Business Failure Prevention

Failure Prevention Strategy… กลยุทธ์ป้องกันความล้มเหลวทางธุรกิจ #SaturdayStrategy

ความล้มเหลวทางธุรกิจถือเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนทำมาค้าขายทุกระดับ โดยมักจะปรากฏเป็น “ภาวะขาดทุน” และ นำไปสู่สมดุลธุรกิจที่ปรากฏให้เห็นตัวแปรความล้มเหลวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวแปรความสำเร็จก็ลดน้อยถอยลงสวนทางกัน

รายงานการสัมภาษณ์เชิงลึก หรือ In-depth interviews นักธุรกิจผู้ก่อตั้ง Startup ใน Silicon Valley จำนวน 200 ราย โดย Quartz Media และ ATLAS พบว่า… Startup กว่า 90% ใน Silicon Valley ล้มเหลวทางธุรกิจจากสารพัดปัจจัยและตัวแปร… แต่ข้ออ้างที่ผู้ก่อตั้ง Startup ส่วนใหญ่ระบุถึงปัจจัยความล้มเหลวจะเป็นประเด็น เงินสดขาดมือ และ โมเดลธุรกิจมันไม่เวิร์ค

ประเด็นก็คือ ถ้าโมเดลธุรกิจมันไม่เวิร์คแต่ต้น หรือ แม้แต่ไม่เวิร์คเพราะผิดกาลเทศะ ทั้งพวกที่มาก่อนเวลา และ พวกที่มาตอนไม่เหลืออะไรให้ค้าให้ขายแล้ว… ล้วนนำไปสู่ประเด็น “กระแสเงินสดขัดข้อง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และ กระแสเงินสดนี่เองที่นำไปสู่ความล้มเหลวทางธุรกิจ

กรณีโมเดลธุรกิจไม่เวิร์ค หรือ ไม่ทำเงิน หรือ ทำเงินได้ยาก และ เสี่ยงต่อการเกิดกระแสเงินสดขัดข้อง… จึงเป็นประเด็นพิจารณาหลักที่โมเดลธุรกิจทุกรูปแบบจำเป็นต้อง “ชัดเจน” ว่าจะจัดการประเด็นต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดกระแสเงินสดขัดข้องอย่างไร

สมการเพื่อป้องกันความล้มเหลวในมุมมองนี้จึงมีว่า… ปกป้องกระแสเงินสด คือ ปกป้องธุรกิจไม่ให้ล้มเหลว… แต่สิ่งที่ต้องเข้าใจก่อนอื่นก็คือ การปกป้องกระแสเงินสดหมายถึงการมีเงินสดเหลือพอที่จะ “ดำเนินธุรกิจ หรือ Run Business” ได้เต็มศักยภาพ และ ทำกำไรได้ดีที่สุด… ซึ่งธรรมชาติของธุรกิจแต่ละแบบจะมี “จุดสมดุลของกำไร และ การลงทุน” เป็นกรณีเฉพาะเสมอ… การปกป้องกระแสเงินสดในหลายกรณีจึงเป็นคนละเรื่องกับการประหยัด หรือ จ่ายให้ถูกเข้าไว้จะได้มีเงินสดเหลือในมือเยอะขึ้น ในขณะที่ศักยภาพการทำกำไรกลับถูกฉุดให้ต่ำลงจนต้องประหยัดให้ได้เยอะๆ และล้มเหลวไปในท้ายที่สุด… ก็มีให้เห็นเสมอ

กรณีประหยัด หรือ ขี้เหนียวจนเจ๊ง ถือเป็นกรณีคลาสสิคที่ SMEs บางส่วนล้มเหลวมามาก… เพราะธุรกิจที่ประหยัดจนไปเบียดเบียน “ผลประโยชน์ของลูกค้า” มากจนเมื่อมีการเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือ ตัวเลือกทดแทนอื่นแล้ว… ลูกค้ารู้สึกถูกเอาเปรียบอย่างชัดเจนขึ้นมาเมื่อไหร่! ก็เชื่อได้ไม่ยากหรอกว่าเดี๋ยวมีเจ๊ง หรือ ขาดทุนกว่าเดิมแน่นอน

ส่วนกรณีมือเติบ เล่นใหญ่ ใช้เงินลงทุนเกินสมดุลรายรับ หรือ ประเมินตลาดและธุรกิจผิดพลาด… อันนั้นขาดทุนยับแต่หัววันชัดชัวส์ โดยไม่มีแหล่งเงินทุนใดๆ เหลียวแล หรือ อยากรู้จักแน่… ส่วนกรณีการลงทุน หรือ ทุ่มทุนเกินดุลรายได้ ซึ่งมักจะเกิดกับสินค้าขายดี หรือ บริการแสนอบอุ่นบางกรณีที่ยิ่งทำมาก ขายมาก ลูกค้าเยอะยิ่งขาดทุนมาก เช่น กรณีร้านอาหารที่ขายดีมีคิวรอโต๊ะแน่นเพราะร้านคับแคบ ก็เลยเปิดสาขาสอง หรือ ย้ายร้านไปที่ๆ มันกว้างกว่าเดิม แต่ลูกค้าไม่ได้ตามไปด้วย!

กลยุทธ์ที่ดีที่สุดในการปกป้องธุรกิจให้ไกลจากความล้มเหลวจึงวนเวียนอยู่กับเรื่อง “กระแสเงินสด” ในธุรกิจครับ… ซึ่งทุกธุรกิจควรเข้าใจที่มาที่ไปของกำไรและกระแสเงินสดให้ถูกต้อง และ ต้องเห็นสัมพันธ์สอดคล้องกับคาบเวลาที่ต้องสอดคล้องกันโดยไม่พาธุรกิจเข้าใกล้ความเสี่ยงที่เป็นจุดตายของธุรกิจ… โดยเฉพาะจุดตายเรื่อง “ลูกค้า” หดหายจนถึงจุดที่ธุรกิจเสียสมดุลรายรับ–รายจ่าย

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts