SpaceX's Starship in flight

Earth to Earth Rocket #FutureTransportation

วิธีเดินทางขึ้นอวกาศเพื่อออกจากพื้นโลกไปไกลจนพ้นแรงดึงดูดนั้น ถึงปัจจุบันก็ยังมีเพียงการใช้เครื่องยนต์จรวด หรือ Rocket Engine ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์ไอพ่น หรือ Jet Propulsion ชนิดหนึ่งเท่านั้น ที่จะมีแรงขับมากพอจะพาวัตถุที่หนักกว่าตัวจรวดเอง หนีแรงโน้มถ่วงเป็นมุมฉากกับพื้นโลก ต้านแรง G ในทิศทางตรงกันข้ามเพื่อให้หลุดออกจากแรงดึงดูดของโลกให้เร็วที่สุด ในขณะที่การสันดาบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์จรวดเองก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อรีดพลังและกันพลาดหากล่าช้าจนเชื้อเพลิงหมดก่อนจะออกพ้นแรงดึงดูดของโลก… เครื่องยนต์จรวดจึงอันตรายต่อการใช้งานในแบบอากาศยานทั่วไป ที่มีใช้สำหรับเดินทางและขนส่งสิ่งมีชีวิตทั่วไประหว่างสนามบินหนึ่งไปอีกสนามบินหนึ่ง

ปลาย ปี 2019… ข่าวดังในวงการเทคโนโลยีและอวกาศ เรื่องการเดินทางขึ้นอวกาศที่มหาเศรษฐีนักเทคโนโลยีในยุคเราอย่าง Elon Musk… เดินสายให้ข้อมูลและเผยแพร่แนวคิดการใช้พาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์จรวด มาใช้ในกิจกรรมการเดินทางโดยสารขึ้นอวกาศ และเดินทางจากเมืองหนึ่งไปเหมืองหนึ่งเหมือนเครื่องบินโดยสาร… แต่เร็วกว่ามาก

ไม่กี่เดือนต่อมา… ข่าวการทดสอบการบินด้วยเครื่องยนต์จรวด ทั้งบินขึ้นและลงจอดอย่างราบรื่นตามการคาดการณ์ของทีม SpaceX ก็เผยแพร่ไปทั่ว… Reder.red ก็เคยนำเสนอข้อมูลเป็นบทความเอาไว้ในหัวข้อ Rocket Travel… ขึ้นจรวดไปเที่ยวกันมั๊ย? เผยแพร่ไปเมื่อ 15 พฤษจิกายน ปี 2020 ที่ผ่านมานี่เอง แต่บทความตอนนั้นเน้นพูดถึงโครงการจรวด Big Falcon Rocket หรือ BFR หรือ โคตรจรวดฟอลคอน หรือที่ Elon Musk โพสต์ขึ้น Twitter ส่วนตัวเรียกว่า Big F*cking Rocket มากกว่า

แต่ข่าวเล็กๆ ที่เล็ดลอดออกมาจากสื่อทางยุทธวิธีในช่วงปลายปี 2020 เช่นกันกลับชัดเจนว่า… The US Transportation Command หรือ USTRANSCOM หรือหน่วยพลาธิการและขนส่งทางกลาโหมของสหรัฐ ซึ่งขึ้นตรงกับ Pentagon ได้ทำสัญญากับ SpaceX ในการใช้เทคโนโลยี BFR ขนส่งสัมภาระทางยุทธวิธีเที่ยวละสิบตันไปมุมไหนของโลกก็ได้ภายในหนึ่งชั่วโมง… ซึ่ง Gwynne Shotwell ในฐานะ CEO ของ SpaceX ก็ยืนยันเรื่องยานขนส่งด้วยเครื่องยนต์จรวดแบบ “พื้นสู่พื้น” ว่ามีใช้แน่ๆ ในหลายเวที… แม้แต่บนเวที  TED Talk เธอก็ยืนยันว่า… การไปเยี่ยมญาติในนิวยอร์คของชาวลอนดอน สามารถไปเช้าเย็นกลับได้แน่นอนภายใน 10 ปีนี้… และนับถอยหลังเหลือ 9 ปีแล้ว

ประเด็นที่น่าสนใจเป็นแบบนี้ครับ… เมื่อพูดถึงจรวด หรือ เครื่องยนต์จรวด คนส่วนใหญ่จะมีเพียงภาพจรวดเชื้อเพลิงเหลวที่พัฒนามาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักวิทยาศาสตร์รัสเซียชื่อ คอนสตันติน ซีออลคอฟสกี หรือ Konstantin Tsiolkovsky ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่แนวคิดและทฤษฎี Liquid-Fueled Rocket Engines และเจ้าของ สมการจรวดซีออลคอฟสกี หรือ Tsiolkovsky Rocket Equation จนมาถึงยุคแข่งขันกันพัฒนาจรวดเพื่อใช้เป็นขีปนาวุธ โดยมีฉากหน้าเป็นการแข่งขันพัฒนากิจการด้านอวกาศของขั้วอำนาจในยุคสงครามโลกและยุคสงครามเย็น

โดยพัฒนาการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับจรวดและเครื่องยนต์จรวด จากการแข่งขันตลอดร้อยปีของศตวรรษที่ 20… มีผลงานการค้นคว้า ตีพิมพ์และจดสิทธิบัตรมากมายจากหลายชาติ จนมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเภท หรือ Types ของเครื่องยนต์จรวดและเชื้อเพลิงมากมายหลายแบบ… เฉพาะที่นับได้จากบันทึกเผยแพร่บน Wikipedia.org ก็มีมากกว่า 30 แบบ… ซึ่งผมขอข้ามการลงลึกในรายละเอียดที่จะพูดถึง เพราะผมคงปิดต้นฉบับภายในวัน ด้วยข้อมูลที่สามารถเขียนหนังสือเป็นเล่มไม่ได้

เอาเป็นว่า… สิ่งที่ Elon Musk เดินสายขายแนวคิดในช่วงสามสี่ปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับ Earth to Earth Rocket นั้น… ในทางเทคนิคแล้วถือว่าไอเดียชุดนี้มีนักลงทุนควักเงินเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะขาใหญ่อย่าง USTRANSCOM  ซึ่งถ้าเป็น Startup ธรรมดาก็คงถือว่าได้เงินลงทุนไปหลายซีรีย์แล้วหล่ะ… และเครดิตผลงานของ Elon Musk และ Gwynne Shotwell ภายใต้ตรา SpaceX ที่ผ่านมา… โดยส่วนตัวเชื่อว่ามันเกิดขึ้นจริงแน่ๆ!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts