GED… ทางลัดเข้ามหาวิทยาลัยนานาชาติ #ReDucation

ประเทศไทยมีระบบการศึกษานอกโรงเรียน และ การสอบเทียบเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษามานาน โดยถือเป็นช่องทางขยายโอกาสทางการศึกษาที่เปิดกว้างให้กับ “ความเหลื่อมล้ำ” ที่เคยคุกคามโอกาสทางการศึกษาของคนส่วนหนึ่ง โดยการศึกษานอกโรงเรียน กับ การสอบเทียบเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษายังถือว่าเป็นโอกาสสำหรับเด็กเก่งผู้มุ่งมั่นต่อเป้าหมายทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษ… ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะ “หันหลังให้การศึกษาในระบบ” ด้วยการสอบเทียบเอาวุฒิการศึกษาที่อาจจะต้องใช้เวลาเรียนต่อเนื่องอีกเป็นปีๆ มาใช้สร้างโอกาสลำดับถัดไปได้เร็วขึ้น… 

กระแส “การสอบเทียบเอาวุฒิก่อนวัย” ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปัจจุบัน ถือว่าร้อนแรง และ กำลังเป็นที่สนใจของเด็กรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า โดยเฉพาะเด็กมอปลายกลุ่มที่มีความฝันไกลกว่าการได้ใส่ชุดนักเรียนของโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ซึ่งในปัจจุบันและอนาคตดูเหมือนชื่อเสียงโรงเรียนเก่าจะช่วยอะไรไม่ได้มากอีกแล้ว… ในขณะที่ทางเลือกในการเรียนรู้ และ การฝึกทักษะทุกรูปแบบในปัจจุบัน สามารถ “หาและมีให้หา” ได้มากจากนอกโรงเรียนอย่างมากมายล้นเหลือ… ซึ่งแม้แต่การสอบเทียบในระบบการศึกษานอกโรงเรียนของประเทศไทยในปัจจุบัน ก็มีเด็กไทยจำนวนมาก “หันหลังให้” ด้วยการไปสอบเทียบเอาวุฒิบัตร High School Diploma เพื่อยื่นเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต้องสอบ GED หรือ General Educational Development ตามมาตรฐานของ  American Council on Education หรือ ACE กันมากมาย และ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลจาก ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือ ส.ปส.กช. เล่าไว้ว่า… ปัจจุบันมีนักเรียนระดับชั้นมัธยมปลาย ทั้งจากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนไปสอบ General Educational Development หรือ GED ซึ่งเป็นการสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบอเมริกา หรือ US High School Equivalency Diploma กันจำนวนมาก… ซึ่งการสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิมัธยมปลายจะใช้ยื่นเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งใน และ ต่างประเทศ และ ปัจจุบันพบว่า… มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเอกชนราว 10% เข้าสอบ GED เพื่อเทียบวุฒิ และ มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

GED เป็นการสอบเทียบวุฒิระดับมัธยมปลาย ด้วยข้อสอบ 4 วิชา คือ Language Arts หรือ RLA…  Science… Social Studies และ Math โดยค่าสอบจะอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อวิชา… โดยคะแนนสอบเทียบจาก GED หรือ General Educational Development สามารถใช้ยื่นขอเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัย และ สาขาต่างๆ ได้ทั้งหลักสูตรไทย และ หลักสูตรนานาชาติได้เกือบทุกคณะ… ยกเว้นเพียงบางสาขาที่เข้มงวดกับพื้นฐานการรับเรียนเฉพาะ เช่น คณะแพทย์ศาสตร์ เป็นต้น

ตัวอย่างมหาวิทยาลัย และ สาขาวิชาที่รับนักศึกษาด้วยวุฒิบัตร GED เช่น…

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย… สามารถยื่นเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติสาขา… 

  • หลักสูตรบริหารธุรกิจ 
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 
  • วิศวกรรมศาสตร์ 
  • ภาษาและวัฒนธรรม คณะอักษรศาสตร์ 
  • การจัดการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ 
  • เศรษฐศาสตร์ 
  • ออกแบบนิเทศศิลป์ 
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 
  • การออกแบบสถาปัตยกรรม 
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • เคมีประยุกต์ 
  • คณะวิทยาศาสตร์ 
  • วิทยาศาสตร์จิตวิยา คณะจิตวิทยา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์… สามารถยื่นเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติสาขา…

  • การเมืองและการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์ 
  • นโยบายสังคมและการพัฒนา
  • อังกฤษ-อเมริกัน ศึกษา 
  • ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ 
  • ASEAN-China 
  • รัสเซียศึกษา 
  • สื่อมวลชนศึกษา 
  • นวัตกรรมการบริการ
  • จีนศึกษา… อินเดียศึกษา… ไทยศึกษา… วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ 
  • กฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ 
  • บริหารธุรกิจ 
  • การออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล 
  • เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ 
  • วิทยาศาสตร์อุตสาหการและการจัดการ 
  • วิศวกรรมศาสตร์ 
  • การออกแบบพัฒนาชุมชนเมือง 
  • วิทยาลัยโลกคดีศึกษาและผู้ประกอบการสังคม 
  • เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก เทคโนโลยีทางคลินิก 
  • สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

วิทยาลัยนานาชาติมหิดล… สามารถยื่นสมัครเข้าเรียนต่อได้ทุกหลักสูตร

ข้อมูลคร่าวๆ พอให้เห็นภาพครับว่า… เด็กๆ ได้ยกระดับเส้นทางการศึกษาของพวกเขาเองนำร่องไปแล้วอย่างชัดเจน ซึ่งตัวเลข 10% จากท่านนายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชนในปัจจุบัน… ถ้ามองในเชิงการตลาดย่อมถือว่าได้เกิดตลาดใหม่ที่รอการเติบโตอย่างชัดเจนแล้ว!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts