Future Readiness หรือ Future Readiness Organization หรือ ความพร้อมขององค์กรสำหรับอนาคตที่จะถึง ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์องค์กรที่ผู้นำ ทีมนำ และ แกนนำล้วนต้องออกแบบอนาคตขององค์กรภายใต้บริบทที่จะเกิดขึ้นจริงของฉากทัศน์ในอนาคต… อันหมายถึงการตระหนักถึงเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในลำดับถัดไป ซึ่งหลายอย่าง หรือ ทุกอย่างจะแตกต่างออกไปจากปัจจุบันที่เป็นอยู่ โดยตัวแปรและบริบทในปัจจุบันส่วนหนึ่งจำเป็นจะต้องถูกปรับเปลี่ยนเพื่อให้พร้อมสำหรับอนาคต
ประเด็นก็คือ… ในเวทีของการแข่งขันทางธุรกิจบนตลาดไร้พรมแดนได้เปิดทางให้เกิด “ผู้ชนะจะได้ไปทั้งหมด หรือ Winner Takes All” ซึ่งไม่มีช่องว่างสำหรับองค์กรธุรกิจที่ขาดความพร้อมในอันที่จะยืนหยัดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่กลืนกินทั้งบริบท และ ตัวแปรความสำเร็จเดิมๆ ไปจนหมดในที่สุด
ความจริง… แรงกดดันในการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาหลายปีก่อนเกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิดช่วงปลายปี 2019 ซึ่งหลายองค์กรที่มีผู้นำที่ตื่นตัว และ มีวิสัยทัศน์มากพอที่จะเห็นโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ มีความล้าหลังและยากลำบากที่จะอยู่รอดในอนาคต… ล้วนเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูป หรือ Tranformation ให้องค์กรอยู่ในกระแส และ แนวโน้มหลักที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจนในอนาคต… ซึ่งองค์กรที่เริ่มปฏิรูปจะขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงผ่านเป้าหมายเชิงกลยุทธ์พื้นฐาน 4 ประการเป็นอย่างน้อย ได้แก่…
- More Connection หรือ การเชื่อมสัมพันธ์ให้มากขึ้น… เพื่อชดเชยความผันผวนไม่แน่นอนซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกนวัตกรรมก่อกวน หรือ Disruptive Innovation บ่อนทำลายโอกาสเดิมๆ ซึ่งจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงบนความท้าทายใหม่ที่จำเป็นต้องพึ่งพาเครือข่าย และ สายสัมพันธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- Unprecedented Automation หรือ ปรับใช้กลไกอัตโนมัติแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน… เพื่อถอดคนที่ทำงานแบบเครื่องจักรออกจากธุรกรรมซ้ำๆ เดิมๆ ภายในองค์กร เพื่อให้กลไกอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และ ของใช้อัจฉริยะที่ผิดพลาดน้อยแต่ประสิทธิภาพสูงได้มีบทบาทมากขึ้น
- Lower Transaction Costs หรือ ลดต้นทุนการดำเนินงาน… เพื่อมุ่งจัดการต้นทุนการดำเนินงานที่องค์กรต้องรับผิดชอบจ่ายเกินกว่าผลตอบแทนที่องค์กรได้
- Demographic Shifts หรือ การผลัดผ่านทางประชากร…. ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยปริยายของตลาดและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากการที่คนรุ่นหลังเติบโตขึ้นกลายเป็นกำลังซื้อหลักกลุ่มใหม่ที่ต่างไปจากกลุ่มคนรุ่นก่อน ซึ่งองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดรับต่อกลุ่มเป้าหมายใหม่นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่ในส่วนของแผนกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จะถูกสร้างขึ้นอ้างอิงกรอบคำถามเชิงยุทธศาสตร์องค์กรเพื่อตามหา “Radically Better หรือ ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน” โดยมี 3 คำถามหลักเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งถูกแนะนำโดยนักกลยุทธ์จาก McKinsey & Company ที่ประกอบด้วย…
1. Who We Are หรือ เราเป็นใคร… เพื่อโฟกัสตัวตนขององค์กร และ ความสำคัญของการมีอยู่จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งความสำคัญของการ “จะยังมีอยู่ต่อไปในอนาคต” ซึ่งเป็นการค้นหาเอกลักษณ์ หรือ Identity ที่จะพาองค์กรก้าวต่อไปสู่การเติบโตในลำดับถัดไป
2. How Do We Operate หรือ เราดำเนินการอย่างไร… เพื่อค้นหาแผน และ แนวทางที่จะทำให้การปฏิรูปองค์กรเกิดการเปลี่ยนผ่าน หรือ ลอกคราบใหม่อย่างเหมาะสมทั้งในเชิงยุทธศาสตร์องค์กร และ ยุทธวิธีในการดำเนินการที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่หนุนส่ง Competitive Advantage หรือ ความได้เปรียบเหนือการแข่งขัน
3. How Do We Grow หรือ เราเติบโตอย่างไร… เพื่อออกแบบระบบนิเวศใหม่ขององค์กรซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ขนาด และ ประสิทธิภาพ” ขององค์กรที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนองค์กร และ ธุรกิจหลักในอนาคต ซึ่งในทางเทคนิคจะเป็นการออกแบบโครงสร้างองค์กร เพื่อเสริมส่งการดำเนินงานบนเป้าหมายใหม่จนเห็น Radically Better หรือ ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน… โดยไร้การโต้แย้ง
อย่างไรก็ตาม… ความพร้อมสำหรับอนาคต หรือ Future Readiness ในหลายกรณีจะเป็นการกำหนดกรอบวิสัยทัศน์เพื่อทำ Business Transformations ไปพร้อมๆ กับการทำ Organizational Transformation หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Change Management… ซึ่งเป็นศาสตร์ด้านกลยุทธ์องค์กรที่ต้องเข้าใจ และ รู้จริงว่า “เราเป็นใคร หรือ Who We Are” ที่ทำให้การปฏิรูป หรือ Transformation ของทุกๆ องค์กรมีรายละเอียดเฉพาะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน… ซึ่งองค์กรที่เปลี่ยนผ่านสำเร็จส่วนใหญ่ มักจะเตรียมการ และ ดำเนินการอย่างเป็นระบบอย่างชัดเจนตั้งแต่ริเริ่มจนถึงการนำธุรกิจเข้าสู่สมดุลย์ใหม่… และ ริเริ่มเปลี่ยนผ่านอีกครั้งเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตลำดับถัดไป
References…