From Strategy to Execution… จากกลยุทธ์สู่การขับเคลื่อน #SaturdayStrategy

ข้อมูลของ Tomas Chamorro-Premuzic และ Darko Lovric จาก Harvard Business Publishing ระบุว่า… บุคคลากรจาก 3 ใน 5 บริษัทบอกว่าองค์กรของตัวเอง “อ่อนด้อยในการดำเนินการตามกลยุทธ์” โดยสำรวจพบอุปสรรคสำคัญที่ถูกระบุว่ามีผลต่อการดำเนินการ ซึ่งกดดันเงื่อนไขการบริหารจัดการให้สำเร็จได้ยาก โดยมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ เช่น ผู้นำขาดคุณสมบัติจนเข้าข่ายการเป็นผู้นำยอดแย่ หรือ Poor Leadership… ขาด Talent หรือ Inadequate Talent และ อ่อนด้อยกระบวนการที่เป็นเลิศ หรือ Lack Of Process Excellence… ซึ่งทำให้การดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ออกแบบไว้ทั้งหมด… ล้มเหลวพลาดเป้าอย่างน่าเสียดาย

ประเด็นก็คือ… คำว่า Strategy มาจากรากศัพท์ภาษากรีกคำว่า Strategia ที่แปลว่าศิลปะของแม่ทัพ ซึ่งตีความซ้ำได้ถึง “การบรรลุเป้าหมายการต่อสู้ด้วยชั้นเชิงที่ซับซ้อน” โดยทั้งหมดจะเต็มไปด้วยภาพการต่อสู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ถูกกำหนดไว้ตามวิสัยทัศน์… ซึ่งวิสัยทัศน์อันหมายถึง “ภาพในอนาคตหลังการเปลี่ยนแปลง” นั่นเองที่เป็นเป้าหมายของการขับเคลื่อนกลยุทธ์ผ่านการต่อสู้ด้วยชั้นเชิงที่ซับซ้อน ซึ่งถ้าไม่ดำเนินการ หรือ ไม่ขับเคลื่อนใดๆ เพื่อการนี้… วิสัยทัศน์ที่วางไว้ก็เป็นได้แค่ภาพลวงตา… การนำวิสัยทัศน์ไปกำหนดกลยุทธ์ และ การนำกลยุทธ์ไปดำเนินการจึงเป็นกิจธุระสำคัญเสมอ

แต่… การขับเคลื่อนกลยุทธ์ หรือ การนำกลยุทธ์ไปดำเนินการก็ไม่ได้แปลว่าจะประสบความสำเร็จ หรือ จะบรรลุเป้าหมายตามการคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่จะล้มเหลวมากกว่าความน่าจะเป็นที่จะสำเร็จแทบทั้งสิ้น… เว้นแต่ปัจจัยที่เกี่ยวพันกับความน่าจะเป็นที่จะล้มเหลว ถูกจัดการด้วยชั้นเชิงจนเห็นความสำเร็จชัดเจนในการคาดการณ์ล่วงหน้า

Darko Lovric ในฐานะนักจิตวิทยาองค์กรชี้ว่า… ผู้นำจำนวนมากที่สามารถจัดการกับความท้าทายในการบรรลุเป้าหมาย ต่างก็ขับเคลื่อนกลยุทธ์ได้อย่างโดดเด่นด้วยการนำกลยุทธ์ไปดำเนินการด้วยปัจจัยโครงสร้างเพื่อความสำเร็จ ซึ่งปิดโอกาสล้มเหลวจากทุกปัจจัยที่ฉุดรั้ง ผ่านการสร้างและขับเคลื่อนกลยุทธ์อย่างเป็นระบบด้วยความเหมาะสม… โดย

  1. ต้องเป็นกลยุทธ์ที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ… ไม่คลุมครือกำกวม และ สามารถดำเนินการตามกลยุทธ์ได้ทั้งในเชิงปัจจัยสนับสนุน และ วิธิการ โดยต้องเป็นกลยุทธ์ที่ให้คุณค่าเพียงพอที่จะทำ และ มีเป้าหมายที่ท้าทายความทะเยอทะยานที่เหมาะสม
  2. ต้องเป็นกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนได้ด้วยความโปร่งใส… มีการจัดการทรัพยากรที่คุ้มค่า สูญเสียน้อย ประสิทธิภาพสูง… ทั้งสินทรัพย์เรือนทุน และ สินทรัพย์มนุษย์ซึ่งต้องการพลังความคิดของทรัพยากรมนุษย์ในกลไกการขับเคลื่อนกลยุทธ์เป็นการต่อสู้ด้วยชั้นเชิงที่ซับซ้อนเสมอ
  3. ต้องมีกลไกการจัดการที่ยอดเยี่ยม… โดยเฉพาะกลไกการตัดสินใจในระหว่าการดำเนินการทางกลยุทธ์ ซึ่งเป็นกิจธุระที่ยังไม่ได้เป็นงานรูทีนเป็นส่วนใหญ่

ที่สำคัญ… การขับเคลื่อนกลยุทธ์ต้องการคนเก่งมีพรสวรรค์ หรือ Talent ในกลไกการดำเนินการเสมอ… การแปลงกลยุทธ์ไปเป็นความสำเร็จซึ่งต้องดำเนินการด้วย “ศิลปะของแม่ทัพ” จึงต้องการทีมในหน้าที่สำคัญๆ เต็มระบบ ซึ่งต้องเก่งพอ และ เชี่ยวชาญพอจำนวนหนึ่งเป็นอย่างน้อย… ซึ่งรวมทั้งตัวผู้นำ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *