Book tablet

Edtech Failures Model… ความล้มเหลวของเทคโนโลยีทางการศึกษา #ReDucation

ผมเป็นกองเชียร์ที่เลือกข้าง EdTech หรือ เทคโนโลยีทางการศึกษามาตั้งแต่สนใจทำ CAI หรือ Computer Assisted Instruction ที่บูมมาพร้อมกับ Windows 95 ซึ่ง Disrupted และเปลี่ยนผ่านยุคเครื่องพิมพ์ดีดไปเป็นยุคคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว ซึ่งอุตสาหกรรมการศึกษาเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต้อนรับคอมพิวเตอร์อย่างมากในเวลานั้น ทั้งเพื่อนำใช้ในทางการบริหารจัดการทางการศึกษา และ คิดใช้ในทางวิชาการ หรือ ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนกันทั่วโลก… โดยมีประเทศร่ำรวยเร่งรีบสร้างห้องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนและเด็กๆ ได้สัมผัส ซึ่งก็มีหลายประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยมากมายแต่รับรู้ถึงความสำคัญของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ต่างทุ่มเทงบประมาณเพื่อให้โรงเรียนและเด็กๆ ได้สัมผัสคอมพิวเตอร์อย่างทั่วถึงโดยเร็วที่สุด… บางประเทศมีการส่งคอมพิวเตอร์แบบ Desktop เป็นชุดไปให้โรงเรียนที่อยู่ไกลจากเสาไฟฟ้าต้นสุดท้ายบนเส้นทางสายนั้นเป็นรอยกิโลเมตรก็มี

ผมเล่าเรื่องนี้ซ้ำอีกครั้งเพราะหลายวันก่อนมีบางท่านทักถามทางไลน์เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยน จนได้คุยกันเรื่องความล้มเหลวของ EdTech ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงนัก และ ข้อมูลหลายอย่างที่มีเป็นภาษาไทยและพูดคุยกันในประเทศไทยที่เกี่ยวกับการศึกษาในระดับใช้เทคโนโลยี ก็มักจะเป็นประเด็นการเมืองมากกว่าจะเป็นเรื่องความก้าวหน้า หรือแย่กว่านั้นก็ถึงขั้นเป็นประเด็นดราม่าเหลื่อมล้ำต่ำต้อย… และวนกันไป

ข้อเท็จจริงในมือผมที่มีมานาน และ มีอยู่มากสำหรับโมเดล EdTech ทั้งในแง่มุมเชิงนโยบายสาธารณะ และ ในแง่มุมของ Startup หรือ Tech Company ทั่วโลกที่ลงมาเล่นเทคโนโลยีทางการศึกษา… เรียนเลยว่าส่วนใหญ่เจ๊งยับ

เอาเฉพาะกรณีของ Kno ซึ่งเป็นสตาร์อัพใน Santa Clara ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนา eLearning Platform โดยมี Osman Rashid เป็น CEO พร้อมเงินลงทุนไม่น้อยจาก Angel Investor รายสำคัญอย่าง Andreessen Horowitz… Intel Capital… Goldman Sachs ด้วยโมเดลให้บริการ Digital Textbook และ Student Platform ซึ่งเป็นโมเดลขาย Tablet พร้อม Education Contents ให้เด็กซึ่งต่อมาก็ล้มเหลวทั่วโลกไม่ต่างกันนั่นเอง… โมเดล Kno ปิดตัวลงในเดือนพฤษจิกายนปี 2013 หลังจากระดมทุนได้มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี Intel ควักเงินซื้อ Kno เพื่อเอาไปรวมกับโครงการ Intel Education 

Kno Tablet ผลิตโดย Intel

ความล้มเหลวของอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่อยากเล่าไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงก็คือ Tutorspree ซึ่งเปิดตัวเป็นแพลตฟอร์มติวเตอร์ออนไลน์ด้วยแนวคิดการเป็น Airbnb for Tutors ซึ่งในทางเทคนิคก็คือแพลตฟอร์มลิสติ้ง หรือ Listing สำหรับติวเตอร์หางานและนักเรียนหาครูสอนพิเศษหรือหาคนช่วยทำการบ้านนั่นเอง… Aaron Harris ก่อตั้ง Tutorspree ขึ้นในปี 2010 และปิดตัวไปในปี 2013 ทั้งๆ ที่ระดมทุนใน Serie A สำเร็จไปแล้ว… 

ปิดท้ายอีกหนึ่งแพลตฟอร์ม EdTech ที่ล้มเหลวไปแล้วอย่าง Community Coders โดยผู้ก่อตั้งเป็นนักศึกษาวัย 20 ปี ผู้กำลังเรียนบริหารธุรกิจจาก Simon Fraser University ในประเทศแคนาดาชื่อ Kaito Cunningham ซึ่งเปิดตัวขึ้นในปี 2018 แต่ไม่สามารถระดมทุนได้เลยแม้แต่ดอลลาร์เดียวทั้งๆ ที่มีนักลงทุนสนใจโมเดลธุรกิจของ Kaito Cunningham ไม่น้อยตลอด 2 ปีที่เปิด MVP Platform เพื่อระดมทุนมาพัฒนา Community Coders ให้เป็นแพลตฟอร์มสอนเขียนโปรแกรมออนไลน์สำหรับ High School Students… ซึ่งความเห็นของ Kaito Cunningham เชื่อว่าเป็นเพราะตนเองไม่มีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจ จนนักลงทุนหลายรายที่สนใจ กังวลเรื่องศักยภาพในการจัดการธุรกิจนั่นเอง

ผมขออนุญาตข้ามข้อมูลวิเคราะห์ปัจจัยสำเร็จล้มเหลวขั้นละเอียดหรือชี้ชัดทั้งหมด เพราะหลายส่วนเป็นข้อมูลในรายงานวิเคราะห์ส่งลูกค้าที่ไว้วางใจผมให้ทำงานครับ

ประเด็นที่จะบอกก็คือ… โมเดล EdTech ที่หวังกำไรจากระบบการศึกษาสำหรับช่วงวัยเยาว์ถึงวัยรุ่นเกือบทั้งหมดล้มเหลวเละเทะ ที่ไม่ชัดเจนว่าล้มเหลวก็ไม่อาจบอกใครได้ว่าประสบความสำเร็จ… ส่วน EdTech ในระดับโมเดลบริการจากรัฐ เท่าที่ผมมีข้อมูลในมือตอนนี้ต่างก็ไม่มีชัดเจนโดดเด่นจากที่ไหนในโลก แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา… ส่วนโมเดล EdTech ที่พอจะพูดได้ว่าประสบความสำเร็จจะเป็นแพลตฟอร์มการศึกษาผู้ใหญ่เพื่อ Reskill / Upskill มากกว่า

ถึงตรงนี้ต้องเรียนแบบนี้ว่า… โดยส่วนตัวแม้จะคลุกคลีกับ EdTech มานานทั้งระดับ Instructional Materials และ Platform แต่ก็ต้องเรียนตามตรงว่า ปัจจัยสำเร็จล้มเหลวของ EdTech เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและทำนายได้ยากมาก และ ไม่มีสูตรสำเร็จให้พูดถึงบอกต่อกันจริงๆ 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts