Fear of Failure… ความล้มเหลวที่หวั่นกลัว #SelfInsight

ความล้มเหลว หรือ Failure เป็นสภาวะ หรือ สถานะที่ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ถูกกำหนดเอาไว้โดยคน หรือ กลุ่มคนที่หวังผลในความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งปรัชญาที่ว่าด้วยความสำเร็จ–ล้มเหลว ถือเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สอดอยู่ในศาสตร์และวิทยาการต่างๆ แทบจะทุกอย่างที่มนุษย์ต้องเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจที่จะอยู่กับความสำเร็จล้มเหลวในรูปแบบต่างๆ ของศาสตร์นั้นโดยตรง และรวมทั้งการประยุกต์

ตัวอย่างนักศึกษาแพทย์ทั่วโลกศึกษาศาสตร์ของการเยียวยาผู้ป่วยให้หายเจ็บป่วยเพื่อประสบความสำเร็จในการรักษา… ในขณะที่นักศึกษากฏหมายทั่วโลก ต่างก็เรียนรู้ที่จะปกป้องและจัดการข้อพิพาทในบริบทและแง่มุมต่างๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็อาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายและโศกนาฏกรรมถึงขั้นต้องจารึกลงประวัติศาสตร์ก็ได้… ส่วนเด็กอนุบาลทั่วโลกก็ถูกสอนให้เรียนรู้ตัวอักษร ทั้งสระและพยัญชนะในภาษาหลักของพ่อแม่เพื่อไม่ให้ผิดพลาดล้มเหลวในชีวิตเพราะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้… รากฐานของกิจกรรมหลายอย่างในเส้นชีวิตคนๆ หนึ่งจึงเต็มไปด้วยการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการเตรียมความพร้อมเพื่อให้ล้มเหลวน้อยที่สุด

ประเด็นก็คือ… การไม่อยากล้มเหลว หรือ ล้มเหลวให้น้อยที่สุดที่ฝังอยู่ในจิตวิทยามนุษย์นี่เองที่หลายครั้งได้สะท้อนให้เห็นผ่านสัญชาตญาณที่ผู้ใหญ่สอนเด็กว่า “อย่าโน่น… อย่านี่…” ซึ่งเป็นพฤติกรรมสากลที่มีอยู่กับทุกชนชาติในโลกในการสืบทอดสัญชาตญาณการปกป้องความล้มเหลว

คำถามคือ… ลึกๆ แล้วเรากลัวความล้มเหลว หรือ อย่างน้อยก็กลัวความผิดพลาดที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวใช่หรือไม่?

เรื่องเล่าจากบล็อกลงทุนแมนที่ผมบุ๊คมาร์คไว้นานแล้วเล่าว่า… Bill Gates กับ Paul Allen และ Paul Gilbert ได้ร่วมกันก่อตั้งแพลตฟอร์มชื่อ Traf-O-Data ในปี 1972… Traf-O-Data เป็นแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลการจราจรบนถนน และส่งต่อข้อมูลที่รวบรวมเข้าระบบมาให้กับวิศวกรรมจราจร… แต่สุดท้ายแพลตฟอร์ม Traf-O-Data ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเนื่องจากโมเดลธุรกิจของ Bill Gates และ เพื่อนๆ วัยรุ่นไม่ได้มีความชัดเจน ไม่มีการวางแผนที่ดี จนประสบภาวะขาดทุนและล้มเหลวไปในที่สุด… แต่พื้นฐานและความพยายามในการพัฒนา Traf-O-Data ก็นำพวกเขาไปถึงโมเดล MicroSoft และ สร้างประวัติศาสตร์ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นในเวลาต่อมา

ถ้าสมมุติว่า Bill Gates และ เพื่อนๆ คุยกันว่าพอก่อนเถอะ พวกเราแค่เด็กอายุยังไม่ถึงยี่สิบกันเลย… ชื่อ Traf-O-Data หรือแม้แต่ชื่อ Bill Gates… Paul Allen และ Paul Gilbert หรือ อาจจะรวมถึง MicroSoft ก็อาจจะไม่มีใครรู้จักเลยก็ได้… ทัศนคติของคนที่กังวลเรื่องล้มเหลวรอบใหม่ และ หารือกันว่า “พอก่อนเถอะ” หรือ อะไรทำนองนี้นี่เองที่เป็นพวกยอมรับความล้มเหลวให้เป็นความล้มเหลวเพียงเท่านั้น… ซึ่งไม่ว่าจะกลัวอะไร หรือ กังวลอะไรจึงไม่กล้าพยายามเปลี่ยนความล้มเหลวเป็นอย่างอื่น ความเชื่อส่วนตัวก็ได้เชื่อไปแล้วว่า “อย่างอื่น” ที่จะเกิดต่อจากนั้นก็คือ “ล้มเหลว” อีกเหมือนกัน

ในทางตรรกะ… การกลัวความล้มเหลวเป็นการมองเห็น “ความเสี่ยง” ที่ตนไม่กล้าเผชิญ ซึ่งแปลอีกนัยหนึ่งได้ว่า “กลัว และ เชื่อว่าล้มเหลวอีกแน่” ไปเรียบร้อยแล้ว… เครื่องมือจัดการความล้มเหลว จึงเป็นเครื่องมือเดียวกันกับเครื่องมือจัดการความเสี่ยง เหมือนที่ศัลยแพทย์จัดการสภาพแวดล้อมและตัวแปรทุกอย่างที่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดรักษาให้คนไข้หาย ซึ่งมีความเสี่ยงมากมายที่แพทย์ต้องหาทางเอาชนะ โดยทุกๆ ตัวแปรความเสี่ยงที่ควบคุมได้ จะหมายถึงความล้มเหลวในการผ่าตัดรักษาเพื่อช่วยชีวิตคนป่วยที่หวังพึ่ง… ถูกควบคุมได้แล้วไปด้วย

ดังนั้น… ผลลัพทธ์จากการกำหนดเป้าหมาย และ ดำเนินตามวิธีจัดการความเสี่ยงเท่าที่รู้จักแต่ล้มเหลวไปนั้น ในทางเทคนิคจะถือว่าเหลือ “ตัวแปรเสี่ยงที่จะล้มเหลว” อีกไม่มากให้หาทางจัดการ… เพียงแต่ต้องไม่จัดการภายใต้ตัวแปร หรือ เงื่อนไข หรือแม้แต่ความเชื่อเดิมโดยไม่ปรับปรุงอะไร ซึ่งเสี่ยงล้มเหลวไม่ต่างจากเดิมแน่นอน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts