ในหนังสือ The Student Mindset ซึ่งผมและทุกท่านที่ติดตาม ได้เรียนรู้แนวทางเข้าถึงเป้าหมายแรกของชีวิตซึ่งก็คือการศึกษา ซึ่งเกี่ยวพันกับทุกคนแม้ว่าท่านจะไม่ใช่นักเรียนแล้ว หรือไม่เกี่ยวข้องอะไรกับโรงเรียนหรือการศึกษาเลย… แต่ Student Mindset ซึ่งประกอบด้วย Vision… Effort… Systems… Practice และ Attitude ซึ่งพัฒนาเป็น VESPA Model หรือ VESPA Mindset ซึ่งอธิบายแนวทางพัฒนาการศึกษา ผ่านมุมมองการพัฒนาอุปนิสัยของผู้เรียน… ซึ่งอุปนิสัย หรือ Character ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ทำเองอัตโนมัติได้เรื่อยๆ ไปตลอดชีวิตก็ได้นั้น… แท้จริงก็คือการฝึกพัฒนาอุปนิสัยด้วย VESPA Mindset เพื่อให้กลายเป็นอุปนิสัยติดตัวไปเป็นคนคุณภาพนั่นเอง
Dr. William Harris ผู้ก่อตั้งโรงเรียนชายวังสิงห์คำ หรือ Wang Sing Kham Boys’ School ในเชียงใหม่ตั้งแต่ปี 1887 ได้ให้คำขวัญที่ถือเป็นอมตะวาจาในวงการการศึกษาของไทยประโยคหนึ่งก็คือ… The Ultimate Aim of Education Is The Development Of Character. หรือ เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาคือการพัฒนาอุปนิสัย… ซึ่งโรงเรียนชายวังสิงห์คำที่ก่อตั้งเมื่อกว่า 130 ปีก่อนได้กลายมาเป็น The Prince Royal’s College หรือ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ตามนามพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 6… และยังคงยึดมั่นปรัชญาที่พ่อครูแฮริสกล่าวชี้ทางไว้ให้ตลอดมา
และหนังสือ The Student Mindset และ VESPA Mindset ก็ยืนยันชัดเจนอีกวาระหนึ่งว่า… วิสัยทัศน์ หรือ Vision ที่ประกอบด้วยความเพียรพยายาม หรือ Effort เพื่อค้นหาและสร้างระบบที่ดี ฝึกฝนเรียนรู้ ภายใต้ทัศนคติที่มุ่งเข้าหาวิสัยทัศน์อันเป็นเป้าหมายระยะยาว… ต้องพัฒนาที่อุปนิสัยหรือพัฒนาพฤติกรรมเป็นสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาเป็นพิเศษกับ “พฤติกรรมที่ย่อท้อถอดถอยจากเป้าหมาย จนไม่เหลือความสำเร็จแม้เล็กน้อยให้ได้ยึดถือเชื่อมั่นตน” เพียงพอจะพาตัวเองไปถึงเป้าหมายโดยไม่ต้องพึ่งพาการอุ้มชูจากภายนอก
หนังสือ The Student Mindset จึงหาทางปกป้องความล้มเหลวทุกทางที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อกับทุกเป้าหมาย และเครื่องมือเดียวที่พบว่าใช้ได้ผลที่สุดก็คือ ความเพียรพยายาม หรือ Effort นี่แหละ ที่สามารถปกป้องความสำเร็จใดๆ ในระยะยาวได้
พฤติกรรม “ถอดใจ หรือ Give up” ที่คนส่วนใหญ่ “มักจะ” รับรู้ความกดดันจากภายนอกมากมายที่กระทำต่อเส้นทางเป้าหมายของตน จนต้องถอดใจยอมแพ้ในที่สุดนั้น… สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่เคยรู้ก็คือ… Give up เกิดจากตัวเองเป็นส่วนใหญ่ และเกิดทันทีที่หมดความพยายามต่อเป้าหมายโดยตัวเองด้วย…
Francesco Cirillo เจ้าของแนวคิด Pomodoro Technique จากอิตาลีเสนอว่า… การแบ่งเวลาเป็นช่วงๆ เพื่อผลักดันเป้าหมายเพียงช่วงละ 25 นาทีก็เกินพอที่จะสร้างความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างดี… ที่สำคัญก็คือ การทุ่มเทตลอด 25 นาทีต้องเต็บไปด้วยการจดจ่อและมีสมาธิต่อเป้าหมาย ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ทำการบ้าน เตรียมงานนำเสนอ… และอย่าลืมปรับมือถือทุกเครื่องใกล้ตัวไปใช้โหมดการบินด้วยเพื่อปกป้องภาวะจดจ่อที่มาจากโลกออนไลน์
Pomodoro Technique หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักบริหารเวลาในชื่อเล่นว่า วิธีจัดการเวลาด้วยมะเขือเทศ… อันเนื่องมาจากคำว่า Pomodoro ในภาษาอิตาเลียนแปลว่ามะเขือเทศ
เทคนิคนี้ถูกคิดค้นโดยฟรานเซสโก คิริลโล หรือ Francesco Cirillo ชาวอิตาลี ที่คิดค้นและทดสอบเทคนิคนี้จากการใช้นาฬิกาตั้งเวลารูปมะเขือเทศในครัว โดยจุดประสงค์ของการจัดการเวลาแบบ Pomodoro Technique ก็เพื่อให้คนทำงานมีโฟกัสสูงสุดและรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ ทำให้ทำงานจบเป็นชิ้นๆ ได้โดยไม่เหนื่อยล้าทั้งกายและใจจนเกินไป… วิธีง่ายๆ ที่ว่า สามารถทำได้โดยการตั้งเวลาทำงานนั้นๆ อย่างมีสมาธิโดยไม่หยุดตลอด 25 นาที แล้วพัก 5 นาที เพื่อให้ได้ 1 Pomodoro… และเมื่อทำได้ 4 Pomodoro ก็พักได้ 15-25 นาทีไปเลย
ว่ากันว่า… Pomodoro Technique เป็นเครื่องมือทางเทคนิคชั้นยอดของบรรดามนุษย์ Super Productive ที่สร้างงานได้ล้นเหลือจนคนใกล้ตัวยังงงว่าทำผลงานขนาดนี้ได้ยังไง… และเมื่อนำ Pomodoro Technique มาใช้กับการเรียน โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เรียนโตพอที่จะควบคุมตัวเองได้อย่างดีกับการฝึกพัฒนาอุปนิสัยเรียนเป็นเรียน พักเป็นพัก เล่นเป็นเล่น… ซึ่งระบบการศึกษาครูอาจารย์เอง ก็ต้องเข้าใจกลไกการเรียนรู้ของสมองมนุษย์ว่า ไม่สามารถลากยาวจนสมองล้าตาเพลียจนมหดพลังทั้งครูและนักเรียนแล้วก็แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน
ประเด็นก็คือ… ทุกคนรู้ดีว่าประพฤติดีประพฤติชอบควรทำอะไรอย่างไรเวลาไหน แต่จะมีใครสักกี่คนที่ไม่เคยเผลอใจให้อาหารขยะที่รู้ว่าไม่ดีกับสุขภาพ ตั้งแต่ชีสในแฮมเบอร์เกอร์ไปจนถึงปูเค็มและน้ำปลาร้าในส้มตำ ซึ่งหลายคนยังกินเพราะมันอร่อยโดยที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่ได้ดีกับสุขภาพ… ในขณะที่หลายคนยังขอออกไปแฮงค์เอ้าท์เมากับเพื่อนก่อนนอนสัปดาห์ละครั้งหรือมากกว่านั้นทั้งที่บ่นเหนื่อยและงานค้างสุมหัวมากมาย ในขณะที่หลายคนยังใช้เวลาไปกับซีรีย์ 10 ซีซั่น 100 ตอนเดือนละหลายครั้งเพราะห้ามใจไม่อยู่ชนิดอดหลับอดนอนดูให้จบก็มี… และหลายคนยังเผลอหยิบมือถือมาไถดูนั่นนี่ทั้งที่เวลาจะทำเรื่องที่เป็นสาระกว่านั้นยังแทบจัดสรรไม่ได้
ในหนังสือ The Student Mindset จึงข้อเสนอแนะแบบฝึกพัฒนาอุปนิสัยให้หมั่นเพียร หรือ Effort ต่อเป้าหมายโดยยกแนวทางต่างๆ มาจากตำราหลายเล่มเพื่อย้ำว่า… ความเพียรพยายามเพื่อฝึกอุปนิสัยตน ไม่ให้กลัวทางไกลหรือเป้าหมายใหญ่และยาก จนถอดใจล้มเลิกที่แปลว่าล้มเหลวตั้งแต่ตัดสินใจล้มเลิกนั่นเอง… แนวทางอย่าง Dalio’s 5 Step Process for VESPA Mindset และ The 4 Disciplines of Execution และ Pomodoro Technique ที่ใช้เน้นการทำทีละน้อยแต่บ่อยและสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย… รวมทั้งโมเดลที่ชื่อ The Five P’s ที่อธิบายแนวทางการฝึกตนให้อยู่เป้าหมายสุดท้ายที่วาดหวังอย่างดีงาม… ในหนังสือ The Student Mindset ได้แนะนำ 5 P’s เอาไว้ดังนี้ครับ
