eLearning Methods

eLearning Methods… วิธีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

การยกระดับโดเมนการเรียนรู้ ไปสู่ Platform ที่สำคัญอย่าง eLearning ที่กำลังกลายเป็นความเร่งด่วนระดับนานาชาติที่ทุกคนเห็นแล้วว่า… การเดินทางมาชุมนุมกัน ไม่น่าจะใช่ทางออกที่เหมาะสม หากวันหนึ่งจำเป็นจะต้องเว้นระยะห่าง ซึ่งสุดท้ายแล้ว… แวดวงการศึกษารวมทั้งองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ต่างหันมาหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ eLearning กันแล้วทั้งสิ้น

eLearning ไม่ได้เพียงแต่สำคัญอย่างมากในอุตสากรรมการศึกษา ที่เราต้องฝึกและพัฒนาพื้นฐานของคนเท่านั้น… แต่ในภาคธุรกิจเองก็กำลังหาทางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบที่ตัวเองต้องการ ที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่บางแห่ง ถึงขนาดสร้างมหาวิทยาลัยเพื่อรับนักเรียนนักศึกษา เข้าเรียนสายอาชีพที่พร้อมใช้สำหรับธุรกิจของตัวเองและคู่แข่งด้วยซ้ำ… กรณีของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในเครือซีพีออลล์ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า… การศึกษาในอนาคต จะมีมิติของการดำเนินการที่ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่สถาบันการศึกษาทั้งหมด… เพราะสุดท้ายแล้วคำตอบคือ เราจะพัฒนาคนไปใช้ทำอะไรที่ไหนมากกว่า

ประเด็นก็คือ… การเรียนรู้จะยืดยุ่นมากขึ้นมาก ทั้งเวลา โอกาส สถานที่และบริบท ที่โครงสร้างการจัดการเรียนรู้ผ่านโรงเรียน วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยแบบเดิมจะหมดความสำคัญลง และถูกแทนที่ด้วยหลักสูตรการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มที่อยู่ในรูป Synchronous and Asynchronous eLearning ที่ผมเคยทำรายละเอียดไว้ในบทความชื่อ Synchronous / Asynchronous eLearning และอยากแนะนำให้ท่านกลับไปอ่านก่อนหากยังไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อน

เพราะบทความตอนนี้จะพูดถึงส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในโครงสร้างการออกแบบการเรียนรู้ด้วย eLearning โดยเอาผู้เรียนตามเป้าหมายเป็นศูนย์กลาง อ้างอิงปิรามิดการเรียนรู้ของ National Training Laboratories Institute for Applied Behavioral Science หรือ NTL Institute… ซึ่งได้แบ่งชั้นของปิรามิดเอาไว้ให้ปลายยอด 4 ชั้นด้านบน เป็นพฤติกรรมการเรียนการสอนแบบ Passive Learning ได้แก่ Lecture, Reading, Audio/Visual and Demonstration ในขณะที่สามชั้นที่เป็นรากฐานของปิรามิด ได้แก่ Discussion Group, Practice by Doing และ Teaching Others เรียกว่า Participatory Learning methods หรือ Active Learning Methods ที่มีความสำคัญมากถึงขั้นจำเป็นและกลายเป็นฐานของปิรามิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์

The Learning Pyramid

แต่ทั้งหมดของวิธีการออกแบบการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ eLearning Methods Design… ต้องการการออกแบบเนื้อหาในบทเรียนครอบคลุมเนื้อหา หรือ Contents ที่มีอยู่ราวๆ 4 รูปแบบหลักที่สำคัญได้แก่ 

1. Learner Centred Content หรือ เนื้อหาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

โดยออกแบบให้มีความเกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงกับความต้องการของผู้เรียน บทบาทและความรับผิดชอบในชีวิตจริง… ซึ่งการออกแบบเนื้อหาทักษะ ความรู้และสื่อการเรียนรู้ ทุกประเภท ยังต้องคำนึงถึงจุดสิ้นสุดของการเรียนที่ผู้เรียนต้องเข้าใจและรับรู้ว่า… การเรียนรู้ตามเนื้อหานี้จะจบเมื่อไหร่และจบแล้วให้ประโยชน์อะไรกับผู้เรียน

2. Engaging Content หรือ เนื้อหาส่งเสริมการมีส่วนร่วม

การออกแบบการมีส่วนร่วมผ่านหลักสูตรออนไลน์ ต้องการวิธีการและเทคนิคที่สร้างสรรค์ ผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก เพื่อพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและสร้างแรงบันดาลใจ… ซึ่งหลายครั้ง การโน้มน้าวให้มีส่วนร่วม เป็นกุญแจสำคัญบนหลักการเดียวกันกับการโน้มน้าวให้ผู้เรียน Teach Others/Immediate Use ซึ่งเป็นฐานล่างสุดของปิรามิด

3. Interactive content หรือ มีเนื้อหาแบบโต้ตอบกับผู้เรียน

เนื้อหาที่ออกแบบเพื่อให้มีการโต้ตอบนี้ เป็นทั้ง Method หรือวิธีการเพื่อทดสอบ Student Engagement และ Feedback ที่จะนำมาปรับปรุงทั้งหลักสูตร เนื้อหาและบทเรียน เพื่อให้สามารถปรับแต่งหลักสูตร eLearning ให้ได้ทั้ง Learner Centred, Learner Engagement และ Personalization

4. Personalization หรือ มีเนื้อหาบทเรียนเฉพาะบุคคล

การทำหลักสูตร เนื้อหาและบทเรียนที่เรียนรู้เหมาะสมอย่างพอดีกับผู้เรียนระดับบุคคล ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในการออกแบบเนื้อหาภายใต้หลักสูตรที่ยืดยุ่นให้เข้ากับความหลากหลายของผู้เรียน ที่ต้องทำลายการออกแบบหลักสูตร เนื้อหาและบทเรียนด้วยแนวคิดตัดเสื้อโหล หรือ One Size Fit Alls ที่ขาดรายละเอียดที่ควรใส่ใจความหลากหลาย

ซึ่งรูปแบบเนื้อหาทั้ง 4 รูปแบบ สามารถนำมาใช้เป็น Learning Resources หรือทรัพยากรทางการศึกษา ทั้งเพื่อจัดการเรียนการสอนแบบ Synchronous / Asynchronous eLearning โดยจะมี Methods หรือพิธีการ หรือวิธีการใช้พอสังเขปดังนี้คือ

  • Self-study หรือ การเผยแพร่ให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเอง
  • Audio/Video หรือการดัดแปลงบทเรียนให้เป็นเนื้อหาแบบสื่อเสียงหรือวิดีโอ
  • CBTs and WBTs หรือ Computer Based Training and Web Based Training หรือการฝึกอบรมและเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
  • Blended eLearning และ Instructor Led Training หรือการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบผสมผสานทั้ง Synchronous/Asychronous รวมทั้งการเรียนออนไลน์ภายใต้การแนะนำของผู้สอนด้วย
  • Mobile Learning หรือการเรียนออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งโทรศัพท์มือถือและแท๊ปเล็ต
  • Social Learning หรือการเรียนรู้ผ่านโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะสังคมและสื่อสังคมออนไลน์
  • Simulation หรือการเรียนรู้ผ่านสื่อและเทคโนโลยีการจำลองทั้ง วิดีโอจำลองจนถึง AR/VR/MR
  • Game Based Learning หรือการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์เกมส์

การเลือกวิธีการเพื่อสอนผ่าน eLearning ที่เหมาะสมทางใดทางหนึ่งหรือทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ความต้องการที่เหมาะสมขององค์กรและผู้เรียน รวมทั้งวิธีการสื่อสาร ประสานงานและทำงานร่วมกันระหว่างหลักสูตรกับผู้เรียน… โดยยึดประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

อ้างอิง

https://elearningindustry.com/choosing-right-elearning-methods-factors-elements
https://en.wikipedia.org/wiki/Instructor-led_training
https://en.wikipedia.org/wiki/Learning_pyramid

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts