Dysfunctional Family… ครอบครัวบกพร่องความสัมพันธ์ #SelfInsight

ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่ทางที่จะเรียกได้ว่า “สมบูรณ์แบบ” ในแบบที่พ่อ-แม่-ลูกถูกเติมเต็มความต้องการจนระดับความสุขและความพึงพอใจของสมาชิกครอบครัวในชั้นความสัมพันธ์ที่หนึ่งอย่าง สามี–ภรรยา กับ พ่อแม่–ลูก… ไม่เหลือความสงสัยคับข้องใจที่มีต่อกันไปตลอด หรืออย่างน้อยก็จนกว่าจะมีคนนอกชั้นความสัมพันธ์ที่หนึ่งเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัว ไม่ว่าจะในฐานะเขย–สะใภ้ รวมทั้งชั้นความสัมพันธ์ที่หนึ่งวงใหม่ ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์เมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นจากการเกิด… ซึ่งตลอดเวลาที่ครอบครัวพัฒนาจากชั้นความสัมพันธ์ที่หนึ่งจนต่อยอดไปสู่ชั้นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนจนกลายเป็นเครือญาตินั้น เส้นทางความสุขและความพึงพอใจของสมาชิกครอบครัวที่มีให้กันมักขาดพร่องได้ทั้งชั่วคราวและชั่วชีวิตก็มาก

การเป็นครอบครัวจึงมีอะไรหลายอย่างที่ “ไม่สมบูรณ์แบบ” ให้ต้องผ่อนสั้นผ่อนยาวเพื่อให้สมดุลความสุขและความพึงพอใจถูกเฉลี่ยในระหว่างสมาชิกอย่างเหมาะ โดยเฉพาะสมาชิกในชั้นความสัมพันธ์ที่หนึ่ง ซึ่งชีวิตผูกพันกันทางสายเลือดผ่าน “ลูก” ผู้สืบทอด DNA ของพ่อแม่เพื่อส่งต่อให้รุ่นถัดไป… ซึ่ง “ความไม่สมบูรณ์แบบของครอบครัว” ที่เกิดขึ้นภายใต้ความใส่ใจ การแบ่งปันและการเสียสละในครอบครัวจะถือเป็น “ความรัก” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะมีปรากฏให้เห็นอยู่มากมายในทุกชาติทุกภาษาและชนชั้น… แต่ก็ปรากฏเห็นมี “ความไม่สมบูรณ์แบบของครอบครัว” ที่เกิดขึ้นเพราะการละเลย การล่วงละเมิด การผลักไสเกลียดชัง และ ผลกระทบจากปัจจัยนอกครอบครัว เช่น ยาเสพติด การพนัน รวมทั้งการตกเป็นเหยื่อของสมาชิกครอบครัวบางคนที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกให้หมดความใส่ใจ กับ การแบ่งปัน และ การเสียสละที่เคยมีให้กันจนไม่เหลือ

ประเด็นก็คือ ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกที่ “หมดความใส่ใจ กับ ไม่เหลือการแบ่งปัน และ ไม่มีการเสียสละต่อกัน” มักจะเห็นการทะเลาะเบาะแว้งจากประเด็นความขัดแย้งที่ไม่ถูกแก้ไขจนคู่ขัดแย้ง และหรือ สมาชิกครอบครัวเกิดไม่พึงพอใจกันอย่างเรื้อรัง จนสมดุลความรักและความไว้วางใจในครอบครัวเลือนหายไปหมดสิ้นในที่สุด

จากการศึกษาของ Shiyuan Xiang และ คณะ ซึ่งตีพิมพ์ผลการศึกษาชื่อ Exploring The Family Origins Of Adolescent Dysfunctional Separation–Individuation โดยศึกษาการแยกตัวจากครอบครัวแบบไม่ปกติของวัยรุ่น ซึ่งสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในชีวิตสมรส รวมทั้งปัญหาระหว่างพ่อ–แม่ของวัยรุ่นเอง ที่มักจะเห็นเป็นความขัดแย้งและการทะเลาะเบาะแว้งของพ่อแม่ รวมทั้งภาวะเครียดของแม่จากปัจจัยความสัมพันธ์ ได้ส่งผลถึงลูกวัยรุ่นเลือกที่จะแยกตัวออกจากสายสัมพันธ์ครอบครัวได้ง่าย

ในหนังสือ Handbook of Relational Diagnosis and Dysfunctional Family Patterns ของ Florence Kaslow ซึ่งเรียบเรียงจากประสบการณ์ของการเป็น Couples and Family Therapists หรือ นักบำบัดชีวิตคู่และปัญหาครอบครัว โดยหนังสือเล่มนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นแม่บทของเกณฑ์ทางคลินิกสำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติเชิงความสัมพันธ์ และ รูปแบบความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ ชี้ว่า… ลักษณะทั่วไปที่มีร่วมกันของ Dysfunctional Family หรือ ครอบครัวที่บกพร่องความสัมพันธ์ต่อกันจนเกิดปัญหาครอบครัวขึ้นจะเริ่มต้นจาก “ประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนที่ดำเนินไปภายใต้โครงสร้างครอบครัว” โดยประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนในแต่ละวันเวลาที่ผ่านไป จะเสริมสร้างพฤติกรรมของแต่ละคนให้ต่างออกไปจากเดิมเสมอ” ซึ่งพฤติกรรมที่ต่างออกไปจากเดิม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงที่สมาชิกทุกคนต่างก็ทีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของตน และ โอกาสที่การเปลี่ยนแปลงจะไปกระทบถึง “ระดับความสุข และ ความพึงพอใจ” ของอีกคนหนึ่งเข้า… ระดับความสุข และ ระดับความพึงพอใจรูปแบบเดิมก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งถ้าทำให้สมาชิกครอบครัวบางคน หรือ ทุกคนรู้สึกถูกคุกคามความสุขและความพึงพอใจขึ้น… ก็แปลว่าปัญหาครอบครัวได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts