G-Upcycle และ ภาพรวมของธุรกิจ Upcycling… #RederSMEs

Upcycling คือโมเดลการผลิตสินค้าจากวัสดุรีไซเคิล หรือ Recycle ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยการนำวัสดุรีไซเคิลไปผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบผลิตสินค้าชนิดใหม่ ซึ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ และ แปรรูปหรือผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาดให้สูงกว่าเดิม เช่น การ Upcycling ขวด PET บรรจุน้ำดื่มไปเป็นเส้นใยสังเคราะห์สำหรับสินค้าสิ่งทอ… หรือการแปรรูปถังน้ำมันขนาด 200 ลิตรไปเป็นโซฟาเป็นต้น

รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ Research & Innovation for Sustainability Center หรือ RISC… ซึ่งอาจารย์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ผลักดันเรื่อง Upcycling ในเมืองไทยมานานได้พูดถึงภาพรวมของ Upcycling ไว้ว่า…

ภาพรวมของธุรกิจ Upcycling ในตอนนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมาก ปัจจัยหนึ่งมาจากการที่ภาครัฐเริ่มให้การสนับสนุนจนกลายเป็นแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งหมายถึง Bio-Circular-Green ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้มีคนเข้ามาในบริบทนี้ มีเด็กรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น องค์กรใหญ่เริ่มหันมาสนใจและดำเนินการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง สร้างให้เกิด Upcycling Initiative เพิ่ม ซึ่งผมมองว่า… การที่ธุรกิจนี้จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ นโยบายของภาครัฐรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ในแนวทาง Upcycling… กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้พัฒนาตราสัญลักษณ์ G-Upcycle ซึ่งเป็นเกณฑ์การประเมินผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการที่นำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสินค้า โดยมีที่มาจากแนวคิดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Design บางครั้งเรียนว่า Eco-Design หรือ Design for the Environmental 

แต่เกณฑ์นี้เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวัสดุที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนำของเหลือใช้ในทุกระดับกลับมาพัฒนาเป็นวัสดุทดแทน หรือ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะและเศษวัสดุที่ต้องถูกส่งไปฝังกลบหรือเผาทำลาย… รวมไปถึงส่งเสริมการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ และ พัฒนานวัตกรรมจากทรัพยากรที่ถูกสกัดออกมาแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ถือเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ผลิตภัณฑ์สีเขียว หรือ Green Products ซึ่งโดยทั่วไปใช้อธิบายถึงผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม ให้เข้าไปอยู่ในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่มต้นในกระบวนการออกแบบการใช้วัตถุดิบ และใช้พลังงานในการผลิต หรือ แปรรูปเท่าที่จำเป็น ทำให้เกิดของเสียหรือเศษเหลือทิ้งน้อยที่สุด มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ตราสัญลักษณ์รับรอง G-Upcycle ประกอบด้วยแนวคิด 2 ส่วนได้แก่

  1. Green Productivity คือกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ
  2. Upcycle ซึ่งเป็นกระบวนการที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยการพัฒนาให้เศษวัสดุเหลือใช้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและมีมูลค่าสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาและได้รับการรับรอง G-Upcycle ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคกล่าวคือ ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทั้งในด้านการออกแบบและเชิงพาณิชย์ สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้

รูปแบบสัญลักษณ์ G-Upcycle ความหมายของตราสัญลักษณ์ G-Upcycle จำแนกตามสีมีความหมาย ดังนี้

ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับท่านที่สนใจการเป็น BCG SMEs ซึ่งยังใหม่และมีช่องว่างพร้อมโอกาสทางธุรกิจอยู่มาก… แต่อย่างถามหาข้อมูลอ้างอิงตอนนี้น๊ะครับ เพราะการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ จะไม่ได้มองว่าเป็นกลุ่มสินค้า Upcycling… แต่ต้องวิเคราะห์ตลาดตามหมวดสินค้าสุดท้ายที่เข้าตลาดครับ… ซึ่งก็ว่ากันไปตามแบบแผนการวิเคราะห์ธุรกิจมาตรฐานได้เลย… พิเศษกว่าหน่อยก็ตรงที่เราสามารถขอสัญลักษณ์ G-Upcycle มาแปะสินค้าเราได้ตามเกณฑ์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts