Ethical Sourcing… การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม #SustainableFuture

ห่วงโซ่อุปทานของโลกของการค้าการลงทุนในยุคสมัยที่ “คู่ค้า และ ลูกค้า” ต่างก็ถามหาความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และ ความยั่งยืนที่ได้กลายเป็นกระแสหลัก อันเป็นกระแสที่กระทบถึงผลประกอบการของธุรกิจได้ทั้งด้านบวกและด้านลบได้เกินคาดในหลายๆ ความเป็นไปได้ ซึ่งไม่มีที่ว่างสำหรับการเอารัดเอาเปรียบคน สัตว์ และ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการกระทำแบบต่างๆ ในบริบทต่างๆ ที่อาจตีความได้ว่าเป็น “การทำลายสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลที่จะถูกทำลาย” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ… โดยเฉพาะวัตถุดิบในการการผลิตที่โลกการค้ายุคใหม่ถามหา “การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม หรือ Ethical Sourcing” ซึ่งในปัจจุบันได้กดดันให้การจัดซื้อจัดจ้าง และ ห่วงโซ่อุปทานในทุกๆ อุตสาหกรรมและการค้าต้องระมัดระวัง และ ปรับตัวอย่างเร่งด่วน

การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม หรือ Ethical Sourcing จะเป็นการจัดหาสินค้า และ บริการอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสินค้า และ บริการ… ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การใช้แรงงานอย่างถูกต้อง ไม่ละเมิด ไม่ปล่อยให้ทำงานในสภาพแวดที่มีความเสี่ยงต่ออันตราย… ไม่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่มาอันไร้จริยธรรม รวมทั้งการไม่มีพฤติกรรมฉ้อฉล หรือ ผิดกฎหมาย และ ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

ในทางปฏิบัติ… การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม หรือ Ethical Sourcing จะเกี่ยวของกับงานจัดซื้อ หรือ Procurement… หลายท่านจึงอาจจะคุ้นกับคำว่า การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Procurement มากกว่า… เพราะคำว่า Sustainable Procurement ในทางเทคนิคจะเป็นคำใหญ่กว่า Ethical Sourcing ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดซื้อจัดจ้างของภาคการผลิตมากกว่า

ประเด็นก็คือ… ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม หรือ การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน… ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบันจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพื่ออย่างน้อยจะเป็นการรับประกันในเบื้องต้นว่า… ธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ดำเนินอยู่จะไม่สะดุดเพราะห่วงโซ่อุปทานขาเข้า และ ขาออก ได้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และ จริยธรรมทางธุรกิจขึ้นจนห่วงโซ่อุปทานสะดุดลง อันหมายถึงธุรกิจได้สะดุดลงไปด้วยอย่างแน่นอน… กรณีตัวอย่างการผลิตปลาทูน่ากระป๋องจากเรือประมงแรงงานทาสและการค้ามนุษย์ ที่เคยเป็นประเด็นการค้าระหว่างประเทศซึ่งโรงงานผลิตปล่าทูน่ากระป๋องหลายแห่งทั่วโลกเคยถูกห้ามนำเข้าในหลายประเทศ และ ห้ามขาย… ถือเป็นกรณีศึกษาเรื่องจริยธรรมทางการค้า อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการดำเนินธุรกิจภายใต้ความอย่างยั่งยืน… ซึ่งธุรกิจจะยั่งยืนได้ก็ด้วยการประกอบการภายใต้ความยั่งยืนด้วยเท่านั้น

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts