Five Personality Traits

Five Personality Traits… ลักษณะบุคลิกภาพหลักทั้ง 5 #SelfInsight

นักจิตวิทยาบุคลิกภาพร่วมสมัยกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า… บุคลิกภาพของบุคคลแบ่งออกเป็นบุคลิกหลักๆ ได้ 5 แบบ ซึ่งการศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 4,504 คน ​​Gordon Allport และ Henry S. Odbert ตามสมมุติฐานของ Sir Francis Galton โดยมีทฤษฎี 16 Personality Factors ของ Raymond Cattell และ Three Factor Theory ของ Hans Eysenck เปรียบเทียบ ซึ่งทฤษฎีอ้างอิงทั้งสองแนวทางที่ใช้เทียบเคียง ยังขาดความสมบูรณ์หลายมิติ… โดยเฉพาะความยุ่งเหยิงซับซ้อนของ 16 Personality Factors ของ Raymond Cattell ในขณะที่ Three Factor Theory ของ Hans Eysenck ก็มีข้อจำกัดหลายประการจนไม่ได้รับความเชื่อถือ

นักวิจัยทางจิตวิทยารุ่นต่อๆ มา ซึ่งค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “บุคลิกภาพ หรือ Personality” ในหลายวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในหน้าที่ต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องหาคนที่มีบุคลิกลักษณะเหมาะสมเป็นพิเศษเพื่อความสำเร็จ…

ประเด็นก็คือ… ทฤษฎีบุคลิกภาพกระแสหลักได้ข้อสรุปสำคัญว่า บุคลิกของคนทุกคนจะมีลักษณะทางบุคลิกภาพอยู่ระหว่าง Extreme Extraversion หรือ คนกล้าแสดงตัวสุดโต่ง กับ Extreme Introversion หรือ คนเก็บตัวสุดติ่ง… ซึ่งแบ่งย่อยกลุ่มบุคลิกย่อยระหว่างสองขั้วได้ 5 แบบคือ

1. Openness หรือ บุคลิกเปิดกว้าง

จะเป็นกลุ่มที่มีลักษณะนิสัยเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ… มักจะสงสัยและสนใจที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายได้ เพราะมีระดับการเปิดกว้างสูง… ซึ่งคนเปิดกว้างมาก จะเป็นพวกสร้างสรรค์มาก… กล้าเปิดใจลองสิ่งใหม่… ชอบการแก้ปัญหา หรือ นิยมความท้าทายใหม่ รักการเปลี่ยนแปลง และ มีความสุขที่ได้ตรึกตรอง และ อยู่กับแนวคิดเชิงปรัชญาและที่เป็นนามธรรม… ในขณะที่คนเปิดกว้างน้อย ก็จะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง… ไม่ชอบสิ่งใหม่… ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง… ไม่ค่อยมีจินตนาการ และ ไม่ชอบแนวคิดอะไรที่เป็นนามธรรมหรือเป็นทฤษฎีนัก

2. Conscientiousness หรือ บุคลิกมุ่งมั่น

จะมีนิสัยเป็นคนมีระเบียบวินัย พึ่งพาได้ ความรับผิดชอบสูง ชอบการวางแผน เตรียมพร้อมอยู่เสมอ ควบคุมแรงกระตุ้นได้ดี มีพฤติกรรมขยันขันแข็งสูง มุ่งเป้าหมาย… คนบุคลิกมุ่งมั่นสูงจะใช้เวลาเตรียมการ… ทำภารกิจสำคัญทันที… ใส่ใจรายละเอียด และ สนุกกับการความคุมใส่ใจจากตน ส่วนคนที่ไร้ความมุ่งมั่น ก็มักจะไม่ชอบโครงสร้าง หรือ ข้อกำหนดนั่นนี่… เลอะเทอะเลื่อนเปื้อน… ผัดวันประกันพรุ่ง และ ทำงานเท่าที่จำเป็น หรือ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสิ้นได้ไม่ดี

3. Extraversion  หรือ บุคลิกอารมณ์ดี

จะดูเป็นมิตรกับทุกคน ชอบพบปะผู้คน และ สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างมีพลัง เป็นลักษณะนิสัยของคนคิดบวก และ มองโลกในแง่ดี… คนที่มีบุคลิก Extraversion หรือ Extroverts มากๆ จะเป็นคนสนุกกับการเป็นศูนย์กลางของความสนใจ… ชอบเริ่มบทสนทนา… สนุกกับการพบปะผู้คนใหม่ๆ มีกลุ่มเพื่อน และ คนรู้จักในวงกว้าง… หาเพื่อนใหม่ได้ง่าย และ เข้ากับคนอื่นได้ง่าย… รู้สึกมีพลังเมื่ออยู่ท่ามกลางคนอื่น และ พูดก่อนค่อยคิด… ส่วนคนที่มี Extraversion ต่ำ หรือ เป็นคน Introverted ก็จะเป็นคนชอบความสันโดษ… รู้สึกเหนื่อยเมื่อต้องเข้าสังคมและเจอผู้คน… เป็นเรื่องยากที่จะเริ่มการสนทนา… ไม่ชอบพูดเรื่องเล็กน้อยจุกจิก… คิดไตร่ตรองอย่างดีก่อนพูด และ ไม่ชอบเป็นจุดสนใจ

4. Agreeableness หรือ บุคลิกประนีประนอม

จะเป็นบุคลิกแบบคนที่มีจิตใจดี พร้อมจะให้ความร่วมมือ เข้าอกเข้าใจคนอื่น นึกถึงใจคนรอบข้าง มีจิตใจที่หวังดีต่อผู้อื่น และ พร้อมให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ตัวเองสามารถช่วยได้ ชอบทำให้คนรอบข้างสบายใจ และ เป็นที่ไว้วางใจของคนรอบข้าง… คนประนีประนอมสูงจะมีความใส่ใจผู้อื่นมาก… ห่วงใยคนอื่นเป็น… เห็นอกเห็นใจผู้อื่น… ชอบช่วยเหลือ และ มอบความสุขให้ผู้อื่น… ส่วนคนที่ไม่ค่อยสนใจห่วงใยใครอื่น จะเป็นพวกไม่ค่อยสนใจความรู้สึกของคนอื่น… ไม่ค่อยสนใจปัญหาคนอื่น… ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น และมีพฤติกรรมล่อลวงคนอื่นให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ

5. Neuroticism หรือ บุคลิกวิตกกังวล หรือ บุคลิกแห่งการเตรียมพร้อม

จะเป็นบุคลิกของผู้ที่มีพื้นฐานทางอารมณ์ที่ไม่มั่นคง เป็นคนเศร้าหรือดูเศร้า หงุดหงิดและอารมณ์หวั่นไหวเกินพอดี… แต่คนขี้กังวลก็จะมีนิสัยการเตรียมพร้อม เพราะมักจะคิดถึงฉากทัศน์เลวร้ายได้ยอดเยี่ยมและครบถ้วน จึงเป็นบุคลิกของคนที่สามารถรับมือปัญหาใหญ่ๆ ได้ดี… แต่คนวิตกกังวลมากๆ จะเป็นต้นเหตุของความเครียดต่อตัวเองและคนรอบข้าง… กังวลเรื่องต่างๆ เกินข้อเท็จจริง… หงุดหงิดง่าย… อารมณ์ผันผวน… วิตกจริต และมีพฤติกรรมแก้แค้น–เอาคืนหลังเหตุการณ์ตึงเครียด ส่วนคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์สูง ก็จะมีพฤติกรรมการรับมือกับความเครียดได้ดี… เศร้าน้อย หดหู่น้อย… ไม่วิตกกังวล และ ผ่อนคลาย

ประเด็นเป็นแบบนี้คือ… บุคลิกภาพแบบไหนก็มีจุดเด่นจุดด้อยไม่ต่างกัน การจำแนกคนด้วยกลุ่มบุคลิกภาพ เพื่อทำความเข้าใจ “ธรรมชาติ” ของแต่ละคน จะทำให้ปัญหาความสัมพันธ์ทั้งประเด็นที่คิดต่อกัน และ แนวทางที่ปฏิบัติต่อกัน… ไม่ไปคุกคามบุคลิกตัวตนของอีกฝ่ายจนเกิดปัญหาความสัมพันธ์ตามมาทีหลัง

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts