บทความเรื่อง Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก ซึ่งผมถอดและเรียบเรียงอ้างอิงแนวทาง VESPA Mindset จาก หนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ซึ่งเจาะจงพูดถึง “Feedback” จากกลไกในระบบการศึกษา โดยเฉพาะการฟังจากฝั่งผู้เรียนให้เข้าถึง Insight และนำข้อมูลจาก Insight ที่ถูกต้องแม่นยำ เข้าสู่ขั้นตอนการ “ใส่ใจ” โดยพิจารณาอย่างเอาใจใส่ต่อความแตกต่างของเป้าหมาย หรือผู้เรียนที่พบจาก Insight ให้ได้
คำถามก็คือ… ในทางปฏิบัติแล้วจะดำเนินการในขั้นตอนนี้อย่างไร?
คำถามแบบนี้ในทางธุรกิจจะตอบง่ายมาก เพราะธุรกิจจะใส่ใจลูกค้าที่หมายถึงความอยู่รอดของธุรกิจ จึงมีเครื่องมือทางการตลาดและการจัดการมากมายเพื่อใช้เข้าถึงความแตกต่างของ Customers’ Need
ประเด็นก็คือ… ในกิจการทางการศึกษาไม่เคยมีจารีตกิจธุระ ว่าจะต้องใส่ใจ Learners’ Need ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือลูกค้าของระบบการศึกษา ที่โรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างก็พยายามดึงดูดและสร้างความสนใจเพื่อเชิญชวนผู้เรียน เข้ามาฝากความหวังและอนาคต…
โดยส่วนตัวผมเคยมีประสบการณ์หลายปี กับข้อมูลโรงเรียนจำนวนหนึ่งในบ้านเราที่หาหนทางทุกอย่าง “เพื่อให้ได้หัวเด็กที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก” มาอยู่ในทะเบียนนักเรียนของโรงเรียน เพื่อให้ได้เงินมาเปิดโรงเรียนและขับเคลื่อนต่อไปอย่างทุลักทุเลและขาดตกบกพร่อง… โดยไม่สนใจความต้องการหรือความแตกต่างเลื่อมล้ำใดๆ ของเด็ก แถมหลายโรงเรียนยังออกตะเวนหาเด็กด้อยโอกาศในพื้นที่สูงบ้าง พื้นที่ทุรกันดารบ้าง เพื่อเอาเลข 13 หลักของเด็กมาค้ำจุนโรงเรียน ซึ่งมีความบกพร่องซ้ำซ้อนในระบบการศึกษาบ้านเรา… จนคนส่วนใหญ่ หรือผู้เรียนส่วนใหญ่ถูกตัดออกจากโอกาสที่พวกเขาเหล่านั้น ไม่เคยแม้แต่จะรู้และเข้าใจถึง “การมีอยู่ของโอกาส” ที่มีคนเพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ในกระแสข้อมูลข่าวสารเท่านั้นที่ได้โอกาสดีๆ อย่างน่าชื่นชม
การจะปฏิรูปการศึกษาแบบที่เอาวิสัยทัศน์และต้นแบบจากความสำเร็จอื่นๆ มายัดใส่เด็กหรือผู้เรียน แล้วหวังว่ามันจะดีขึ้น โดยส่วนตัวแล้วผมเลิกเชื่อมานานว่า… มันจะได้ผล
และความเชื่อใหม่ของผมและเพื่อนฝูงบางท่านที่ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยในระยะหลังนี้จึงเชื่อว่า… ระบบการศึกษาควรกลับไปฟังลูกค้า ซึ่งก็คือผู้เรียนให้มาก
วิธีง่ายๆ อย่างการแจกแบบสอบถามหลังเรียนว่า “เข้าใจ/ไม่เข้าใจ” หรือตั้งคำถามปลายเปิดหาทัศนคติบางมิติ ให้ผู้เรียนได้ Feedback กลับคืนผู้สอนบ้าง… แล้วเอา Feedback ไปเปรียบเทียบกับการทำแบบฝึกหัดและการสอบ ซึ่งจะตามมาในอนาคตอีกทีก็ได้… ซึ่งผมกำลังบอกว่า เครื่องมือง่ายๆ ของการขอ Feedback ที่อนุญาตให้นักเรียนกด Like ให้ทั้งครูและเนื้อหาบทเรียน แล้วเรียนรู้จาก Like/Dislike จำนวนมากที่เกิดขึ้นเรื่อยๆ เหมือนที่แพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียนำสิ่งเดียวกันนี้ไปพัฒนาโมเดลธุรกิจกันเป็นล่ำเป็นสัน
ถึงตรงนี้ก็คงเหลือแต่… คงต้องลองทำและลุยทำแล้วครับ
บทความตอนนี้เป็นตอนเสริมที่ผมแทรกเพิ่มตามแนวคิดและทัศนคติส่วนตัว กับข้อมูลแวดล้อมในบริบทที่ผมได้จากประสบการณ์ส่วนตัวครับ… ผิดถูกบกพร่องจากเนื้อหาคงมีประเด็นอีกมากที่ผมพร้อมจะรับฟังจากทุกท่านที่ยินดีแลกเปลี่ยนสนทนา… ส่วน บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
- Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก