ความสำคัญของการเจัดการเรียนการสอน โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น นับวันจะยิ่งสำคัญและมีความเป็นนิช หรือ Niche หรือ Niche Market อย่างชัดเจนกว่ายุคไหนๆ… และผมจงใจใช้คำว่า Niche Market หรือตลาดเฉพาะเจาะจงเหมือนธุรกิจการค้าและการตลาด เพราะในทางเทคนิคแล้ว… การจัดการศึกษาทุกรูปแบบเป็นธุรกิจและการตลาดมาแต่ไหนแต่ไร เพียงแต่หลายกรณีคนจ่ายกับคนใช้บริการเป็นคนละคนกันเท่านั้นเอง… ซึ่งก็คงไม่ต้องอธิบายกลไกอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจว่า… แท้จริงแล้วการศึกษาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่แพ้ธุรกิจระดับปัจจัย 4 หรือธุรกิจยานยนต์และการสื่อสารมาเช่นกัน
และเมื่อเรามอง “กิจกรรมทางการศึกษาเป็นธุรกิจ” แน่นอนว่าลูกค้าในระบบนิเวศน์ธุรกิจนี้ก็คงเป็น “นักเรียนและผู้ปกครอง” ที่เป็นคนรับบริการ… และบทความตอนที่แล้วพูดถึง “ลูกค้าของกิจกรรมทางการศึกษา ที่เรียกว่า ผู้เรียน” จำเป็นต้องถูกใส่ใจเพื่อให้เข้าถึงภาวะ Flow หรือภาวะดำดิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้เท่านั้น จึงจะได้ชื่อว่า Learners Center อย่างแท้จริง… ปัญหาใหญ่ที่ตามมาจึงมีหลายประเด็นให้พิจารณาต่อ หากต้องการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตรไปจนถึงแผนการสอนให้เกิด Flow กับผู้เรียนทุกคน… บนความหลากหลายแตกต่างของผู้เรียนทั้งหมด
ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ใช้คำสำคัญในบทที่ 5 เพียง 2 คำคือ Flow กับ Feecback ซึ่งชัดเจนในบริบท แม้จะต้องทำความเข้าใจจากหลายมุมมองต่ออีกพอสมควรก็ตาม
ส่วนตัวผมอธิบายแบบนี้ครับ… มนุษย์ทุกคนมีสิ่งที่ชอบและสิ่งที่ใช่แตกต่างกัน และไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่ยังอยู่ในกลไกการศึกษาในฐานะผู้เรียนทุกเพศทุกวัย ซึ่งการจะ “เข้าใจความแตกต่างของผู้เรียนว่าพวกเขาแต่ละคน Focus กับอะไรได้นานแค่ไหน และ เข้าใจความแตกต่างว่าพวกเขา Happy กับสภาวะแบบไหนอย่างไร… หลักสูตรและการสอนต้อง “ฟังข้อเท็จจริงจากผู้เรียนโดยตรง”
โดยส่วนตัวผมเข้าใจดีว่า… “การฟัง” ยากกว่า “การสั่ง” มาก แม้ว่าข้อดีของการฟังจะไม่ต้องคอยเค้นเอาคำตอบว่า “เข้าใจมั๊ย?” ซ้ำๆ เหมือนการสั่งก็ตาม ซึ่งความยากของการฟังจะอยู่ลึกกว่าการได้ยินเสียงพูดของคู่สนทนาธรรมดา แต่ยังได้ยินจนเข้าใจบริบทที่อยู่เบื้องหลังคำพูดเหล่านั้นอย่างถูกต้องลึกซึ้งเข้าขั้น Active Listening ได้ยิ่งดี
ผมพูดถึงการฟังก็เพราะว่า… สิ่งที่ระบบการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนทันทีก่อนอื่นคือ การฟังเสียงสะท้อนจากตัวผู้เรียนถึงผู้สอนและระบบการศึกษา ซึ่งระบบการศึกษาต้องเปิดทางให้เสียงสะท้อนจากตัวผู้เรียน หรือ Learners’ Feedback… ถูกใส่ใจและนำไปออกแบบเป็นการเฉพาะเพื่อผู้เรียนที่แตกต่าง โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนจดจ่อกับองค์ความรู้ที่ใช้พัฒนาตนเองอย่างมีความสุข
แนวทางก็คือ… พัฒนาเครื่องมือรับ Feedback ที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาใช้กับผู้เรียนให้ได้ก่อนอื่น แล้วค่อยพัฒนากลยุทธ์ใส่หลักสูตรและเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องบรรลุวัตถุประสงค์… โดยส่วนตัวผมเคยเห็นชุดสอนภาคตัดกรวยพาราโบลาที่อ้างอิงการเล่นฟุตบอลของดาวยิงชื่อดังในพรีเมียร์ลีก ที่ครูคณิตศาสตร์ใช้สอนนักเรียนมัธยมสาม ซึ่งสนใจแต่ฟุตบอลจนต้องมาเรียนซ่อมคณิตศาสตร์ และกลับไปสอบซ่อมทำคะแนนเฉลี่ยได้ใกล้เคียงกับเด็กเก่งคณิตศาสตร์มาแล้ว
คุณครูครับ… ฟังผมหน่อย!
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน