Edtech Startup Business Model

EdTech Business Models, 2021

วิกฤตโควิดที่ยังลุกลามต่อเนื่องทั่วโลก พร้อมการกลายพันธ์ของเชื้อ COVID-19 ที่แม้จะมีเพียงบางประเทศอย่างอังกฤษเท่านั้นที่น่ากังวล แต่ก็แสดงให้เห็นว่า… สงครามโควิดรอบนี้ไม่น่าจะจบง่ายแค่มีวัคซีนก็เอาอยู่ และความเห็นจากหลายฝ่ายมีแนวคิดเผื่อๆ มองยาวระดับสิบปีก็มีให้ได้ยินกันแล้ว

ในวิกฤตโควิดคราวนี้… กิจกรรมทางสังคมที่กระทบหนักจริงๆ ดูเหมือนจะเป็นภาคส่วนของการจัดการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ชดเชยก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แม้จะทุลักทุเลกันเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่างกันทั้งโลก แต่คุณภาพการเรียนการสอนก็ยอมรับกันได้ระดับหนึ่ง… แค่ยอมรับให้ได้ว่าจะไม่เหมือนเดิม แต่ปัญหาใหญ่กว่านั้นของอุตสาหกรรมการศึกษาในยุคที่การเรียนการสอนออนไลน์ กลายเป็นไฟท์บังคับ… ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับต่างเจอปัญหาเรื่องโครงสร้างรายได้ของสถาบัน ที่เห็นแนวโน้มชัดเจนว่า… ตัวเลขรายได้เข้าสถาบันเละเป็นเสี่ยงๆ แน่นอนในอีกไม่ช้า

แต่ไหนแต่ไรมา… EdTech Startup ทั่วโลกก็พยายามจะมองหาโมเดลธุรกิจการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยีในการปรับขนาดทางเศรษฐศาสตร์ หรือทำ Economy of Scale เพื่อ Disrupted กลไกการศึกษาแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมานาน… ซึ่ง EdTech Startup ทั่วโลกต่างก็เจอปัญหาคล้ายๆ กันทำนองว่า ทำโรงเรียนและหลักสูตรออนไลน์นั้นไม่ยากเลยสักนิด แต่จะเก็บตังค์ยังไงให้พอเลี้ยงปากท้องคนทำโรงเรียนและหลักสูตรออนไลน์แบบพึ่งตัวเองได้… ยากกว่ามาก

ผมเองเคยหนุนหลังทีม EdTech ขึ้น Pitch สองสามทีมในช่วงที่เวทีประกวดยังมีมากเพราะเป็นยุคตื่น Startup ในเมืองไทย… พวกเราพบคำถามที่ตอบยากและตอบได้ไม่เคยชัดเรื่องโมเดลรายได้ ซึ่งก็ชัดเจนว่า ประเทศไทยยังไม่มีโมเดล EdTech Startup ถึงขั้นท้าทายระบบการศึกษาเดิม… และแม้แต่ในระดับโลกเองก็ยังไกลจากการ Disrupted กลไกการศึกษาแบบโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเดิมๆ อยู่มาก

แต่การมาของวิกฤตโควิด กลับทำให้ระบบการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้พึ่งรายได้ด้วยตัวเองทั้งร้อยเปอร์เซนต์ อย่างกรณีสวัสดิการครูเอกชนและเงินอุดหนุนการศึกษาที่รัฐจ่ายเพิ่มเติมช่วยเหลือโรงเรียนเอกชนทั้งหมดอยู่… ไม่นับรวมระบบโรงเรียนสังกัดรัฐบาลทุกกรมกองและสำนักงาน เลยไปจนถึงมหาวิทยาลัยที่ยังต้องพึ่งพาภาษีจากรัฐทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่ออยู่รอดกันหมด… คำถามเรื่อง EdTech หาเงินยังไงให้พอเลี้ยงตัวเองจึงไม่ง่ายที่จะตอบได้ในเร็ววัน… ซึ่งโควิด 19 กลับทำลายระบบการศึกษายุคคลาสสิกลงให้เห็นแก่นของ “ต้นทุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์” ที่ไม่ได้ซับซ้อนยุ่งยากจากอุปสรรคมากมายที่ใครวางโครงสร้างไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่รู้

เอาเป็นว่า… อีกไม่นานเราจะเห็นระบบการศึกษาอันยืดยุ่นอย่างแท้จริงเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์จากที่ไหนซักแห่งในโลกนี้… แค่รอดูไปพร้อมๆ กันครับ… และวันนี้ผมมีโมเดลธุรกิจการศึกษา ที่ EdTech Startup ช่วยกันหาแนวทางพัฒนาระบบการนำส่งความรู้และทักษะด้วยเทคโนโลยี ซึ่งต้นทุนถูกมากๆ จนหาช่องเก็บ “ค่าบูชาครู” ไม่พอเลี้ยงปากท้องถ้า Economy of Scale ไม่กว้างลึกพอ แต่เมื่อระบบการศึกษายุคคลาสสิกโดนโควิดแทะทำลายลง “จนกฏถูกเปลี่ยน” มาเอื้อให้ EdTech ได้ลืมตาอ้าปาก… มาดูด้วยกันเลยว่ามีโมเดลอะไรน่าสนใจบ้าง

Freemium For Teachers หรือระบบใช้ฟรีเมี่ยมเพื่อครู

โดยโมเดลนี้จะสร้างแพลตฟอร์มขึ้น เพื่อรวบรวมสื่อและเครื่องมือส่งเสริมการเรียนการสอนสำหรับครู โดยอนุญาตให้ครูสมัครใช้งานทรัพยากรในระบบได้ฟรีประมาณหนึ่ง และให้จ่ายเงินเพื่อใช้งานทรัพยากรขั้นสูงเพื่อให้ครูนำไปใช้กับลูกศิษย์… ซึ่งทุกคนในวงการ EdTech เชื่อว่า “ครู หรือ Teachers” จะไม่หายไปไหนแม้ตัวโรงเรียน หรือ School จะถูกยุบและถูกทุบไปแค่ไหนก็ตาม

Freemium For Students หรือระบบฟรีเมี่ยมสำหรับนักเรียน

โมเดลนี้ไม่ได้ต่างจากโมเดลฟรีเมี่ยมของครูผู้สอน ต่างกันที่สื่อ เครื่องมือและทรัพยากรการศึกษาในระบบจะมีไว้เพื่อให้นักเรียนใช้ฟรีตามสิทธิ์ประมาณหนึ่ง และต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงทรัพยากรขั้นสูงเพื่อพาตัวเอง หรือเด็กๆ ภายใต้การดูแลที่ต้องเรียนให้ผ่านเกณฑ์การประเมินต่างๆ สามารถขอรับรองผลการเรียนที่มีการประเมินภูมิรู้ ไปใช้ประโยชน์กับอนาคตและอาชีพการงานต่อไป

Freemium For Schools หรือระบบฟรีเมี่ยมสำหรับสถาบันการศึกษา 

โมเดลนี้ก็คือ Freemium For Teachers and Student ผูกกันขายแบบ B2B กับสถาบันการศึกษาพร้อมระบบหลังบ้าน… ซึ่งผมขอข้ามรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง… โดยนิยามของสถาบันการศึกษายุค Economy of Scale คงข้ามรั้วโรงเรียนหรือรั้วสถาบันไหนๆ ออกไปได้ไกลระดับข้ามทวีปเพื่อให้บริการด้านการศึกษาได้ค่อนข้างชัด และการจะเติบโตระดับนั้นได้ ย่อมต้องการทรัพยากรการศึกษามากมายทีเดียว… ที่ต้องย้ำคือ School แม้จะยังไม่เปลี่ยนิยามมากมาย แต่ “บริบท” น่าจะเปลี่ยนเกือบทั้งระบบค่อนข้างชัด

Sell To Other EdTech Companies หรือซื้อขายแลกเปลี่ยนกับธุรกิจ EdTech ด้วยกัน

โมเดลนี้โดยหลักจะเป็น Education Contents Providers หรือ ECP ซึ่งใช้โมเดล B2B2C หรือ Business to Business to Customers โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยน Education Contents ข้ามภาษาหลักๆ ที่มีประชากรจำนวนมากใช้สื่อสารกันอยู่

Enterprise Subscription หรือระบบสมาชิกประจำสำหรับองค์กร 

อีกโมเดลหนึ่งที่รุ่งเรืองเติบโตกันทั่วโลกก็คือระบบ eLearning Platform ที่ขายสมาชิกระดับองค์กร เพื่อใช้แพลตฟอร์มฝึกอบรมพนักงานให้สามารถ Reskills และ Upskills ให้กลับมาเป็นแรงหลักให้องค์กร ซึ่งพัฒนามาจากโปรแกรมฝึกอบรมภายในและสนับสนุนทุนการศึกษาดูงานแต่เดิมนั่นเอง… และถือเป็นอีกหนึ่งโมเดล B2B EdTech ที่ Venture Capital ทั่วโลกมักไม่มีคำถามเรื่องโมเดลธุรกิจ แต่จะซักถามเข้มข้นเรื่องฝีมือกับสายตาหรือวิสัยทัศน์เป็นส่วนใหญ่

Product Driven PD Sales หรือระบบพัฒนาคุณสมบัติทรัพยากรเพิ่มพิเศษ

โมเดลที่มีแพลตฟอร์มและทรัพยากร สำหรับขายสถาบันการศึกษาหรือขายองค์กรส่วนใหญ่… มักจะต้องพ่วงเงื่อนไข PD Sales หรือ Professional Development Sales โดยปรับแต่งระบบให้ Fit Requirement ของลูกค้าสถาบันหรือองค์กร… ซึ่ง EdTech Business Model นี้มีความต้องการมากมายในช่วงโควิดระบาดหนักๆ ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ซึ่งผมเชื่อว่าระบบการศึกษาในภาษาอื่นๆ ที่ผมไม่รู้เรื่องก็คงมีอุปสงค์ไม่ต่างกัน… และท่านที่จะใช้โมเดลนี้ทำธุรกิจ ต้องมี Portfolio และประสบการณ์ขายงาน B2B มาบ้าง ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้จากโมเดลของ Ed Elements ครับ

Direct To Consumer หรือระบบขายตรง

โมเดลนี้ก็ตามชื่อโมเดลเลยคือ หาความรู้ไปขายคนอยากรู้โดยตรง ซึ่งก็คือโมเดล B2C หรือ Business to Customers ที่ยังมีที่มีทางและช่องว่างทางการตลาดให้ทุกไอเดียธุรกิจได้ลองมากมาย… สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของ EdTech B2C ก็คือตัว Contents และ Instructor หรือผู้ถ่ายทอดความรู้ จะอยู่นอกกรอบนิยามวิชาชีพครูแบบที่เรารู้จักในปัจจุบันไปไกล จนผู้ใหญ่บางท่านในวงการการศึกษาบ้านเราบอกว่า… โมเดลนี้เหมือนจะย้อนยุคกลับไปสมัยพระเจ้าตาเป็นฤๅษีผู้มีฤทธิ์ อยากเป็นศิษย์ต้องดั้นด้นเที่ยวค้นหา… อันหมายถึง ใครมีชื่อเสียงด้านไหนอย่างไร ก็สามารถเปิดสำนักขายวิชาความรู้กันโดยตรงแบบไม่ต้องจดจัดตั้งโรงเรียน แจ้งเทศบาล ทำทางหนีไฟและมีห้องน้ำห้องส้วมก่อนจึงจะเปิดป้ายได้

คร่าวๆ พอหอมปากหอมคอกับบทความด้านการศึกษาในธีมปี 2021 ซึ่งย้ายจากวันจันทร์อังคารที่ Reder Fan สาย Self Help และ Business ต่อว่าทักท้วงมาหลายเสียง… ผมก็เลยย้ายประเด็นด้านการศึกษามาคุยวันพฤหัสบดี และลดวันลงเหลือวันเดียว… แถมด้วยธีมปีนี้ที่จะดันไปทาง EdTech สุดซอยเพื่อเอาใจ Startup และครูซูมทุกท่าน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts