วางแผนการตลาด และพัฒนาสินค้าและบริการ เพราะการที่เจ้าของธุรกิจไม่ทราบว่ามีคนเข้าเว็บไซต์หรือเยี่ยมเพจวันละกี่คน และเข้ามาทำอะไรบ้าง ก็เปรียบเหมือนการเปิดร้านอาหารแต่ไม่รู้ว่ามีลูกค้าเข้าร้านกี่คน และสั่งอะไรบ้าง การต่อยอดทางธุรกิจต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ จึงมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผนได้สอดคล้องกับภาวะตลาดมากขึ้น
นอกจากนั้น… การทำ Digital Transformation คลอบคลุม Big Data & Analytics ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ SMEs ทั่วโลกที่ไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง จำเป็นต้องปรับตัว… ซึ่งการจะมี Big Data ที่มากและสมบูรณ์พอที่จะเป็น “คำแนะนำอันยอดเยี่ยมในการตัดสินใจทางธุรกิจ” จำเป็นจะต้องสร้างกลไก Input ให้ระบบได้สะสม Data ที่ถูกต้อง… ซึ่งกลไกการ Input Data ในยุค Digital Transformation นั้น… SMEs ที่อยากเปลี่ยนแปลงคงต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเป็นรายกรณีของกิจการที่ท่านจะ Transform กันน๊ะครับ
ขาดเหลือทักผ่าน LineOA: @reder ครับ!
อ้างอิง