ในธุรกิจ และ องค์กรที่เห็นคุณค่าของพนักงานผู้ได้ทำหน้าที่เป็น “ทรัพยากรบุคคล” ที่ช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายสำคัญอย่างแท้จริงนั้น… วัฒนธรรมองค์กรของที่ทำงานแบบนั้นก็มักจะมีหลายเงื่อนไขที่ “จูงใจ” เหล่าพนักงานให้ “พึงพอใจ” ที่จะอยู่ทำงานอย่างเต็มความสามารถ… ซึ่งความพึงพอใจของพนักงาน หรือ Employee Satisfaction นี่เองที่ทำให้เหล่าพนักงานสามารถทำงานอยู่ร่วมกับองค์กรได้อย่างมีความสุข และ ยังทุ่มเททำงานให้องค์กรจนบรรลุเป้าหมายระดับสูงอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถวัดผลและปรียบเทียบได้ค่อนข้างชัดเจน
ความพึงพอใจของพนักงาน หรือ Employee Satisfaction ถือเป็นความรับผิดชอบสำคัญของผู้นำ และ คณะผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายเพื่อสร้าง “ความพึงพอใจระดับบุคคล” ให้กับพนักงาน และ บุคคลากรทั้งหมดให้ได้มากที่สุด… รวมทั้งการสร้าง “ความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน หรือ Working Satisfaction” อันเป็นความภาคภูมิอย่างสุขใจกับหน้าที่ และ ความรับผิดชอบ
เอกสารอ้างอิงด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลในแง่มุมของการจัดการความสุขในองค์กรส่วนใหญ่ได้พูดถึงแนวทางการสร้างความสุข และหรือ ความพึงพอใจมักจะประกอบไปด้วย…
- ความพึงพอใจต่อคนอื่นๆ ในองค์กร… ทั้งที่มีต่อเพื่อนร่วมงาน… ผู้บังคับบัญชา… ผู้ใต้บังคับบัญชา และ ผู้บริหาร
- ความพึงพอใจในงาน และ ความรับผิดชอบ… โดยเฉพาะ “การได้โอกาส” ทำงานที่รัก และ ทำผลงานได้ดี มีเพื่อนร่วมทีมดี รวมทั้งการได้รับความช่วยเหลือจากทีมในการก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคในงานภายใต้ความสำเร็จร่วมกัน
- ความพึงพอใจต่อโอกาสก้าวหน้า… ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้ “กลายเป็นคนสำคัญ”
- ความพึงพอใจต่อค่าจ้าง โบนัส และ สวัสดิการ… ซึ่งเป็นรากฐานของ “คุณภาพชีวิต” ของเหล่าพนักงาน
- ความพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน… โดยเฉพาะ “รูปแบบงาน” ที่มาพร้อมสภาพแวดล้อมที่สร้างความพึงพอใจได้อย่างดี ซึ่งเป็น “สภาพ และ สิ่งแวดล้อม” ทุกรูปแบบ ซึ่งได้ดึงดูดพนักงานให้ยินดีอยู่แบบนั้นกับงานนั้นได้ไม่รู้เบื่อหน่าย และ ยินดีจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อจะได้ทำงานนั้นในสภาพแวดล้อมแบบนั้น
ในทางปฏิบัติ… ความพึงพอใจของพนักงาน หรือ Employee Satisfaction เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะจัดการให้ลงตัว เช่น บริษัทแห่งหนึ่งจัดอาหารกลางวันฟรีให้พนักงานหนึ่งมื้อ แต่พนักงานส่วนหนึ่งก็ไม่ยอมกินจนเหลือทิ้ง แต่ถ้าเตรียมอาหารไว้น้อยกว่าจำนวนคนก็เกิดการต่อว่าด่าทอเพราะ “ไม่พอใจ” เช่นกัน… การหาทางจัดการความพึงพอใจของพนักงานจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และ ไม่เคยมีสูตรสำเร็จให้หยิบใช้ได้ง่าย… ซึ่งก็ต้องระมัดระวัง และ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรให้ดีที่สุด โดยควรพิจรณาใช้ทั้ง “ความพึงพอใจ และ ความไม่พอใจ” ของเหล่าพนักงานให้เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมาย และ ผลงานให้ออกมาดีที่สุดให้ได้ก่อนอื่น
References…