ในโลกของการจัดการ… คนที่ทำงานเป็น มีประสบการณ์สูง ได้รับการยอมรับนับถือมาก กว้างขวาง และ จับทำอะไรกับใครตรงไหนก็ออกมาดีได้หมด… เกือบทุกคนที่มีภาพแบบนั้นก็มักจะเคยผ่านร้อนผ่านหนาวมามากกว่าคนอื่น และ เกือบทั้งหมดจะมีประสบการณ์เป็นทั้งความสำเร็จ–ความล้มเหลวปนๆ อยู่ในทุกสิ่งที่ทำมามากกว่าคนอื่นที่ว่านั้นเสมอ
คนส่วนใหญ่เติบโตมากับการเลี้ยงดู และ ระบบการศึกษาที่แบ่งปันประสบการณ์เพื่อไม่ให้ล้มเหลว และหรือ ปกป้องความผิดพลาดเหมือนๆ กันหมด… โดยบรรยากาศการเลี้ยงดูแบบห้ามพลาดก็จะมีเสียงเตือนเรื่อง “อย่าทำนั่น… อย่าทำนี่…” กับเด็กให้ได้ยินจนชินหู หรือไม่ก็เบื่อตายกันไปข้างหนึ่ง… ส่วนระบบการศึกษาก็จะเห็นการตั้งกฏ และ การสร้างเกณฑ์ให้เด็กนักเรียนเคร่งเครียดจริงจังล้นเหลือ จนได้เห็นความเครียดท่วมตัวเด็กไปถึงครอบครัว และ ผู้ปกครองจน ซึ่งถูกยืนยันด้วยปรากฏการณ์แปลกๆ อย่างการจราจรติดขัดขั้นนรกแตกใชช่วงเปิดเทอม และ ได้เห็นผู้ปกครองนั่งรอลูกเรียนพิเศษด้วยสีหน้าเบื่อโลก ทั้งๆ ที่เป็นการ “อดทนทำ” เพื่ออนาคตของลูกก็ตาม
ปัญหาก็คือ… การเติบโต และ เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศแบบห้ามพลาดนั่นเองที่กดดันให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ง่ายกว่าปกติ และ ความผิดพลาดหลายกรณียังถูกตีความอย่างลำเอียง โดยมักจะโฟกัสเฉพาะความความเสียหาย กับ ผลกระทบด้านลบ… ถึงแม้ความผิดพลาด หรือแม้แต่ความล้มเหลวจะมีคุณค่าระดับเดียวกับบทเรียนชั้นดีที่สามารถ “ให้ประสบการณ์ทางตรง” กับคนเกี่ยวข้องได้อย่างดีก็ตาม
ประเด็นก็คือ… คนส่วนใหญ่รู้ดีว่าความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่ดี… พ่อแม่ผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกด้วยประโยค “อย่าทำนั่น… อย่าทำนี่…” ก็มักจะมีประโยค “เห็นมั๊ย หรือ ว่าแล้ว” ปนๆ กันใช้กับลูกหลานเสมอ… ส่วนบรรยากาศในโรงเรียน และ บรรยากาศในองค์กรก็จะได้เห็นการตำหนิติติงไปจนถึงการลงโทษต่อสิ่งที่ผิดพลาดอย่างจริงจัง… ซึ่งหลายกรณีก็สมเหตุเหตุสมผลที่ควรติเตียนและกล่าวโทษ แต่อีกหลายๆ กรณีก็ไม่ง่ายที่จะแยกควรไม่ควรจนกลายเป็นปัญหาขัดแย้งแตกแยก ลุกลามจนลืมสาเหตุและที่มาก็มี
ความเห็นของ Erik van Vulpen ผู้ก่อตั้ง และ CEO แพลตฟอร์ม AIHR ที่ออกแบบมาสำหรับทำ L&D หรือ Learning and Development สำหรับองค์กรที่ต้องการ Up-Skills และ New-Skills ให้ทรัพยากรบุคคลอธิบายว่า… การจะได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ หรือ เจตคติในขั้นเป็นประสบการณ์นั้น กลไกทางการศึกษา และ การสอน กับ การฝึกอบรมยังจำเป็นและสำคัญเสมอ โดยมีความรู้ ทักษะ หรือ เจตคติที่ได้จากการชี้นำด้วยความล้มเหลวเดิม… โดยความล้มเหลวจะชี้นำความสำเร็จผ่าน “ความยืดหยุ่น หรือ Resilence” ที่ต้องเข้าถึงรายละเอียดความล้มเหลวเพื่อให้เข้าถึงรายละเอียดความสำเร็จที่ชัดเจนขึ้น
คำแนะนำจาก Erik van Vulpen เกี่ยวกับ “ตัวแปรความสำเร็จ” ที่หลายๆ คนจากหลายๆ องค์กรต่างก็ค้นหาจึงมีว่า… องค์กรและผู้นำองค์กร “ควรโอบกอดความล้มเหลว” เพื่อให้กิจการด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ HR สามารถวางแผนทำ L&D หรือ Learning and Development ให้ทุกคนในองค์กรได้อย่างแม่นยำ ขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ… ถึงแม้การให้คุณค่าความล้มเหลว และ ไม่ด้อยค่าคนทำล้มเหลวจะมีผลกระทบถึงคุณค่าความสำเร็จ และ คนที่ทำอะไรก็สำเร็จ… แต่การปิดกั้นความล้มเหลว และ ด้อยค่าคนทำล้มเหลวจะส่งผลให้เห็นเป็นความล้มเหลวสมบูรณ์แบบมากกว่า… แนวทางการผลักความล้มเหลวผ่านขั้นตอน L&D ที่ถูกต้องจึงเป็นคำแนะนำแรกสำหรับผู้นำ และ องค์กรที่พร้อมจะเติบโตอย่างแท้จริง
รายละเอียดทางเทคนิคการทำ L&D หรือ Learning and Development ยังไม่คุยน๊ะครับ… เพราะประเด็นนี้มีแง่มุมให้พูดถึงกว้างมากๆ
References…