- Prepare หรือ เตรียมตัวให้ดี… โดยทำความเข้าใจกับจุดอ่อนของตัวเองว่าจะเกิดการตัดสินใจล้มเลิกถอดใจในสถานการณ์ใดเวลาไหนบ้าง… หาทางจัดการช่องว่างจุดอ่อนนั้นล่วงหน้าได้เลย
- Publicise หรือ ประกาศออกไป… ซึ่งเป็นการบอกคนอื่นๆ ให้รู้เลยว่าท่านตั้งเป้าหมายและท้าทายตัวเองเรื่องอะไร เพื่อให้คนอื่นที่รับรู้ ได้ร่วมเป็นพยานคำสัญญาที่ท่านตั้งขึ้นและจะทำให้ได้ตามนั้น… คนอยากอ่านหนังสือแต่มือคอนเล่มหนาๆ ไม่ไหว อาจจะลองประกาศจะอ่านวันละ 2 หน้าทุกวันดูก็ได้ครับ
- Pre-Make Decisions หรือ ตัดสินใจล่วงหน้าเตรียมไว้ครบๆ… ในวันหนึ่งๆ คนเราตัดสินใจทั้งที่รู้ตัวว่าผ่านการขบคิดก่อนตัดสินใจ และตัดสินใจโดยความเคยชินที่สมองส่วนกลางทำงานไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่รอการคิดจากสมองส่วนหน้าที่ฉลาดกว่า… การฝึกนิสัยให้สมองส่วนกลางเลือกทางที่ถูกแบบที่เรียกว่า อุปนิสัยที่ดีจึงสำคัญด้วยเหตุนี้… และการรู้เท่าทันความมักง่ายเผลอไผลของสมองส่วนกลางจากนิสัยด้านลบสารพัด… ก็ต้องคิดไว้ล่วงหน้าว่า เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นจะทำอย่างไร ซึ่งคำตอบที่เตรียมไว้จะช่วยได้มาก
- Proxy หรือ ชดเชยทดแทน… หลายท่านรู้ดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมอะไรช่วงตอนไหนที่จะพาวนกลับไปหาพฤติกรรมที่เราอยากเลี่ยง โดยเฉพาะกิจกรรมที่พาเราเละเทะจนต้องนับหนึ่งใหม่กับเป้าหมายดีๆ ที่วาดหวัง… การหากิจกรรมอื่นทดแทนให้ได้จนกลายเป็นนิสัยใหม่ คือทางออกที่ควรรีบทำให้เห็นผลโดยไว เช่น เราติดบุหรี่เพราะนิโคติน ก็ควรซื้อแผ่นนิโคตินมาแปะทดแทน จนไม่คุ้นเคยกับการคาบบุหรี่จุดสูบให้ได้… หรือถ้าติดบุหรี่เพราะเพื่อนไม่เลิก แถมยัดเยียดให้สูบอีกก็เลิกคบ และไปหาคนกลิ่นปากหอมๆ คุยด้วยจนเราอยากเลิกบุหรี่ดีกว่า
- Persist หรือ รักษาไว้ให้คงมั่น… ซึ่งเรากำลังพูดถึงความพยายามที่จะฝึกอุปนิสัยให้ทำตามสิ่งที่รู้อยู่เต็มอกว่า… อะไรดีอะไรไม่ดีกับอนาคตและเป้าหมายปลายทางระยะยาว และการเลือกทำตามแนวทางแบบอย่างที่ดี ส่วนใหญ่จะเห็นผลช้าจนต้อง “เพียรพยายาม” ไปจนกระทั่งความเพียร หรือ Effort กลายเป็นตัวตนเห็นชัดในอุปนิสัย… อันแปลว่าท่านจะเพียรกับทุกเรื่องที่ผ่านเข้ามาเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ซึ่งแปลซ้ำได้อีกว่า ถ้าใครหวังว่าจะเพียรพยายามไปถึงเมื่อนั่นเมื่อนี่ก็สามารถกลับมาเละอย่างเก่าได้… คงเข้าใจอะไรผิดไปเยอะทีเดียว
ลองพยายามดูครับ… ผมเองก็ต้องบอกตัวเองเหมือนกัน!
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
- Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
- Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
- Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
- Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
- Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
- K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค
- Problem Solving Cycle for VESPA Mindset
- The Art of Reactions to Feedback… ศิลปะการรับมือกับเสียงติชม
- The Dip… ช่วงเวลาอันอ่อนไหวเปราะบางต่อความสำเร็จ
- Dalio’s 5 Step Process for VESPA Mindset
- The 4 Disciplines of Execution for VESPA Mindset