การจัดการเรียนการสอนในผู้ใหญ่ แบบที่เรียกว่า Andragogy หรือ Adult Learner นั้น… กรอบแนวคิดที่ Malcolm S. Knowles พัฒนาขึ้น จะอ้างอิงกลไกทางประสาทวิทยาและจิตวิทยาของผู้ใหญ่ มากกว่าจะอ้างอิงพัฒนาการแบบ Pedagogy หรือการศึกษาแบบผู้สอนนำผู้เรียน ที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย จนบทบาทของผู้สอน มีเพียงภาพครูอาจารย์ที่เป็นเหมือน “แม่พิมพ์ และ ต้นแบบ” ให้ผู้เรียน…
ในขณะที่การศึกษาผู้ใหญ่… บทบาทของผู้สอน มักจะมีหลากหลายมากกว่าแค่การเป็น ครูอาจารย์และแม่พิมพ์ ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องต้นแบบบุคคล จนผลักดันให้บทบาทผู้สอน ถูกวางไว้ในฐานะผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาบทเรียน ที่ผู้เรียนต้องการศึกษาเรียนรู้มากกว่า… และทำให้ผู้เรียนยอมรับ “แนวทางการส่งมอบความรู้อย่างยืดยุ่นได้ไม่จำกัด”
การมาถึงของยุคคอมพิวเตอร์และยุคข้อมูลข่าวสาร… จึงเป็นเรื่องดีสุดๆ ของ Adult Learner หรือ Andragogy ที่ผู้สอนสามารถ “แปลงความรู้เป็นสาร ส่งผ่านโครงข่ายและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง” ได้อย่างราบรื่น… Computer Based Instruction หรือ CBI หรือ การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน จึงกลายเป็นแนวทางการเรียนการสอนที่โดดเด่น สำคัญและจำเป็นยิ่งยวดมากขึ้นทุกวัน ท่ามกลางพัฒนาการทางการศึกษาโดยรวมที่เรียกว่า eLearning… ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนระบบการศึกษาของมนุษยชาติไปตลอดกาลถึงขั้น… เมื่อพูดถึง Learning จะหมายถึง eLearning ทีเดียว
ท่านกำลังอ่านบทความชุด… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเผยแพร่เป็นชุดความรู้แบบหลายตอน อ้างอิงหนังสือชื่อ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ… และตอนนี้เป็นประเด็น แนวทางการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ในแนวทางที่ 6 จาก 6 แนวทางหลัก… หรือแนวทางสุดท้ายแล้ว ตอนนี้เป็นตอนที่ว่าด้วย Effective Technology-Based Adult Learning… และเป็นตอนต่อจาก Personal Adult Learning Style Inventory ครับ
หัวข้อเรื่อง Effective Technology-Based Adult Learning นั้น… ในหนังสือชื่อ The Adult Learner ตอนที่ 4 บทที่ 18 นั้น… Malcolm S. Knowles และคณะ ยังใช้คำอย่าง Computer Based Instruction หรือ CBI เป็นคำกลางอ้างถึงการศึกษาที่ “ส่งมอบองค์ความรู้ผ่านสื่อกลาง” ที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่… ซึ่งคณะผู้ประพันธ์หนังสือคงทราบดีว่า… เทคโนโลยีการศึกษาหลังจากหนังสือถูกพิมพ์เผยแพร่ออกไป เนื้อหาในหนังสือคงล้าหลังเกินกว่าที่หนังสื่อจะกล่าวและรวบรวมแนวทางให้ถูกต้องไว้ได้… หนังสือบทนี้จึงเขียนถึง Theory of Computer-Based Instruction หรือ ทฤษฎีการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน เอาไว้ให้นักการศึกษาอ้างอิงแทนรูปแบบที่ชัดเจน ถึงขั้นมีตัวอย่างเครื่องมือเตรียมไว้ให้
ผมคิดอยู่นานว่าบทนี้ควรจะตีความหนังสือ หรือ เรียบเรียงขึ้นอ้างอิงทฤษฎีให้สอดคล้องกับเนื้อหาในหนังสือให้ได้มากที่สุด… ซึ่งเรียนไว้ตรงนี้ว่า โดยส่วนตัวไม่อาจจะเลือกหนทางแรกได้เนื่องจากประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับ Technology Based Education นั้น… หลายท่านที่รู้จักผมเป็นการส่วนตัวก็จะทราบว่า ผมคลุกคลีกับ eLearning มานานตั้งแต่ปลายยุค 90 ซึ่งข้อมูลในมือผมจะ Update กว่าต้นฉบับในหนังสือมาก
แต่การเรียบเรียงบทความลวกๆ ขึ้นใหม่ โดยใช้ตำราและครูอย่าง Malcolm S. Knowles หนุนหลัง… ก็ไม่ใช่โอกาสที่จะเขียนบรรยายให้รอบคอบครบถ้วนได้ง่ายๆ จากการเขียนบทความรายวัน… ซึ่งผมคงหมดนับถือตัวเองเช่นกัน ถ้าเผลอคิดทำอวดรู้โดยไม่รอบคอบและเลื่อนลอย ทั้งจากข้อมูลที่มีมากและลึก รวมทั้งหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องซ้ำอีกครั้ง
เอาเป็นว่า… ผมจะใช้การถอดความจากหนังสือThe Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ ในเนื้อหาบทที่ 18 ส่วนของ Theory of Computer-Based Instruction และ CBI Theory ทั้งหมดก่อน… และต่อด้วยบทความเกี่ยวกับ Technology Based Instruction แบบของ Reder เพื่อ Update แบ่งปันทุกท่านแยกต่างหากไปเลย… เพื่อให้เป็นทัศนะและความเห็นเฉพาะตนที่ผมยินดียืดอกรับคำติติงโดยไม่แปดเปื้อนครูอาจารย์