Girl, Interrupted

Girl, Interrupted #หนังดีที่เคยดู

Borderline Personality Disorder หรือ บุคลิกภาพแบบชายขอบ หรือ อาการป่วยจิตเวชที่อยู่ระหว่างคนสติดีและสติไม่ดี ซึ่งแพทย์จิตเวชได้วินิจฉัย Susanna Kaysen หลังจากที่เธอกินแอสไพรินไปทั้งขวดกับวอดก้า จนถูกล้างท้องที่โรงพยาบาล… การทำร้ายตัวเองของเธอถูกกล่าวหาว่าพยายามฆ่าตัวตาย ในขณะที่ตัว Susanna Kaysen ไม่ยอมรับว่าตนเองคิดฆ่าตัวตาย แต่ท้ายที่สุดเธอก็ถูกส่งตัวเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลจิตเวช 

อาการของ Susanna Kaysen โดยปกติก็เหมือนเด็กสาววัยรุ่นทั่วไป เพียงแต่บางครั้งจะแสดงออกทางอารมณ์ และ พฤติกรรมรุนแรงอันไม่เป็นที่ยอมรับ สลับกับอาการซึมเศร้า หรือ Depression 

ที่สถาบันจิตเวชแห่งนี้… Susanna Kaysen ได้เจอเด็กสาวรุ่นราวคราวเดียวกันหลายคน แต่ละคนก็มีปัญหาพฤติกรรมที่สะท้อนความผิดปกติทางจิต ซึ่งดูหนักหนากว่าที่ตัวเองเป็นมาก แต่ Susanna Kaysen ก็รู้สึกได้ว่าตัวเองมีเพื่อน และ สนุกสนานในแบบที่เธอได้ปลดปล่อยตัวตนในอีกแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการได้เจอ Lisa Rowe ผู้มีพฤติกรรมบงการผู้อื่น และ ต่อต้านกฎระเบียบ ซึ่งถ้ามองผิวเผินก็ดูเป็นพวกบ้าบิ่นท้าทาย หรือ ชอบหาเรื่องโดยไม่แคร์ แต่ด้วยอาการทางจิตขั้นวิกลจริต หรือ Psychosis ซับซ้อนอยู่ในตัว และ ไม่เชื่อฟังและรับยาตามแพทย์พยาบาลจัดให้

อาการทางจิตประสาทของ Lisa Rowe มีทั้งชอบเล่นละคร หรือ Dramatization… หลงตนเอง หรือ  Narcissistic และ บงการผู้อื่นเสมอ หรือ Manipulation พร้อมกับบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม หรือ Antisocial ซึ่งแสดงออกเป็น “พฤติกรรมเหลือขอ” ทำร้ายผู้คนรอบตัวไปทั่วโดยไม่สำนึก… ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้ Lisa Rowe กลายเป็นคนไร้ความสามารถที่จะสร้างสัมพันธ์ที่จริงใจ… ไม่สามารถ Conform หรือ โอนอ่อนเข้าหากฎระเบียบ หรือ กติกา และยังไม่มีความละอายใจต่ออะไรอีกด้วย… พยาธิสภาพทางจิตของ Lisa Rowe จึงเข้าขั้นเลวร้ายเกินเยียวยา

ในขณะที่บุคลิกภาพแบบ Borderline Personality ของ Susanna Kaysen ก็หนักหนาไม่ธรรมดา เพราะ Susanna Kaysen ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แท้ หรือ Intimacy กับใครได้ง่ายๆ เพราะสภาพจิตของ Susanna Kaysen พร้อมจะ Devalue หรือ ไม่ให้ค่ากับใคร จนเห็นพฤติกรรมเดี๋ยวรักเดี๋ยวเกลียด หรือ Ambivalence ด้วยภาวะทางอารมณ์แบบไม่คงเส้นคงวา หรือ Instability

หนังเดินเรื่องพาผู้ชมตามไปดูบาดแผลในจิตใจของเด็กสาวหลายๆ แบบ ให้พอเห็นพฤติกรรมภายนอก กับภาวะเจ็บป่วยภายใน ผ่านการเล่าเรื่องของ Sasanna Kaysen… ซึ่งนักจิตวิทยาต่างยกกรณีของ Sasanna Kaysen ในหนังเรื่อง Girl, Interrupted เป็นตัวอย่างเพื่อชี้กลับไปให้เห็นผลจากการเลี้ยงดูลูก ในวัยสองสามขวบซึ่งเป็นช่วงเวลาของพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่เรียกว่า Separation และ Individuation ระหว่างลูกน้อย กับ บิดามารดา… ผู้มีส่วนสร้างสภาพจิตใจอันสับสนให้ลูกน้อยด้วยความโง่เขลาและรู้เท่าไม่ถึงกาล

บทวิจารณ์เชิงกรณีศึกษา โดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวถึงกรณีของ Susanna Kaysen ในหนังเรื่อง Girl, Interrupted ว่า… เมื่อทารกเกิดใหม่จะยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับมารดา กระทั่งอายุ 6 เดือนจึงเริ่มรับรู้ว่า ตนเองเป็นคนละส่วนกับมารดา และ เริ่มต้นกระบวนการแยกตัวเป็นอิสระทีละขั้นตอน ในขั้นตอนที่สามที่เรียกว่า Re-Approachment นี้เองที่เด็กสองขวบครึ่งจะสร้างสิ่งที่เรียกว่าตัวตน หรือ Self ขึ้นมา เท่ากับเป็นการวางเสาเข็มให้แก่ชีวิตของตน… เมื่อมารดาส่งสัญญาณให้ลูกน้อยรับรู้ทั้งรักทั้งเกลียด โดยแสดงออกผ่านยามรักก็โอ๋มาก ยามชังก็เฆี่ยนตี… ก็เท่ากับมารดาได้ลงโปรแกรมทั้งรักทั้งเกลียด และ เดี๋ยวรักมาก เดี๋ยวเกลียดมากบรรจุไว้ในเสาเข็มแห่งตัวตนของลูก ซึ่งลูกก็จะใช้โปรแกรมนี้ดำเนินชีวิตต่อไปแบบที่เรียกว่า Re-Approachment เพราะในจังหวะสุดท้ายที่เด็กจะแยกตัว หรือ Separation กระทั่งเป็นอิสระ หรือ Individuation… เด็ก หรือ ลูกก็จะเกิดอาการลังเล กลัวการแยกจาก กลายเป็นจังหวะที่อยากจะกลับเข้าหา หรือ Return โดยหวังว่าจะหลอมรวมชีวิตหรือ Approachment กับแม่ได้อีกครั้ง แต่มารดาผู้โง่เขลากลับ “แสดงพฤติกรรมโดยไร้การเอาใจใส่” ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวจนสร้างผู้ป่วย Borderline Personality Disorder ขึ้นมาในครอบครัว…

ขออภัยที่ผมเรียบเรียงความเห็นที่อาจารย์หมอประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์บันทึกไว้ โดยส่วนตัวผมดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกไม่รู้เรื่องจนดูไม่จบ และ กลับไปดูอีกครั้งหลังจากได้อ่านบทวิจารณ์ของอาจารย์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจและนักลงทุนที่ผมเคารพนับถือ ชื่นชมสไตล์ และ ผลงานของท่านมากที่สุดคนหนึ่ง

Girl,Interrupted ออกฉายช่วงคริสมาสต์ปี 1999… รับบท Susanna Kaysen โดย Winona Ryder… ส่วนบท  Lisa Rowe ที่แสดงโดย Angelina Jolie ก็ทำให้หนังเรื่องนี้ได้ออสการ์ และ รางวัลลูกโลกทองคำดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม และ ส่งให้  Angelina Jolie กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์ของ Hollywood จนถึงปัจจุบัน

หนังสร้างจากงานเขียนของ Susanna Kaysen ตัวจริง กับประสบการณ์ในสถาบันจิตเวชช่วงปี 1967-1968… บทหนังมีการเหน็บแนมสงครามเวียดนาม และ การตายของ Dr.Martin Luther King Jr. และ แทรกบรรยากาศยุคฮิปปี้ไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเพลงประกอบทุกเพลงในหนัง…

ส่วนใครอยากเห็นผลลัพธ์การเลี้ยงดูลูกหลานแบบคนไม่ฉลาด และ ไร้การเอาใจใส่ที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไร… ดูหนังเรื่องนี้ครับ แล้วจะเห็นปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นที่แฝงอาการเจ็บป่วยทางใจเอาไว้กับพวกเขาอย่างน่าสนใจ…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts