Fine Motor Skills… ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก #ReDucation

การเจริญเติบโตทางร่างกายของทารกตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนเติบใหญ่พึ่งพาตัวเองได้ ทักษะโดยธรรมชาติของทารก และ เด็กที่มีปรากฏมาพร้อมกับการมีชีวิตก็คือทักษะการใช้กล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งทารกทุกคนทำเองได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แบบที่เรียกว่า “ทารกดิ้นในท้อง” แต่การเคลื่อนไหวร่างกายเพียงการดิ้นโดยสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตแบบนั้นยังถือว่า “น้อยเกินไป” ที่จะเรียกได้ว่าเป็นการใช้กล้ามเนื้อและร่างกายเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตขั้นสูง โดยเฉพาะ “กล้ามเนื้อมัดใหญ่ หรือ Gross Motor” กับ “กล้ามเนื้อมัดเล็ก หรือ Fine Motor” และ “ประสาทสัมผัส กับ สติปัญญา” ที่สามารถทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ… ซึ่งไม่ว่าอะไรที่มีลักษณะเป็นระบบ ก็มักจะประเมินผลได้ผลเสียที่เกิดจากระบบค่อนข้างเที่ยงตรง… แม้แต่ร่างกายและสติปัญญาของมนุษย์ที่ประสานงานกันอย่างเป็นระบบด้วย

ที่น่าสนใจก็คือ… ธรรมชาติของเด็กจะถูกสิ่งแวดล้อมดึงดูด จนเราได้เห็น “การฝึกใช้ระบบร่างกาย และ สติปัญญาโดยธรรมชาติ” ด้วยการไขว่คว้าหยิบจับ และ เคลื่อนไหวร่างกาย ที่ถูกกระตุ้นด้วยความอยากรู้อยากเห็น… ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นที่มาจากความคิด และ สติปัญญาตามวัยนั่นเองที่กระตุ้นการเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ… สะสมเป็นทักษะชีวิตที่ชำนาญขึ้นทีละเล็กทีละน้อย กระทั่งเติบใหญ่จนมีทักษะมากพอที่จะพึ่งพาตัวเองได้หลากหลายทักษะยิ่งๆ ขึ้น

การใช้กล้ามเนื้อ และ ร่างกาย กับ สติปัญญาอย่างเป็นระบบภายใต้แรงจูงใจที่ทารกและเด็กถูกดึงดูดจากสภาพแวดล้อมด้วยตัวเองจึงสำคัญกับ “ทักษะชีวิต” แต่ละชิ้นที่เด็กๆ จะสะสมเป็นตัวตนและความสามารถไปชั่วชีวิต!

คำถามคือ… แล้งไง???… หรือ แล้วต้องทำยังไง?

Kali Pierce ผู้ก่อตั้ง Fun Early Learning เพื่อให้บริการ Digital Education Resource สำหรับการศึกษาปฐมวัยทั้งสถาบัน และ Home Schooling ชี้ว่า… Fine Motor Skills หรือ ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างมือ กับ ข้อ และ กล้ามเนื้อตาที่ประสานกันอย่างเป็นระบบ นอกจากจะเป็นทักษะพื้นฐานการใช้ชีวิตประจำวันโดยพึ่งพาตนเองได้ทั้งหมดแล้ว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กยังเชื่อมโยงสมองของเด็กๆ เข้ากับกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างแขน ขา ลำตัวให้เป็น “ร่างกาย” ที่เด็กคนหนึ่ง หรือ คนๆ หนึ่งพร้อมจะเรียนรู้และสั่งสมทักษะอื่นอีกมากที่ดึงดูดพวกเขาให้ก้าวหน้าต่อไป

นั่นหมายความว่า… การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยเน้นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในทารก และ เด็กผ่านกิจกรรมส่งเสริมทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก… คือศูนย์กลางการส่งเสริมพัฒนาการที่สามารถเชื่อมโยง และ ต่อยอดได้ไม่สิ้นสุด

ประเด็นก็คือ… กิจกรรมส่งเสริมทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กเกือบทั้งหมดสามารถทำผ่าน “การเล่น หรือ Play” ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดทารก และ เด็กได้อย่างทรงพลังที่สุด… ยิ่งถ้าต้องการ “ผลสัมฤทธิ์เชิงพัฒนาการ” ที่วัดผ่านทักษะด้านคณิตศาสตร์ หรือ Maths กับ ทักษะด้านภาษาและการรู้หนังสือ หรือ Language and Literacy… สภาพแวดล้อมที่ดึงดูดทารก และ เด็กด้วยกิจกรรมการเล่นที่บูรณาการทักษะด้านวิชาการอย่างสร้างสรรค์ น่าจะเป็นทางออกที่สามารถนำธรรมชาติของเด็ก และ ธรรมชาติของการแข่งขันที่ต้องปลูกฝังสั่งสมประสบการณ์ และ สติปัญญาให้เด็กแต่เนิ่นๆ มาเจอกันตรงกลางโดยไม่ต้องรู้สึกว่าได้อย่าง–เสียอย่าง…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts