FOFO หรือ Fear Of Finding Out เป็นคำที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่มีลักษณะของความกลัวการได้รู้ได้เห็นข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งความกลัวที่คนอื่นจะมารู้มาเห็นข้อเท็จจริง และหรือ มาเห็นมารับรู้ฉากหลังอันน่าอับอายที่ได้ลงทุนหลบเลี่ยง ปกปิด ซ่อนพรางบางเรื่องบางอย่างที่ไม่อยากถูกเปิดเผย และ ยังเป็นคำที่ใช้อธิบายความกลัวที่จะได้รู้ความจริงอันเกี่ยวพันถึงความกังวลดั้งเดิม หรือ อาจจะกระทบต่อเนื่องถึงเรื่องอื่นที่วิตกกังวลอยู่แต่เดิม เช่นกรณีของความกลัวที่จะได้ไปโรงพยาบาลหาหมอ เพราะกลัวว่าจะต้องได้รู้ว่าตัวเองป่วยหนัก ต้องพัก ต้องรักษา ต้องซื้อยา อันเป็นลักษณะของความวิตกแบบต่อเนื่องเป็นชุด…
ความกลัวเป็นเรื่องธรรมชาติ และ ความวิตกกังวลก็เป็นหนึ่งในกลไกความปลอดภัยที่ทำงานกับสัญชาตญาณระดับสู้ดีหรือหนีก่อน หรือ Fight Or Flight Situations… ซึ่งความกลัว และ ความวิตกกังวลระดับสัญชาตญาณจะถือว่าเป็นส่วนดีในจิตวิทยามนุษย์ที่สำคัญกับการอยู่รอดปลอดภัยมาตั้งแต่บรรพบุรุษ Homosapien วิวัฒน์ขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อกว่าห้าพันล้านปีล่วงมาแล้ว… แต่ความกลัวที่ปรุงแต่งด้วยเล่ห์เหลี่ยมของคนโดยเจ้าตัวรู้ไม่เท่าทันว่า… จิตวิทยา FOFO หรือ Fear Of Finding Out ได้ซ่อนอยู่เบื้องหลังการปิดกั้นระหว่าง “ข้อเท็จจริง กับ การตัดสินใจและการแสดงออก” อันเป็นความกลัวที่มีต่อสถานการณ์ที่ควรเปิดเผยบอกกล่าว โดยเผชิญหน้ากับข้อมูลอันท้าทายความเชื่อ ความเข้าใจ และ ประสบการณ์เก่า
ข้อมูลจาก Dr.Jonathan H. Westover ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ โค้ชภาวะผู้นำจาก OD Consultant ชี้ว่า… จิตวิทยา FOFO แบบปรุงแต่งมักจะเกิดกับผู้นำในองค์กร ซึ่งทำให้ภาวะผู้นำเข้าสู่สถานการณ์ “มืดบอดโดยเจตนา หรือ Intentional Blindness” ซึ่งทำลายความเชื่อมั่นของสมาชิกทีมอย่างมาก และ ยังทำลายความภาคภูมิส่วนตนของตัวผู้นำเองที่รู้อยู่แก่ใจว่าตัวเองลักไก่ และหรือ ปกปิดเรื่องละข้ามเรื่องสำคัญอะไรบ้าง

ประเด็นก็คือ พฤติกรรม FOFO หรือ Fear Of Finding Out ในทางการจัดการจะถูกใช้ใน Flight Situations หรือ ถอยหนีก่อนดีกว่า ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาความวิตกกังวล และ ความเครียดเฉพาะหน้าได้ชั่วครู่ชั่วคราว… แต่พฤติกรรม FOFO ก็จะกีดกันให้คนๆ นั้นถอยห่างออกจากการตัดสินใจด้วยข้อเท็จจริงบนทางเลือกที่ดีที่สุดได้ด้วย ซึ่งก็เท่ากับว่าได้ถอยหนีจากการดำเนินการในแบบที่ควรจะเป็นตามมาด้วย
ในสถานการณ์ทำนองนี้… Dr.Jonathan H. Westover อธิบายเพิ่มเติมว่า… ความกลัวเบื้องหลังที่ผู้นำก่อพฤติกรรม FOFO เสมอก็คือ ความกลัวการยอมรับจากคนอื่น กลัวการถูกตัดสิน รวมทั้งกลัวการสูญเสียบางอย่างโดยเชื่อว่าการ “หลบเลี่ยง ปกปิด ซ่อนพราง หรือ ลักไก่” แบบเนียนๆ ไปจะคุ้มค่ากว่า อันเป็นความกลัวที่ถูกไตร่ตรองผลได้ผลเสียภายใต้ความเชื่อส่วนตัวอย่างชัดเจน… ซึ่งถ้าไม่เกิดบ่อยๆ จนเป็นที่สังเกตุก็เรื่องหนึ่ง เพราะถ้าถูกจับได้ไล่ทันกับเรื่องหลบเลี่ยง ปกปิด ซ่อนพราง หรือ ลักไก่ที่ทำความเดือดร้อนถึงหลายๆ คนขึ้นมาเมื่อไหร่… ฉากจบของมนุษย์ FOFO ก็มักไม่สวยอย่างที่พยายามจะหลบเลี่ยงปกปิดเพื่อให้ออกมาสวยอย่างแน่นอน
References…