Docutainment

DocuTainment… และ Lifelong Learning

ปลายเดือนมกราคมปี 2019… ภาพยนตร์แนวสารคดีหรือ Documentary ที่สร้างจากเรื่องจริง พร้อมตัวละครจริง ประกอบภาพข่าวจริงจากประเด็น Cambridge Analytica เรื่อง The Great Hack ได้ออกฉาย

ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งตารอดู The Great Hack เพราะผมรู้จักทั้ง Brittany Kaiser อดีตผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ Cambridge Analytica และ Christopher Wylie อดีตนักวิทยาการข้อมูล ที่เคยเป็นคีย์แมนสำคัญใน Cambridge Analytica อันถือว่าเป็นองค์กรมาเฟียข้อมูลดิจิตอลระดับ Daddy Godfather หรือบิดาของเทพบิดาอีกทีเลยหล่ะ… ซึ่งทั้ง Brittany Kaiser และ Christopher Wylie ก็ร่วมเข้าฉากใน The Great Hack พร้อมๆ กับนักข่าวคนสำคัญจาก The Daily Telegraph อย่าง Carole Cadwalladr ผู้เปิดโปง Cambridge Analytica รวมทั้ง Associate Professor David Carroll ผู้ที่ร้องต่อศาลให้ Cambridge Analytica คืนข้อมูลตัวเองจนนำไปสู่การขุดคุ้ยของนักข่าวจน Cambridge Analytica ต้องปิดตัวลง… พร้อมกับวิบากกรรมครั้งใหญ่ของ Facebook และ Mark Zuckerberg ที่ไม่ปกป้องข้อมูลลูกค้าจน Cambridge Analytica ใช้เทคนิคง่ายๆ ก็ใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้คนใน Facebook ได้

แต่วันนี้ไม่ได้จะมาเล่าเรื่อง Data หรือดิจิตอล หรือเรื่องของ Daddy Godfather หรอกครับ… เพียงแต่ยกหนังจาก Netflix Original Movies อย่าง The Great Hack มาพูดถึงแนวโน้ม Video Content ที่เรียกว่า DocuTainment อันถือเป็นอีกขั้นของหนังสารคดี ที่ต้องทำหน้าที่ส่งมอบข้อเท็จจริงผ่านสื่ออย่างวีดิโอ พร้อมๆ กับเล่าเรื่องให้สนุกและน่าติดตาม… เพราะไม่ว่าจะอย่างไร… เรื่องจริงมากมายในโลกนี้สนุกกว่าเรื่องแต่งเป็นไหนๆ

ล่าสุด… เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา DocuTainment แบบซีรีย์เรื่อง RISE OF EMPIRES OTTOMAN ที่เล่าเรื่องการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน และแทนที่ด้วยอาณาจักรออตโตมัน ภายใต้การนำของสุลต่านเมห์เหม็ด… ซึ่งเป็นซีรีย์ที่มีนักประวัติศาสตร์ช่วยให้ข้อมูลสลับกับการจำลองเหตุการณ์ให้ชมด้วยงานโปรดักชั่นระดับฮอลลีวูด… RISE OF EMPIRES OTTOMAN ถูกจัดหมวดให้เป็น Docudrama เช่นกัน

ที่จะบอกก็คือ… DocuTainment เป็นแนวโน้มใหม่ของการสื่อสารข้อเท็จจริงและความรู้ ที่ทำให้ผู้รับสารไม่เบื่อที่จะติดตาม… ซึ่งผมคิดถึงตำราเรียนมากมายที่สามารถนำมาดัดแปลงเป็น DocuTainment… โดยเฉพาะกรณีศึกษา หรือตัวอย่างในตำราเรียน ซึ่งผมเชื่อว่าอีกไม่นาน… เราน่าจะได้เรียน ทฤษฎีสัมพัทธภาพคลาสสิค ที่สนุกกว่าที่เคยเป็นมา… รวมทั้งการเรียนเรขาคณิตและทฤษฎีบทพีทาโกรัสผ่าน DocuTainment ค่อนข้างแน่ และผมเชื่อว่ามีใครบางคนกำลังหมกหมุ่นเรื่องนี้อยู่ที่ไหนซักแห่ง

ประเด็นก็คือ… ความรู้สมัยใหม่เป็นความรู้ระดับเพื่อรู้ กับความรู้และทักษะระดับนำไปใช้งาน ไม่มีความจำเป็นจะต้องอัดใส่ไว้ในตำราเล่มเดียวอีกต่อไป… เพราะความรู้สมัยใหม่ ต้องอัพเดทก่อนการนำไปใช้เสมอ แม้ว่าท่านจะเคยใช้ความรู้และทักษะนั้นมาก่อนหรือไม่

DocuTainment จะเข้ามาให้ความรู้ระดับเพื่อรู้… ก่อนจะส่งต่อให้ Lifelong Learning อัพเดทความรู้และทักษะที่เป็นปัจจุบันที่สุดให้นำไปใช้งาน… 

ประเด็นที่อยากจะพูดถึงเป็นพิเศษคือ… ช่วงหลังๆ มานี้นักวิชาการและครูอาจารย์ในบ้านเราต่างตื่นตัวเรื่อง Lifelong Learning และการพัฒนา e-Learning กันถ้วนทั่ว… แต่ที่ผมได้สัมผัสส่วนใหญ่ยังคงออกจากกรอบคิดดั้งเดิมได้จริงๆ น้อยมาก… ทำให้ Contents ด้านการศึกษาที่เรียกว่า e-Learning ยังเป็น Contents ไม่ได้ต่างจากวีดิโอสอนหนังสือของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่เคยแพร่ภาพทางข่อง 11 เมื่อ 30 ปีที่แล้วอยู่เป็นส่วนใหญ่… จะต่างก็แต่วันนี้เอามาเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ต กับมีล๊อคอินล๊อคเอ๊าท์ให้ใช้เท่านั้นเอง

ในทัศนะของผมมองว่า… การจัดการศึกษานับจากนี้ การออกแบบ Learner Journey ควรกลับไปเริ่มกันที่ First Principal ว่าแท้จริงแล้ว… อะไรคือแก่นของสิ่งที่มนุษย์อยากเรียนรู้กันแน่… และอะไรทำลายสัญชาตญาณอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ที่วงการการศึกษาหวังกันมาก ยังสู้ Contents จาก Youtuber ที่พ่อแม่สมัยนี้ส่วนใหญ่ ยกให้เป็นพี่เลี้ยงเด็กอนุบาลไปแล้ว

แต่ไม่ว่าจะยังไง… ข้อมูลในมือผมตอนนี้ก็พอมีเอกชนรายใหญ่บางแห่ง ที่หันมาออกแบบการฝึกอบรมภายในผ่าน e-Learning ด้วย Contents ที่ Fit กับงานและคนภายในองค์กร แถมยังสนุกและเนียนไปกับ Lifestyle แบบกินข้าวดูละครและได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

จะว่าไปแล้ว Docutainment ก็ไม่ได้มีแต่หนังหรือละครหรอกน๊ะครับ… การเรียนรู้หลายรูปแบบสามารถทำเป็นเกมส์ออกมาก็ได้… ซึ่งมีเกมส์มากมายที่ช่วยนักลงทุนมือใหม่เล่นหุ้นหรือลงทุนกับทองหรือตราสารหนี้ แบบใช้ข้อมูลราคา Realtime แต่ลงทุนด้วยพอร์ตสมมุติใน Sandbox

นั่นแหละครับ Lifelong Learning… หัวใจอยู่ที่ Contents ที่พอดีหรือ Fit กับเป้าหมายจริงๆ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts