ในชั้นเรียนตั้งแต่ระดับปฐมศึกษา… ครูทุกท่านจะเคยได้สอนเด็กที่มีพัฒนาการทางด้านการคำนวณที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน เรียนคณิตศาสตร์ไม่ทันเพื่อน มีปัญหากับการนับเลข สับสนเรื่องลำดับจำนวน เพื่อนส่วนใหญ่ในชั้นเดียวกันอาจจะคิดเลขในใจได้แล้ว แต่เด็กกลุ่มนี้ก็ยังต้องใช้นิ้วมือนิ้วเท้าช่วยนับอยู่… ที่สำคัญคือมีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์คณิตศาสตร์อย่างชัดเจน โดยครูผู้สอน และ ผู้ปกครองจะสังเกตุเห็นความสับสนเกี่ยวกับตรรกะ และ โจทย์คณิตศาสตร์รูปแบบต่างๆ เช่น…
- สับสนในการประเมินสิ่งต่างความสูง ระยะทาง และ ระยะห่าง
- ไม่เข้าใจคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
- เรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานอย่างการบวก ลบ คูณ หาร ได้ช้า
- สับสนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของตัวเลข 1 กับคำพูดที่เกี่ยวกับเลข 1
- มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเศษส่วน
- มีปัญหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจเรื่องกราฟ แผนภูมิต่างๆ
- สับสนเกี่ยวกับการนับเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน การทอนเงิน และ หน่วยเงิน
- ไม่สามารถจดจำหมายเลขโทรศัพท์ หรือ รหัสไปรษณีย์ได้
- มีความสับสน งุนงง ในการอ่านเวลา หรือ ดูนาฬิกา
เด็กที่มีปัญหาตรรกะ และ โจทย์คณิตศาสตร์ดังว่านี้จะถือว่าเป็นเด็กมี “ภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia หรือ Math Dyslexia” ซึ่งเป็นภาวะบกพร่องของพัฒนาการสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านตัวเลข ตรรกะ และ คณิตศาสตร์… ไม่สามารถทำความเข้าใจ และหรือ ตีความสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และ ตัวเลขได้ ซึ่งจะทำให้ทักษะการคำนวณไม่ได้รับการปลูกฝัง ทำการบ้าน และ ข้อสอบคณิตศาสตร์ได้ไม่ดี
การสำรวจวิจัยมากมายได้รายงานอย่างสอดคล้องกันว่า… ภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia เกิดร่วมกับโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder… ซึ่งจะมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้อย่างน้อยหนึ่งอย่าง
ข้อมูลสรุปจากเวบไซต์ Brainandlifecenter.com ชี้ว่า… ภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับทักษะด้านตัวเลขและการคำนวณ ทำให้การรับรู้และประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้ยาก สัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคพบประมาณ 3-6% ในโรงเรียน โดยสามารถพบได้ทั้งเพศชาย และ เพศหญิง… ซึ่งนักวิจัยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ Dyscalculia แต่ก็ตั้งข้อสังกตุว่า… เป็นไปได้ที่จะมีสาเหตุมาจากความแตกต่างของโครงสร้าง และ วิธีการทำงานของสมอง ที่สืบเนื่องมาจาก 2 สาเหตุใหญ่ คือ
- ยีนและพันธุกรรม… โดยการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในสายเลือดอาจส่งผลต่อปัญหาภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ
- การพัฒนาสมอง… โดยการศึกษาเปรียบเทียบภาพถ่ายสมองได้แสดงให้เห็นความแตกต่างบางอย่างของกลีบสมอง Intraparietal Sulcus ซึ่งเกี่ยวข้องกับทักษะการเรียนรู้ โดยปรากฏความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างผู้ที่มีอาการ Dyscalculia และ ไม่มี
ประเด็นก็คือ… ความผิดปกติของกลีบสมอง Intraparietal Sulcus จะส่งผลให้ทักษะด้านอื่นๆ ของผู้เรียนเสื่อมลงไปด้วย เช่น
- Concentration หรือ การจดจ่อและใช้สมาธิ
- Divided Attention หรือ การแบ่งแยกสมาธิ
- Working Memory หรือ ความจำใช้งาน
- Short-Term Memory หรือ ความจำระยะสั้น
- Naming หรือ การจดจำและระบุชื่อ
- Planning Skill หรือ ทักษะการวางแผน
- Processing Speed หรือ ความเร็วในการคำณวน
ส่วนที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือ… ภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia สามารถเป็น และ ปรากฏอาการกับทุกเพศทุกวัย… โดยอาการในวัยเด็กจะสังเกตุเห็นภาวะสับสนเกี่ยวกับลำดับตัวเลข และ จำนวน… สับสนเกี่ยวกับรูปทรง และ ขนาด… รวมทั้งปัญหาการจัดกลุ่ม จับคู่ และ เปรียบเทียบ… ส่วนในเด็กโตก็จะพบปัญหาการทำความเข้าใจโจทย์คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะโจทย์วิเคราะห์ที่ต้องใช้ตรรกะ และ ใช้ทักษะภาษาในการวิเคราะห์โจทย์ ซึ่งจะทำให้เด็กโตไม่สามารถอธิบาย บรรยาย หรือ ถ่ายทอดข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วนด้วย โดยข้อมูลจาก NCLD หรือ National Center for Learning Disabilities ชี้ว่า… ปัญหาภาวะบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ก็สามารถสังเกตุพบความบกพร่องในการทำความเข้าใจคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ และ สูตรคำนวณ รวมทั้งขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อน
ผมยกประเด็น ความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia มากล่าวในบทความตอนนี้เพื่อเปิดประเด็นไว้ 2 ข้อคือ… ประเด็นแรกตัวเลขการสำรวจพบเด็กที่เข้าเกณฑ์ Dyscalculia ในโรงเรียนจะมีเพียง 3-6% เท่านั้น… ในขณะที่จำนวนนักเรียนในโรงเรียนที่ “สับสน งวยงงกับการเรียน การบ้าน และ การสอบคณิตศาสตร์” ในโรงเรียนมีสูงกว่านั้นมาก…
ถ้าการแก้ปัญหาให้เด็กมีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์และการคำนวณ หรือ Dyscalculia ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำไว้ก็คือ
- ออกแบบแผนการสอนเป็นพิเศษ กับ…
- ใช้เกมส่งเสริมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้มาก และ…
- ฝึกฝน ทบทวนทักษะคณิตศาสตร์บ่อยๆ
ก็สามารถช่วยเหลือเด็กอ่อนคณิตศาสตร์จากความบกพร่องในสมองขั้น Dyscalculia ได้… แล้วทำไมโรงเรียนไม่ลองใช้กลยุทธ์เดียวกันนี้มาส่งเสริมใช้กับเด็กกลุ่มใหญ่ที่ “อ่อนเลข” ให้เก่งขึ้นกว่าที่ทำกันอยู่… ครับ?
References…