ไมโครพลาสติกไปถึงแอนตาร์กติก #FridaysForFuture

รายงานการเก็บตัวอย่างหิมะของ Alex R. Aves นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจาก University of Canterbury ในนิวซีแลนด์… ซึ่งเธอได้เก็บตัวอย่างหิมะปี 2019 จากพื้นที่ 19 แห่งทั่ว Ross Ice Shelf ในทวีปแอนตาร์กติกา และ พบไมโครพลาสติก ซึ่งก็คือชิ้นส่วนของพลาสติกที่มีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร ปนมากับทุกตัวอย่าง

งานวิจัยของ Alex R. Aves ซึ่งตีพิมพ์งานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิตชื่อ First Evidence Of Microplastics In Antarctic Snow เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2022 ในวารสารวิทยาศาสตร์ The Cryosphere โดยเผยแพร่การพบว่ามีอนุภาคไมโครพลาสติกเฉลี่ย 29 อนุภาคต่อลิตรของหิมะที่ละลาย

ก่อนหน้านี้… ไมโครพลาสติกเคยถูกพบในปลาในบริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรและในน้ำแข็งในอาร์กติก โดยแทรกซึมเข้าไปในบริเวณที่ห่างไกลและบริสุทธิ์ที่สุดของโลก แต่ไม่พบในหิมะที่เพิ่งตกลงมา… โดยรายงานชุดนี้ได้แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า ความหนาแน่นของไมโครพลาสติกได้เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่า เป็นรองเพียงสถานีตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ที่ Ross Island Scott Base ของนิวซีแลนด์ และ McMurdo Station ของสหรัฐอเมริกา 

งานวิจัยของ Alex R. Aves พบพลาสติก 13 ชนิด โดยชนิดที่พบหนาแน่นที่สุดคือ PET ซึ่งเป็นพลาสติกทำขวดเครื่องดื่ม และ เส้นใยเสื้อผ้า… และงานวิจัยนี้ยืนยันข้อมูลว่าไมโครพลาสติก อาจเดินทางในอากาศเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรอีกครั้งหนึ่ง… แต่ก็เป็นไปได้ที่มนุษย์ในแอนตาร์กติกาจะเป็นผู้สร้าง Microplastic Footprint ได้เช่นกัน

ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา… ทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกประมาณ 8.3 พันล้าน ตัน โดยมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของพลาสติกทั้งหมดถูกทิ้งลงในหลุมฝังกลบ เผา หรือ ทิ้งลงแม่น้ำ และ มหาสมุทรโดยตรง และ มีการใช้พลาสติกประมาณ 460 ล้านตันในปี 2019 ซึ่งมากกว่าเมื่อ 20 ปีก่อนถึง 2 เท่า

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD รายงานเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนว่า… ด้วยปริมาณการผลิตพลาสติกทั่วโลกประจำปีในปัจจุบัน คาดว่าจะมีขยะพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นอีกสามเท่า ภายในปี 2060

ในปี 2020 องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ หรือ CSIRO หรือ Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation ของออสเตรเลีย ระบุว่า… อาจมีไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายประมาณ 14 ล้านตันสะสมปนเปื้อนอยู่ที่ก้นมหาสมุทรลึกของโลกอันเป็นผลมาจากการใช้พลาสติกอย่างแพร่หลาย… และ รายงานของ World Economic Forum ก็ยืนยันเช่นกันว่า… มีการบริโภคพลาสติกประมาณ 4 – 8 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณนำมันที่บริโภคน้ำมันทั่วโลกในปัจจุบัน และ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 20 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts