การออกแบบ CBI หรือ Computer Based Instruction เพื่อผลิตทรัพยากรการศึกษาที่ Effectiveness หรือ สร้างผลลัพธ์ต่อวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ตอบเป้าหมายร่วมกันของทั้งผู้เรียนและผู้สอนนั้น… งานออกแบบ CBI จึงสำคัญและผิดพลาดไม่ได้ เพราะ CBI ที่ผลิตขึ้น… จะมีบทบาทสำคัญที่นำมาทดแทนบริบทการเรียนการสอนที่เคยมีครูอาจารย์เป็นศูนย์กลาง
Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton ซึ่งหนังสือ The Adult Learner ใช้เป็นโมเดลหลักในการอธิบายการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ที่มีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นแกนหลักในการพัฒนากลไกการถ่ายทอดความรู้… ซึ่งโมเดล CBI for Adults ของ Holton ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนช่วยเหลือ หรือ Support ในมิติต่างๆ เพื่อให้ได้ CBI ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในบริบทที่พัฒนาอยู่ และยังให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของโครงสร้างในโมเดลเป็นอย่างมาก
ท่านกำลังอ่านบทความชุด… ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเผยแพร่เป็นชุดความรู้แบบหลายตอน อ้างอิงหนังสือชื่อ The Adult Learner: The definitive classic in adult education and human resource development ของ Malcolm S. Knowles และคณะ… และตอนนี้เป็นประเด็น แนวทางการนำใช้ทฤษฎีการศึกษาผู้ใหญ่ ในแนวทางที่ 6 จาก 6 แนวทางหลัก… และยังอยู่กับเนื้อหาในหัวข้อ Effective Technology-Based Adult Learning ที่ทิ้งค้างไว้จากตอน Self-directedness และ Computer Self-efficacy… หลักการออกแบบ Input สำหรับ CBI Design… ที่ตัดจบแบบ “อ้าวเฮ้ย” สำหรับแฟน Reder เจ้าประจำบางท่านที่ติดตามผ่าน LineOA @reder
ในโมเดลสำคัญอย่าง Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton ที่ผมกำลังอธิบายองค์ประกอบอยู่นี้… ผมอยากจะใหัท่าน จำลำดับการผลิต CBI จากคีย์ 3 ส่วนนอกเส้นประด้านบนสุด เรียงจากซ้ายไปขวา… ซึ่งท่านจะพบคำสามคำในโมเดล คือ Input, Process และ Output… ซึ่งถ้าเปรียบเทียบการทำ CBI กับการทำอาหาร… เราจะเห็น Input เป็นเหมือนเครื่องปรุง… ส่วนการปรุง หรือ การเอาเครื่องปรุงมารวมกันให้กลายเป็นอาหาร จะเทียบได้กับ Process… เพื่อให้ได้ Output ที่กินได้พอจะเรียกว่าอาหาร… หรืออาหารอร่อยที่สุด… หรือว่าอาหารอร่อยเกินบรรยายแถมจัดจานมาอย่างปราณีต หรือ ได้อาหารแบบหลับตากินลิ้นก็ไม่กลืน… ก็คงจะอยู่ที่ขั้นการปรุง หรือ Process
ตัวโครงสร้างโมเดล Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton ภายในเส้นประ… ได้ให้ความสำคัญกับ Support โดยวางตำแหน่ง External Support เอาไว้บนสุดของ Process หรือขั้นตอนการดำเนินการ…
นอกจากนั้น ความสัมพันธ์ของทุกส่วนในโมเดล “ทฤษฎีการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ใหญ่ หรือ Conceptual Model of Effective Computer-Based Instruction for Adults ของ Elwood F. Holton” นั้น… จะอธิบายผ่าน “กฎแห่งปฏิสัมพันธ์ 7 ประการ หรือ Seven Laws of Interaction…” ซึ่งกฎแห่งปฏิสัมพันธ์ 7 ประการที่ว่านี้ ผมเคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีอยู่กับ CBI เรียกเล่นๆ ว่าเป็น คนแคระทั้ง 7 ของ Holton ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าหญิง CBI ที่ทำให้ผู้เรียนผู้เป็นเหมือนเจ้าชายนั้น เมื่อเจอแล้วรู้สึกสมหวังดั่งที่ตามหามานานแค่ไหนอย่างไร…
กฎแห่งปฏิสัมพันธ์ 7 ประการ หรือ Seven Laws of Interaction หรือ คนแคระทั้ง 7 ของ Holton ประกอบไปด้วย
1. Self-directedness and CBI Design
กฏข้อนี้ว่าด้วย Self-directedness ของผู้เรียน… ซึ่งมีความสามารถในการวางแผนดำเนินการ และ ประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ของตน รวมทั้ง… ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการรับผิดชอบ ควบคุมตนเองเข้าสู่กระบวนการทางปัญญา รวมทั้งบริบทในการสร้างผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่มีความหมายแล้ว… ปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนย่อมไม่บกพร่องจนต้องการความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากภายนอก… แต่ถ้าหากผู้เรียนมีทักษะและพื้นฐานด้าน Self-directedness ด้อยเกินกว่าจะควบคุมตนเองให้เรียนรู้กับ CBI จนบรรลุวัตถุประสงค์ไม่ได้ การออกแบบจะต้องเผื่อทางเลือกให้ผู้เรียนกลุ่มที่มี Self-directedness ด้อยด้วย…
งานตีพิมพ์ชื่อ System-Assigned Strategies and CBI ของ Brockenbrough S. Allen และ David Merrill ระบุว่า… ผู้เรียนที่ควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเองไม่สำเร็จ เพราะพวกเขายังมี Metacognitive Skills หรือทักษะอภิปัญญาไม่ดีพอ
2. Computer Self-efficacy and CBI Design
กฏข้อนี้ว่าด้วยเรื่อง Computer Self-efficacy หรือ ความเชื่อมั่นในตนเองในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาร่วมในตัวแปรการออกแบบ CBI… เพราะทักษะทางคอมพิวเตอร์ระดับเชื่อมั่นในตนเองจนมั่นใจ อาจไม่มีในกลุ่มผู้เรียนทุกคน
งานวิจัยในหัวข้อ Cognitive Strategies and Learning from the World Wide Web ของ, Janette R. Hill และ Michael J. Hannafin อธิบายว่า… ความไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองต่อการควบคุมจัดการระบบบนคอมพิวเตอร์ ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้โดยตรง
3. Self-directedness and External Support
กฏข้อนี้อธิบายเรื่อง Self-directedness ของผู้เรียนที่มีความสามารถในการวางแผนดำเนินการ มีแรงจูงใจ และ ควบคุมตนเองเข้าสู่กระบวนการทางปัญญาได้ดีเท่าไหร่… ก็ยิ่งต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนภายนอก หรือ External Support น้อยลงเท่านั้น
แต่คำแนะนำในการออกแบบ CBI ให้คำนึงถึงผู้เรียน และผู้ใช้ปลายทาง หรือ End-users ที่มี Self-directedness หลายระดับ… จำเป็นต้องเตรียม External Support ที่จำเป็นเผื่อไว้เสมอ
4. Computer Self-efficacy and External Support
กฏข้อนี้อธิบายเรื่อง Computer Self-efficacy หรือ ความเชื่อมั่นในตนเองในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียน… ซึ่งความเชื่อมั่นและทักษะด้านคอมพิวเตอร์ที่สูงเท่าไหร่… ก็ยิ่งต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนภายนอก หรือ External Support น้อยลงเท่านั้นเช่นกัน… ซึ่งความช่วยเหลือในประเด็นนี้อาจเป็นความช่วยเหลือเชิงเทคนิค หรือการพัฒนาทักษะจำเป็นก่อนการเรียนเพื่อให้ผู้เรียนมั่นใจและมี Computer Self-efficacy ที่สูงขึ้น
5. External Support and CBI Design
กฏข้อนี้อธิบายเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง การสนับสนุนช่วยเหลือภายนอก กับ การออกแบบ CBI… ซึ่งการออกแบบ CBI ได้ไม่ดี อาจชดเชยได้ด้วยการจัดโปรแกรมสนับสนุนภายนอกที่ดีเสริมได้… ในขณะที่การออกแบบ CBI ที่ทำออกมาได้ดี ก็สามารถลดความเข้มข้นโปรแกรมสนับสนุนช่วยเหลือภายนอกลงได้
6. Instructional Strategy Design and CBI Design
กฏข้อนี้อธิบายความสำคัญของ Instructional Strategy หรือ กลยุทธ์การเรียนการสอน… และ Instructional Strategy Design หรือ การออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการออกแบบ CBI ทั้งการลำดับเนื้อหาและหน้าตาบนจอภาพที่สื่อสารกับผู้เรียน… ความสำคัญของการออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ดี จะมีผลต่อการออกแบบ CBI ได้ไม่ดีไปด้วยเสมอ
7. Learning Goal Level and CBI Design
กฏข้อนี้อธิบายความสำคัญของการเตรียม Learning Goal หรือเป้าประสงค์การเรียนรู้ เพื่อผลักดัน Instructional Strategy Design หรือ การออกแบบกลยุทธ์การเรียนการสอน… งานวิจัยปี 1988 ของ Wallace H. Hannum ชื่อหัวข้อ Designing Courseware to Fit Subject Matter Structure อธิบายว่า CBI จะได้รับการตัดสินว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ตามเนื้อหาสำคัญที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของผู้เรียนอย่างไร