กรมการค้าต่างประเทศ โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ คุณพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ ได้เปิดถึงความพร้อมของกรม เกี่ยวกับ “ระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP และ ระบบการตรวจสอบคุณสมบัติด้านถิ่นกำเนิดของสินค้า หรือ ROVERs… รวมทั้งระบบการขึ้นทะเบียนผู้ส่งออกที่ได้รับอนุญาต หรือ Self-Certification” เพื่อใช้ประโยชน์ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership Agreement… โดยกรมการค้าต่างประเทศได้นำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาระบบ ซึ่งเป็นการยกระดับการให้บริการให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และ ได้เริ่มเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมานี่เอง
ระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP จะใช้เทคโนโลยีการนำ “ลายมือชื่อและตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ และ ผู้ประกอบการ หรือ Electronic Signature and Seal หรือ ESS” มาพิมพ์ลงบน Form RCEP แทนการลงลายมือชื่อและประทับตราด้วยมือ… ช่วยให้สามารถลดระยะเวลารับบริการเหลือเพียงไม่เกิน 10 นาทีต่อฉบับ และ ยังใช้รูปแบบการพิมพ์ Form RCEP ลงบนกระดาษ A4 รูปแบบพิเศษ ที่สามารถป้องกันการปลอมแปลง และ มีการเพิ่ม QR Code เพื่อยืนยันความถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดการตรวจสอบย้อนกลับจากศุลกากรปลายทาง ทำให้มั่นใจได้ว่า Form RCEP ดังกล่าวที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศมีข้อมูลถูกต้อง ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยและช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ Form RCEP จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย เนื่องจากตลาด RCEP มีขนาดใหญ่และมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก ซึ่งจะช่วยผลักดันการส่งออกของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และ ยังได้ประโยชน์ในด้านการนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบจากประเทศสมาชิกในกลุ่ม RCEP เพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้าไทย โดยใช้กฎการสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าและส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในกลุ่ม RCEP เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ณ ประเทศปลายทาง โดยผู้ประกอบการไทยสามารถเลือกใช้วัตถุดิบที่มีความหลากหลาย และ สามารถนำมาสะสมถิ่นกำเนิดสินค้าได้จากทุกประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม RCEP ซึ่งจะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตและสร้างแต้มต่อให้แก่ในตลาดต่างประเทศ
ส่วนตัวเลขมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP ในช่วง 11 เดือน… ระหว่างเดือนมกราคาม ถึง เดือนพฤศจิกายนของปี พ.ศ. 2564 มีมูลค่า 2.97 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 9.38 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้น 24.97% และ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60.7% ของมูลค่าการค้าของไทยทั้งหมด
ผู้ประกอบการที่มีสินค้า และ วางแผนเพื่อการส่งออกเอาไว้… อย่าพลาดการขึ้นทะเบียนเอาไว้แต่เนิ่นๆ เพราะ… ก่อนการใช้งานระบบ ESS ผู้ประกอบการต้องจดทะเบียนการใช้งานกับกรมการค้าต่างประเทศ โดยสามารถศึกษาขั้นตอนการจดทะเบียนที่นี่
ส่วนผู้ประกอบการที่เคยจดทะเบียนเพื่อใช้งานกับฟอร์ม 10 ประเภทแล้ว… Form JTEPA… Form FTA (Thai-Australia)… Form AANZ… Form AJ… Form AK… Form AHK… Form D… Form C/O ทั่วไป… Form TC และ Form E… ไม่ต้องดำเนินการใหม่
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02–547–4829, 02–547–4830, 02–547–4838, 02–547–4827 และ สายด่วน 1385
ส่วนท่านที่สนใจรายละเอียด รวมทั้งศึกษาเอกสารเพิ่มเติม… ผมเตรียมลิงค์ที่เกี่ยวข้องไว้ให้แล้วครับ
- รายการสินค้าที่อยู่ใน Appendix ของประเทศสมาชิก RCEP ที่มีการเปิดตลาดแตกต่างกัน (Tariff Differential: TD)
- ข้อบทว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) และระเบียบปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Operational Certification Procedure: OCP)
- กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า แบบ Product Specific Rule (PSR)
- แนวปฏิบัติการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form RCEP (ดาวน์โหลด)
- ตัวอย่างและคำอธิบายรายละเอียดช่องต่างๆ ของหนังสือรับรองฯ Form RCEP (ดาวน์โหลด)
- Flowchart แนวทางการพิจารณา RCEP Country of Origins (ดาวน์โหลด)
- แบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) สินค้าพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 01-24 (ดาวน์โหลด)
- หนังสือแจ้งความประสงค์การระบุชื่อประเทศภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) (ดาวน์โหลด)
References…