ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีในชิวิตประจำวันของเรา ที่ต้องข้องแวะเกี่ยวข้องใช้สอยไปจนถึงดื่มกิน ทั้งโดยตรงและทางอ้อมนั้น มีข้อมูลหลายแหล่งระบุว่า มนุษย์เกี่ยวข้องกับสารเคมี ทั้งที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ ราว 60,000–70,000 ชนิด ทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค
การนำสารเคมีมาใช้เพื่อผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค พบได้ทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ครอบคลุมปุ๋ยเคมี สารเร่งการเจริญเติบโต ฮอร์โมน ยาปราบศัตรูพืช เคมีเพื่อการเก็บเกี่ยวและถนอมอาหาร เคมีในผลิตภัณฑ์รักษาโรคและยา รวมทั้งเคมีภัณฑ์ในขบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ทั้งในรูปของปุ๋ยสารปราบศัตรูพืช และสารเร่งการ เจริญเติบโตของพืช และในภาคอุตสาหกรรมทุกสาขานับตั้งแต่ อุตสาหกรรมเคมีพื้นฐาน อุตสาหกรรมเปโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหารและยา และอุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ เป็นต้น
ประเด็นก็คือ… สารเคมีที่ชีวิตประจำวันเราท่านต้องเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยชนิดและปริมาณที่มากบ้างน้อยบ้าง… ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
กรณีของผงซักฟอกที่ใช้ในการซักล้างทำความสะอาด และถูกทิ้งลงท่อระบายน้ำไหลเข้าสู่ระบบนิเวศน์… เป็นตัวอย่างหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อมจากสารเคมี
และข้อเท็จจริงก็คือ สารเคมีทั้งหมดที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ล้วนมีแง่มุมในการทำลายสมดุลบางอย่างหรือหลายอย่าง เมื่อสารเคมีเหล่านั้นสัมผัสและ/หรือสะสม จนส่งผลชัดเจนต่อการอยู่อาศัยและสวัสดิภาพของผู้คน… โดยเฉพาะประเด็นเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บโดยตรงจากสารเคมีอันตราย หรือ Dangerous MateriaIs… ซึ่งสารเคมีในกลุ่มนี้ อาจจะประกอบด้วยสารที่ระเบิดได้ หรือ Explosives… สารที่กัดกร่อนได้ หรือ Corrosives… ของเหลวไวไฟ หรือ Flammable Liquids… สารเป็นพิษ หรือ Toxic Chemicals… สารที่เติมออกซิเจน หรือ Oxidizing MateriaIs และก๊าซอันตราย หรือ Dangerous Gases
อย่างไรก็ตาม… สารเคมีชนิดต่างๆ ทั้งที่จำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบ… ใช้สร้างผลผลิต รวมทั้งที่เป็นของเสียต้องกำจัด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อปัญหาสุขอนามัยและสวัสดิภาพ ที่ปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราอาจจะอยู่ในรูปก๊าซ ไอสาร ฝุ่น ฟูม ควัน ละออง หรืออยู่ในรูปของเหลว… โดย
- Dust หรือ ฝุ่น หมายถึง เคมีที่เป็นอนุภาคของแข็งขนาดเล็ก เกิดขึ้นจากการที่ของแข็งถูกตี บด กระทบ กระแทก ระเบิด หรือทำให้ฟุ้งปลิวในอากาศ และเมื่อพิจารณาตามขนาดของอนุภาคฝุ่นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
- Respirable Dust หรือ ฝุ่นที่สามารถถูกหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ หรือ ฝุ่นที่มีขนาดของอนุภาคเล็กกว่า 10 ไมครอน
- Non-respirable Dust หรือ ฝุ่นที่ไม่สามารถถูหายใจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ หรือ ฝุ่นที่มีอนุภาคโตกว่า 10 ไมครอนขึ้นไป
- Fume หรือ ฟูม หมายถึง อนุภาคที่เป็นของแข็งมีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 1.0 ไมครอน เกิดจากการควบแน่นของไอโลหะ เมื่อโลหะได้รับความร้อนจนหลอมเหลว เช่น ฟูมของตะกั่ว ฟูมของเหล็ก ฟูมของสังกะสี เป็นต้น… การที่ฟูมมีขนาดของอนุภาคเล็กมากนั่นเอง จึงทำให้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้มาก เพราะสามารถเล็ดลอดผ่านระบบป้องกันอันตรายของระบบทางเดินหายใจจนลงไปถึงปอดและทำ อันตรายต่อร่างกายได้ในที่สุด
- Mist หรือ ละออง หมายถึง อนุภาคของเหลวโตกว่า 40 ไมครอนและแขวนลอยในอากาศ เกิดจากของเหลวเมื่อได้รับแรงกดดัน จนเกิดการแตกตัวเป็นอนุภาค เช่น ในการพ่นสารฆ่าแมลง ซึ่งจะใช้ปั๊มหรือกระบอกฉีดทำให้ของเหลวแตกตัวแล้วกลายเป็นละอองเล็กๆ หรือในบางครั้งละอองเล็กๆ นี้อาจเกิดจากการควบแน่นของไอ หรือของก๊าซให้กลายเป็นของเหลวที่เป็นละอองเล็กๆ ก็ได้ เช่น ละอองที่เกิดจากไอของกรดกำมะถัน
- Vapor หรือ ไอสาร เป็นสถานะก๊าซของสารที่เป็นของเหลวหรือของแข็ง ที่อุณหภูมิและความกดดันค่าหนึ่ง เช่น ไอสารของลูกเหม็น เบนซิน เป็นต้น… ไอสารเหล่านี้สามารถจะเปลี่ยนรูปกลับเป็นของ เหลวหรือของแข็งตามสภาวะเดิมได้ โดยการปรับความกดดันและอุณหภูมิ
- Gas หรือ ก๊าซ หมายถึง ของไหล หรือ Fluid ซึ่งไม่มีรูปร่างที่แน่นอนขึ้นกับภาชนะที่ใช้บรรจุ สามารถเปลี่ยนเป็นของเหลวหรือเป็นของแข็งได้ โดยการเปลี่ยนอุณหภูมิและ/หรือเปลี่ยนความกดดัน เช่น ก๊าซหุงต้มตามบ้านเรือนเมื่อบรรจุลงในถังที่มีความกดดันสูงๆ จะกลายเป็นของเหลว เมื่อเราปล่อยออกมาสู่บรรยากาศ ของเหลวในถังก็จะกลายเป็นก๊าซ ตัวอย่างของก๊าซมากมาย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน คลอรีน ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
- Smoke หรือ ควัน หมายถึง อนุภาคเล็กละเอียดที่ลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งไมครอน ส่วนประกอบทางเคมีของควันนั้นค่อนข้างซับซ้อน ปกติควันจะเป็นผลที่เกิดจากการ เผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของวัตถุธาตุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ เช่น ถ่านหิน หรือ นํ้ามัน เป็นต้น
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผลกระทบทางตรงที่คุกคามสุขอนามัยและสวัสดิภาพของคนเรานั้น… มักจะเป็นปัญหาที่มีรายละเอียดทางเทคนิค ที่สามารถอธิบายผ่านโครงสร้างทางเคมีที่เปลี่ยนแปลงและปะปนในสิ่งแวดล้อมเกือบทั้งสิ้น
ศุกร์หน้ามาตามต่อกันว่า… เคมีในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายแบบไหนอย่างไรบ้าง?
#FridaysForFuture ครับ!