Assessment

Effective eLearning Assessments Design… ออกข้อสอบออนไลน์อย่างไรให้เข้าท่า #ReDucation

กลไกทางการศึกษาที่เป็นประเด็นถกเถียงมากที่สุดประเด็นหนึ่งก็คือ “การสอบ” ซึ่งไม่ว่าใครพูดถึงการสอบ ต่างก็พูดทำนองว่า “มันเยอะ และ มันทำให้เด็กๆ แย่” เหมือนกันหมด โดยเฉพาะตัวนักเรียนเองพูดเอง แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครทำอะไรได้ดีกว่า “การสอบ” ที่ระบบการศึกษาจำเป็นต้องมี และ สร้างกลไกการเรียน และ การจัดการข้อมูลให้ผู้เรียน เพื่อส่งไปเข้าห้องสอบ และ ผลักผู้เรียนเข้าสู่กลไก “เรียนมาสอบ” ลำดับถัดไป และ อ้างอิงผลการสอบที่ได้เสมอ

การดิ้นรนเพื่อให้ผลการสอบออกมาดีพอที่จะ “มีสิทธิ์เลือกกลไกลำดับถัดไป” ไม่ว่าจะเรียนต่อ หรือ ประกอบอาชีพ… จึงกลายเป็นภาระ และ วาระจำเป็นใหญ่หลวง ซึ่งกลไกการเรียนการสอนตามมาตรฐานสำหรับทุกคน… ไม่เคยดีพอต่อการเข้าสอบ และ ได้ผลสอบกลับมาอย่างที่ต้องการ

โดยส่วนตัวผมสนใจแนวทางการสอบของ ETS หรือ Educational Testing Service ผู้ให้บริการสอบ TOEFL ซึ่งได้รับการยอมรับในผลการสอบอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยไม่ได้มี “เคล็ดลับ หรือ Hidden Gems” ล้ำลึกอะไรให้งวยงงทั้งคนเข้าสอบ… คนออกข้อสอบ และ ระบบข้อสอบ ซึ่งรายละเอียดส่วนใหญ่มีเผยแพร่เป็นเอกสารชุด Test Development: How ETS approaches testing ซึ่งได้เปิดเผยแนวทางการออกแบบข้อสอบคุณภาพสูง สามารถวัดความรู้ความเข้าใจ และ ทักษะจำเป็นได้อย่างแม่นยำ และ เป็นธรรมต่อผู้สอบทุกคนอย่างเท่าเทียมเอาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์

เอกสารในชุด Test Development: How ETS approaches testing จะมีรายละเอียดบนเอกสารย่อยทั้งหมด 4 ชุดคือ 

เนื้อหาภายในเอกสารทั้ง 4 ชิ้นผมขอข้ามไปทั้งหมด เพราะรายละเอียดในเนื้อหาจะเป็นประโยชน์เฉพาะกับนักวิชาการด้านการศึกษา ซึ่งการทำความเข้าใจเนื้อหาภายใน ต้องการความรู้ความเข้าใจหลายมิติในการทำความเข้าใจหลายๆ ประเด็นในเอกสารทั้งหมด… และเชื่อว่านักการศึกษาตัวจริงสามารถเข้าใจ และ ใช้ข้อมูลในเอกสารทั้ง 3-4 ชิ้นนี้ได้แน่นอน ท่านที่ดูแล้วไม่เข้าใจ หรือ ไม่สนใจก็ข้ามได้เลยครับ

ประเด็นเป็นแบบนี้คือ… การเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นการเรียนทางไกลแบบ Interactive ได้เกิดขึ้นและเติบโตไปแล้ว แม้จะถูกบังคับโตจากวิกฤตโควิด จนเห็นสภาพทุลักทุเลของคนส่วนหนึ่งแสดงออกในทำนองหวั่นว่า ระบบการศึกษาอาจจะล่มจมไปกับวิกฤตโควิด ซึ่งก็ไม่มีอะไรต้องตำหนิ เพราะเป็นแง่มุมเชิงความเชื่อและทัศนคติ อันมาจากความเข้าใจ และ พื้นฐานที่แตกต่างกันของแต่ละความคิดเห็น… และ ส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงทัศนคติของคนๆ หนึ่งทั้งสิ้น และ… เด็กๆ ที่เป็นผู้เรียนก็ยังต้อง “สอบ” เพื่อพิสูจน์ตนเองว่ามีความรู้อยู่ในเกณฑ์ที่ “ระบบการศึกษายอมให้ผ่านไปได้”

ประเด็นสำคัญที่ควรสนใจจึงเหลือแต่… เงื่อนไข และ กลไกการสอบที่ยังดำเนินอยู่ และ ปรับเปลี่ยนตามบริบทการเรียนออนไลน์น้อยมาก แถมยังสะเปะสะปะจนไม่สามารถ “สร้างความเชื่อมั่น” ให้ใครๆ มั่นใจอะไรได้ในแทบจะทุกบริบท

คำถามคือ… ระบบการศึกษาควรยึดถือ “การสอบ” อย่างเข้มข้นต่อไป หรือ เดินหน้าไปพิจารณา “การประเมินความรู้” ด้วยแนวทางที่ สามารถวัดความรู้ความเข้าใจได้แม่นยำกว่าเดิม แต่ยืดยุ่นต่อผู้รับการประเมินอย่างเหมาะสม… สามารถใช้ประเมินได้ทั้งความรู้ และ ทักษะ… โดยให้ความเสมอภาคเป็นธรรมกับทุกคนที่ถูกประเมิน หรือ ทุกคนเข้าสอบได้ไม่ต่างกัน แม้บริบทจะแตกต่างกัน

ในฐานะคนทำ eLearning มานานอยากบอกว่า… ในปัจจุบันสามารถใช้แพลตฟอร์ม และ เทคนิคการพัฒนาโปรแกรม มาออกแบบกลไกการสอบ เพื่อการประเมินความรู้และทักษะได้มากมายโดยแทบจะไร้ข้อจำกัด ทั้ง Formative Assessments ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลไกการสอบ หรือ ประเมินความรู้ระหว่างเรียน… และ Summative Assessments ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอด และ เป็นปัญหาคอขวดทางการศึกษาที่หลายฝ่ายเชื่อว่า… สร้างโอกาสให้คนได้เพียงส่วนหนึ่ง แต่ทำลายโอกาสของคนอีกมากอย่างน่าเสียดาย

ที่จริงผมก็ยังไม่มีข้อมูลชี้ชัด และ ข้อสรุปอะไรอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสอบและการประเมินนักหรอก… แต่โดยประสบการณ์ของคนทำ eLearning ในฐานะเทคนิคเชี่ยนมาพอสมควร และ ได้ทำงานกับครูอาจารย์ที่เชื่อมั่น และ ใช้รูปแบบการเรียนการสอนทางไกล รวมทั้งการใช้ eLearning มามาก… ผมเคยเห็นการออกแบบเนื้อหาเพื่อทำ Distance Learning หรือ dLearning และ eLearning ที่เห็นความรู้และทักษะเกิดกับผู้เรียนอย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อ ครูอาจารย์เอา Learning Objectives ที่กำหนดไว้มาออกแบบการประเมิน หรือ การสอบก่อนอย่างรอบคอบ แล้วจึงทำเนื้อหาที่จะต้องสอน ให้มีคำตอบและทักษะความรู้สอดคล้องตรงกันกับแบบประเมิน หรือ ข้อสอบ

ส่วน dLearning และ eLearning ที่ล้มเหลวจะเริ่มต้นที่เนื้อหาเตรียมสอน ซึ่งหลายกรณีเปิดหนังสืออ้างอิงหนึ่งเล่ม และ ไล่ทำสไลด์ไปตามลำดับเนื้อหา ตรงวัตถุประสงค์บ้างหลุดวัตถุประสงค์บ้าง แล้วจบด้วยแบบฝึกหัด และ โยนการประเมินไปทำครั้งเดียวแบบ Summative Assessments… ซึ่งบ่อยครั้งที่คนสอนกับคนทำแบบทดสอบเป็นคนละคนกัน และ ทำข้อสอบโดยไม่มีมาตรฐานอะไรเลยนอกจากทำให้เสร็จๆ หรือ ทำให้มีใช้… จนทำให้ผู้เรียนได้เรียนเรื่องไก่ออกไข่ แต่ต้องสอบจบเรื่องนกกะเรียนผสมพันธ์บ่อยๆ 

ไม่ได้เจตนจะว่ากล่าวใครหรอกครับ… แค่เล่าประสบการณ์ให้ฟัง!

บทความแนะนำเกี่ยวกับการสอบและประเมินความรู้ในบริบท eLearning

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts