Hybrid Learning 2022

Effective Learning Environments Observation Tool… เครื่องมือประเมินสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้จาก กรณีศึกษา AvanceED #ReDucation

แผนจัดการการเรียนรู้ภายใต้บริบททางการเรียนรู้แบบประสม หรือ Hybrid Learning อันเป็นบริบททางการศึกษาที่จำเป็นต้องมีกิจกรรมออนไลน์ และ กิจกรรมออนไซท์ ช่วยบูรณาการให้บริบททางการศึกษาถูกเติมเต็มให้ปรัชญา Pedagogy ที่ยังสำคัญและจำเป็นต่อหนทางการเจริญเติบโตของชิวิตคนๆ หนึ่ง… ได้ถูกเตรียมตั้งแต่เยาว์วัย และ ต่อยอดด้วยปรัชญา Andragogy ที่จะช่วยให้จังหวะชีวิตของคนๆ หนึ่ง… มีองค์ความรู้พร้อมใช้ เพื่อเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปกับสภาพเป็นจริงของโลกที่เป็นปัจจุบัน

บริบททางการศึกษาแบบประสม หรือ Hybrid Education จึงต้องการ “แนวทางการจัดการ” ที่สามารถรับมือกับขอบเขตใหม่ที่บริบททางการศึกษา มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านอินเตอร์เน็ต… ซึ่งคำถามเรื่อง “ประสิทธิผลการเรียนรู้” ที่ยังเป็นข้อถกเถียงหลักที่อ้างถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในหลายๆ บริบทที่ยังไม่มีใครบอกได้ว่า… บริบทไหนเพียงออนไลน์ก็พอ หรือ บริบทไหนต้องออนไซท์จึงจะพอ หรือ แม้แต่บริบทไหนควรยกไปไว้ Lifelong Learning เพื่อลดภาระทั้งผู้เรียนและผู้สอน… รวมทั้งบริบทไหนควรยกเลิกไป เพราะไม่จำเป็นต้องผนวกเข้ามาในกิจกรรมการเรียนการสอนอีก เพียงใช้ทักษะการสืบค้นข้อมูล หรือ Search เอาองค์ความรู้ หรือ ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันมาใช้ก็เหลือเฟือ

ประเด็นก็คือ กระทั่งมาถึงต้นปี 2022 นี้ก็ยังไม่มีใคร หรือ ข้อมูลชุดไหนยืนยันเรื่อง “ประสิทธิผลการเรียนรู้” ที่วิกฤตโควิดจัดสรรการเรียนการสอนแบบ Hybrid Learning ให้แบบเบ็ดเสร็จจนอุตสาหกรรมการศึกษา ต้องคิดกันเรื่อง Hybrid Education อย่างจริงจัง…

ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรโดยผลิตเป็นสื่อทางการศึกษา และ เพื่อจัดการเรียนการสอนและการสอบ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตจนถึงปัจจุบัน ก็ยังคลายความกังวลเรื่อง “ประสิทธิผลการเรียนรู้” ไม่ได้!… และอุตสาหกรรมการศึกษาก็มาถึงเส้นทางบังคับให้ต้อง Hybrid Education โดยแทบจะไม่มีทางเลือกอื่น…

การเดินหน้าหาทางสร้าง “มาตรฐานการศึกษา” แบบ Hybrid Education จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กิจกรรมทางการศึกษาบนบริบทใหม่ โดยเฉพาะบริบทออนไลน์ ที่แม้แต่คนที่คลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลมานาน ก็ยังมีคำถามในขั้นกังวลใจมากมายต่อรายละเอียดการเรียนการสอนออนไลน์ในบริบทต่างๆ 

มาตรฐานการการศึกษาในยุคประเมินโรงเรียน หรือ ประเมินสถาบันอย่างในอดีต ที่บริบททางการศึกษาเป็นแบบออนไซท์ทั้งหมด จึงควรต้องคิดใหม่ในจังหวะที่สถาบันการศึกษา และ ผู้สอนได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ Hybrid Learning โดยจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ทั้งแบบถ่ายทอดสด หรือ Live Broadcast และ แบบสื่อมัลติมีเดียร่วมในกระบวนการเรียนรู้… ซึ่งการสัมนาออนไลน์ของนักการศึกษาชั้นนำหลายเวทีในช่วงหลังๆ มานี้ มักจะมีวาระ eLEOT หรือ Effective Learning Environments Observation Tool ปรากฏให้เห็นเสมอ

งานสัมนา 7th International Conference on e-Learning, e-Education, and Online Training, eLEOT 2021 ในเมืองซินเซียง หรือ Xinxiang ในมณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ช่วงกลางเดือนมิถุนายน ปี 2021 ที่ผ่านมา… ก็ปรากฏหัวข้อ eLEOT ที่ถูกยกความสำคัญเสมอคำว่า e-Learning… e-Education และ Online Training และ ยังใส่เอาไว้ในหัวข้ออย่างชัดเจน

eLEOT หรือ Effective Learning Environments Observation Tool คือ เครื่องมือประเมินบริบทการจัดการเรียนการสอนแนวทางใหม่ ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ โดยทีมตรวจสอบภายนอกจะใช้ eLEOT เป็น Classroom Observation Checklist สำหรับการสังเกตห้องเรียน หรือ สถานที่จัดการเรียนรู้ โดยการสังเกตการณ์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ยืนยันกับกระบวนการตรวจสอบอื่นๆ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการประเมินเชิงตรวจสอบหลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านผลงานที่เกิดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน

รายละเอียดขอเว้นที่จะไม่เจาะลงลึกน๊ะครับ… เพราะเอกสารที่ผมค้นได้หนามาก และ มีหลายส่วนที่อ่านดูคร่าวๆ แล้วคงเอามาใช้กับการศึกษาบ้านเราตรงๆ ได้ยากสักหน่อย… แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แนวคิด eLEOT ควรถูกเสนอให้มีการใช้ประเมินโดยคณะตรวจสอบภายในของสถาบัน และ ควรถูกเสนอให้มีการใช้ออกแบบหลักสูตรที่ตอบตัวชี้วัดตามข้อกำหนดให้ได้มากที่สุด… ดูตัวอย่าง eLEOT ของผู้ตรวจสอบภายนอกชื่อ AdvancED เป็นตัวอย่างได้ครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts