Energy Diversification… แนวคิดบูรณาการด้านพลังงานเพื่อความยั่งยืน #SustainableTomorrow

คำว่า “ความยั่งยืน หรือ Sustainable” ถือเป็นคำใหญ่ที่ฟังดูดีเสมอเมื่อมีใครพูดถึง หรือ ระบุไว้ในเป้าหมายที่เอามาเล่าแบ่งปันผู้อื่น… แต่คำว่ายั่งยืนในทางเทคนิคอันมีรายละเอียดเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานเข้ากับผู้คน พร้อมตัวแปรกำไร–ขาดทุน และ ใครได้อะไร–ใครเสียอะไรประกอบเข้ากันจนเป็นภาพเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นกว่าคำๆ เดียวที่เป็นเพียงคีย์เวิร์ดคำเดียว… บ่อยครั้งจึงได้เห็นคำว่า “ความยั่งยืน” กลายเป็นเพียงสำนวนว่างเปล่าของผู้กล่าวอ้าง โดยจับต้องอะไรไม่ได้เลยจนน่าขันก็มี

ประเด็นความยั่งยืนที่ฟังดูดีเสมอเมื่อมีใครพูดถึง หรือ ที่ใครหลายๆ คนระบุไว้ในวิสัยทัศน์กับเป้าหมาย ซึ่งต้องมาดูสาระของประเด็นว่าเป็นความยั่งยืนว่าด้วยเรื่องอะไรอีกทีว่า… มันสำคัญกับคนส่วนใหญ่ขนาดไหน?

ตัวอย่างประเด็นความยั่งยืนด้านพลังงาน ซึ่งมีความซับซ้อนในระบบนิเวศของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ที่เผ่าพันธ์มนุษย์รู้จักการใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และ ใช้ไฟเป็นพลังงาน ซึ่งฟืนและไฟยังคงมีใช้เป็นพลังงานในเตาผิง และ เตาปรุงอาหารอยู่จนถึงปัจจุบันไม่ต่างกันทั่วโลก ถึงแม้มนุษย์จะรู้จักไฟที่ได้จากเชื้อเพลิงชนิดอื่นมากมาย… แต่เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ก็มีต้นทุนและโครงสร้างราคาที่ผู้บริโภคพลังงานต้องจ่ายติดมาด้วยเสมอ และ เมื่อพูดถึงความยั่งยืนด้านพลังงาน หรือก็คือความยั่งยืนของเชื้อเพลิงให้พลังงาน… ความซับซ้อนอย่างสำคัญของประเด็นที่มา–ที่ไป และ ความจำเป็นที่ต้องมีไว้–ใช้ไป… จึงไม่ง่ายที่ใครจะพูดถึงคำว่ายั่งยืนในประเด็นพลังงานโดยไม่ใส่รายละเอียดแล้วจะฟังดูว่ายั่งยืนจริง

เพราะเชื้อเพลิงพลังงานทั้งไม่ว่าจะได้จากฟืน หรือ นิวเคลียร์ หรือ แม้แต่ดวงอาทิตย์ หรือ เชื้อเพลิงกับแหล่งพลังงานในอนาคตที่เรายังไม่รู้จักอีกมาก… ล้วนมีธรรมชาติเป็นข้อดี–ข้อเสียของแหล่งพลังงานและเชื้อเพลิงพลังงานแต่ละชนิดแตกต่างกันอยู่… แนวคิดในประเด็น “ความยั่งยืนด้านพลังงาน” จึงต้องพิจารณาสาระเชิงบูรณาการเป็นระบบมากกว่าจะพยายามอธิบายถึงความยั่งยืนของแหล่งพลังงาน หรือ เชื้อเพลิงพลังงานแบบพนักงานขายแผงโซล่าเซลล์ที่ตัดตอนพูดแต่เรื่องแดดกับไฟฟ้า หารออกมาเป็นกำไรขาดทุน และ ยืนยันว่าไม่มีควันระหว่างจ่ายไฟฟ้าเท่านั้น

ประเด็นก็คือ… ปัญหาพลังงานที่ซับซ้อนอยู่กับวิถีชีวิตของทุกคนควรถูกพูดถึงและจัดการผ่านแนวคิดที่ยั่งยืนจริงๆ ได้แล้ว โดยเฉพาะแนวคิด Energy Mix หรือ Energy Diversification หรือ แนวคิดบูรณาการเชื้อเพลิงพลังงาน ที่โลกนี้ควรมี “คำอธิบายที่ถูกต้อง” สำหรับความเชื่อเรื่องพลังงานที่ยั่งยืน ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อที่พูดถึงโซล่าฟาร์มแปลงเดียวก็โฆษณาเรื่องความยั่งยืนเอาหน้ากันเป็นตุเป็นตะ… ในขณะที่ทุกคนต้องบริโภคพลังงานที่หมดไปเรื่อยๆ ตลอดเวลายิ่งกว่าการกินอาหารที่ยังกินกันเป็นมื้อเป็นคราวได้

ความจริง… ทุกประเทศบนโลกใบนี้ล้วนต้องออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานแบบบูรณาการ หรือ แบบผสม หรือ Energy Mix กันอยู่แล้ว เพียงแต่สัดส่วนของ “แหล่งพลังงานหลัก หรือ แหล่งพลังงานปฐมภูมิ หรือ Primary Energy Sources” ถูกผลิตและแจกจ่ายอย่างไร ในขณะที่ “แหล่งพลังงานเสริม หรือ แหล่งพลังงานทุติยภูมิ หรือ Secondary Energy Resources” ถูกออกแบบรวมเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไว้อย่างไร?… ยั่งยืนจริงหรือไม่?… และ มั่นคงพึ่งพาได้ทุกสถานการณ์หรือไม่?…

ประเด็นที่จะบอกก็คือ… กรณีความยั่งยืนที่พูดๆ กัน โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านพลังงานซึ่งเป็นห่วงโซ่ใหญ่ในระบบนิเวศความยั่งยืน ในขณะที่โลกใบนี้ร้อนขึ้นจนเห็นแนวโน้มความยั่งยืนถูกบ่อนทำลายจากหลายๆ สาเหตุ รวมทั้งสาเหตุจากการใช้เชื้อเพลิงพลังงานที่ควรต้องจริงจังเรื่อง Energy Diversification เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนให้ได้มากกว่าเดิมอย่างเร่งด่วน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts