Food’s Carbon Footprint… เรากำลังกลืนกินอนาคตโลกอยู่หรือไม่? #FridaysForFuture

Carbon Footprint หรือ รอยเท้าคาร์บอน ที่หมายถึงร่องรอยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่ของกิจกรรมหนึ่งๆ ซึ่งกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่พวกเรากินใช้หลายอย่างในแต่ละวัน… โดยเฉพาะกิจกรรมการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อในทุกๆ วันของพวกเรา ล้วนปรากฏรอยเท้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

งานวิจัยเรื่อง Reducing Food’s Environmental Impacts Through Producers And Consumers โดย Joseph Poore และ Thomas Nemecek ได้ออกแบบวิธีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอาหารที่เราบริโภค… โดยสร้างเครื่องมือวัดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ประมาณ 57,000 รายการที่มีขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในอังกฤษ โดยคำนึงถึงพารามิเตอร์ 4 ด้าน ได้แก่…

  1. การผลิตก๊าซเรือนกระจก 
  2. การใช้ที่ดิน 
  3. การใช้น้ำ 
  4. ปริมาณฟอสเฟตที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ และหรือ อากาศ

ผลการวิเคราะห์จากงานวิจัยของ Joseph Poore และ Thomas Nemecek สรุปได้ว่า… การผลิตเนื้อสัตว์ ปลา และ ผลิตภัณฑ์จากนมมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับธัญพืช ผลไม้ และ ผัก

ประเด็นก็คือ… อาหารโปรตีนจากสัตว์ที่พวกเรากินเข้าไปนั้น ล้วนได้มาจากการทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างการทำลายป่าไม้เพื่อสร้างทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรมากมายมาเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตอาหารสัตว์แบบเข้มข้นสำหรับระบบการเลี้ยงสัตว์ด้วยวิทยาการด้านอุตสาหกรรมอาหาร… โดยมีการรายงานถึงรอยเท้าคาร์บอนใน “กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นม” ในแต่ละปีได้ก่อให้เกิดมลพิษมากกว่าผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่ที่สุดของโลก 2 รายรวมกันในหนึ่งปี หรือ เทียบเท่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากรถยนต์เกือบ 7 ล้านคันตลอดปีทีเดียว

ปัญหาก็คือ… Carbon Footprint หรือ รอยเท้าคาร์บอนจากอาหารยังไม่มีทางออกดีๆ ให้แซ่ซ้องในตอนนี้ เพราะดีที่สุดที่ทำได้ก็คือการใช้กลไกคาร์บอนเครดิตมาช่วยชดเชยให้ผลกระทบเกิดได้ช้าลงเท่านั้นเอง…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts