งานเตรียมสอน หรืองานระดับการออกแบบกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน… ย้ำว่าเป็นการถ่ายทอด “ระหว่างผู้สอน กับ ผู้เรียน” ที่เป็นการแลกเปลี่ยนสองทาง บนทรัพยากรการเรียนรู้ที่สะสมตระเตรียม และวางโครงสร้างเอาไว้ตามกรอบแนวคิด VESPA Mindset ไว้แล้วนั้น… ขั้นต่อไปคือการคำนึงถึง “ผู้เรียน” ว่าจะสนใจใฝ่รู้ในวิชาความรู้ที่ตระเตรียมไปสอนนี้แค่ไหน ซึ่งความสนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน เป็นเรื่องสำคัญที่ครูอาจารย์ทุกคนเข้าใจดีว่า… เป็นเพียง “ความหวัง” ที่จะได้เห็นผู้เรียนจดจ่อสนใจใฝ่รู้ในสิ่งที่ครูอาจารย์ตระเตรียมมาเพื่อส่งมอบ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้สมหวังดั่งใจเสียมากกว่า
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… ความสนใจใฝ่รู้ในบทเรียนที่ครูอาจารย์ตระเตรียมไปนั้น ขึ้นอยู่กับ “ความร่วมมือของผู้เรียนบนแกนหลักเรื่อง ความเข้าใจ หรือ Understanding… กับแกนหลักเรื่อง Enjoying หรือ ความสุขหรือความสนุกสนาน หรือความพึงพอใจอย่างเพลิดเพลินในการเรียนรู้
กรณีความสำเร็จของ Ron Clark หรือ Teacher Ron แห่ง The Ron Clark Academy ที่หาทางผูกความสนใจใฝ่รู้ของนักเรียน โดยผูก Understanding ไว้กับ Enjoying จนกลายเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่ประสบความสำเร็จอย่างมากแนวทางหนึ่ง และนักเรียนของ Teacher Ron ล้วนผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยมในทุกตัวชี้วัด แถมมีความสุขในการไปโรงเรียนและได้เรียนอย่างมาก
เมื่อพิจารณาตัวแปรอย่าง Understanding กับ Enjoying แล้วนำมาสร้างแกนความสัมพันธ์ของทั้งสองตัวแปรขึ้น เราจะได้ Enjoy–Understanding Metrix ดังรูป
การใช้ Enjoy–Understanding Metrix จะพิจารณา Task หรือ ภาระงานที่ต้องทำในกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายการ อยู่ในโซนไหนของ Enjoy–Understanding Grid ซึ่งจะทำให้เห็นสถานะของหัวข้อ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จะเข้าสู่การเรียนการสอนว่า… จะตรึงผู้เรียนเอาไว้ที่กริดด้านไหน?
แน่นอนว่า “หัวข้อ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชาที่ตกอยู่ในพื้นที่ระหว่าง Not Enjoying กับ Not Understanding หรือพื้นที่โซนสีเหลืองมุมล่างซ้ายลึกเท่าไหร่ ก็ยิ่งจำเป็นจะต้องใส่ใจโดยการหาทางข้าม หรือละเว้นหลีกเลี่ยงกิจกรรมการเรียนการสอนที่ “ไม่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจแถมไม่สนุกอีกต่างหาก” ทั้งหมด และหากิจกรรมที่ “เข้าใจง่ายและสนุก” มาทดแทนชดเชยเสีย
แต่ถ้ามี Task บางรายการที่ต้องดำเนินไปทั้งที่ผู้เรียนเบื่อหน่ายงุนงง… เหมือนที่หลักสูตรมากมายที่ออกแบบมาเพื่อบังคับให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเบื่อหน่ายงุนงงว่าทำไม่ต้องเรียนเรื่องนั้นๆ แบบนั้น… คำแนะนำจากหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin แนะนำให้จัดลำดับความสำคัญ… โดยเอา Task หรือ หัวข้อเนื้อหาวิชาเรียนที่ “ทั้งน่าเบื่อหน่ายและงุนงง” ไปจัดการเป็นรายกรณีไป
บทความตอนนี้ผมถอดเนื้อหาอ้างอิงหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin บทที่ 3 หัวข้อ Systems Activity: The Bottom Left ครับ… เนื้อหาส่วนใหญ่ผมเรียบเรียงขึ้นใหม่อิงประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งเนื้อหาในบทความชุดนี้ไม่ได้แปลหรือถอดความจากหนังสือมากนัก ซึ่งผมอธิบายบนบริบททางการเรียนการสอนตามที่ประสบการณ์ตัวเองจะอธิบายออกมาได้… หากผิดพลาดบกพร่อง หรือ เห็นต่างอย่างไร… ถกถามพูดคุยกันได้แลกเปลี่ยนติเตือนได้เช่นเดิมครับ!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset