Curious Kid Focus

Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน

ช่วงที่ประเทศไทยวนเวียนอยู่กับโจทย์ปฏิรูปการศึกษา… คำใหญ่ๆ อย่างคำว่า Child Center หรือ Learners Center หรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดูเหมือนจะได้ยินจนเอียน และพบเห็นคำเหล่านี้ในเอกสารเกี่ยวกับหลักสูตรและการสอนแทบจะถ้วนทั่วทุกชิ้นส่วนของ “ระบบการศึกษา” ที่ปฏิรูปด้วยการใส่คำฮิตๆ เท่ห์ๆ ไว้ในเอกสารและการสนทนา โดย “ไม่เข้าใจแก่น” ด้วยซ้ำว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางที่ว่า… อะไรคือแก่นและแกนที่ต้องโคจรรอบ

แน่นอนว่ามีคนตอบเกี่ยวกับ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางว่าโคจรรอบผู้เรียนไง! ซึ่งก็ถูกเหมือนกำปั้นทุบดินที่ยังไงก็โดนแน่ๆ แต่คนทุบคงเจ็บฟรี แถมถ้าดูไม่ดีอาจจะมีขี้หมาติดมือมาด้วยเป็นของแถม

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… การเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก็คือ การเอาธรรมชาติทั้งกายภาพ และจินตภาพของผู้เรียนเป็นแกนในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งแปลไทยเป็นไทยได้ว่า… คุณลักษณะทางกายภาพของผู้เรียนระดับพัฒนาการตามวัยเป็นอย่างไร ก็อ้างอิงตามนั้น… สติปัญญาและทัศนคติของผู้เรียนเป็นอย่างไร ก็ปรับแต่งอ้างอิงตามนั้น 

ซึ่งการปรับแต่งนี้เองที่ “ระบบการศึกษา” ยังเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการ โดยผู้เรียนไม่ได้เลือก หรือแม้แต่ให้ Learners ได้เสนอความเห็นด้วยซ้ำ… แถมในหลายกรณียังมีการอ้างอิง “กรณีศึกษา” เป็นความสำเร็จจากที่โน่นที่นี่ มาสนับสนุน “การตัดสินใจ” ที่ว่า เหมือนเห็นเด็กบางคนใส่เสื้อขนาดฟรีไซส์แล้วสวย ก็เลยสั่งเสื้อฟรีไซส์ให้เด็กทั้งประเทศใส่เหมือนกันไปเลย… ง่ายดี

สิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือ… ครูอาจารย์ส่วนหนึ่ง ศึกษานิเทศก์และผู้บริหารกลไกระบบการศึกษาส่วนหนึ่ง… แม้ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้อง Learners Center? และอะไรที่ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า Learners Center เกิดขึ้นแล้ว?

คำตอบคือ Learners ต้องเข้าสู่ภาวะ Flow ตามทฤษฎี Flow ของ Mihaly Csikszentmihalyi หรือ มิฮาลี ชิคเซนมิฮาย นักจิตวิทยาชาวฮังการี ผู้อธิบายภาวะของมนุษย์… ในยามจดจ่อดำดิ่งกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเนิ่นนาน แต่เวลาผ่านไปรวดเร็วสำหรับคนๆ นั้น…

ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ก็อ้างอิงทฤษฎี Flow เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดสำคัญว่า… กิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นนั้น ได้ใส่ใจผู้เรียนจนถึงขั้น Learners Center หรือยัง

ท่านที่เป็นครูอาจารย์คงเคยรู้สึก หรือเคยมีประสบการณ์ว่า… งานเตรียมสอนที่ท่านใช้กับนักเรียนห้องเด็กเรียนดี ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะไหลลื่นไปด้วยกัน แต่เมื่อเอางานเตรียมสอนชุดเดียวกันไปใช้กับห้องเด็กคะแนนเฉลี่ยต่ำ อารมณ์ผู้สอนก็ไปทาง อารมณ์นักเรียนก็ไปอีกคนละทาง… ทำให้เราไม่เห็น Flow ในบรรยาการการเรียนการสอนที่แปลว่า… งานเตรียมสอนไม่ได้ออกแบบให้ Learners ห้องนี้เป็นศูนย์กลาง แต่ไปเอางานเตรียมสอนของ Learners ห้องอื่นมาใช้กับพวกเขา… ในทางกลับกัน ถ้าเอางานเตรียมสอนห้องเด็กเรียนอ่อน ไปใช้กับห้องเด็กเรียนเก่ง โอกาสที่จะเห็นภาวะ Flow หรือเด็กห้องเก่งดำดิ่งกับบทเรียนก็คงไม่มีเช่นกัน…

หลักหรือแก่นของการจัดการเรียนการสอนแบบ Learners Center หรือ Child Center จึงมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เกิด Flow ที่มีทั้ง Focused และ Happy ของผู้เรียนแบ่งแยกสนองตอบความหลากหลายแตกต่างกัน… ซึ่งแนวทางการโน้มน้าวผู้เรียนให้มีชุดความคิด หรือ Mindset เกี่ยวกับ Flow ของตนเอง จึงถือเป็นขั้นตอนและกลไกสำคัญในแนวทาง VESPA Mindset

ตอนหน้ามาเรียนรู้เทคนิคการคั้นเอา Flow ของแต่ละคนออกมาให้เจ้าตัวทำความเข้าใจ และยึดใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้ต่อยอดไปจนตลอดชีวิตด้วยกันครับ… ก็เราอยู่ในยุค Lifelong Learning นี่นา!


บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจ
  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
  7. Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
  8. Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
  9. Knowledge Organizer for VESPA Mindset
  10. Creativity Organizer for VESPA Mindset
  11. Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
  12. Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts