แนวคิดในการผลิตไฟฟ้าด้วยแรงโน้มถ่วง… ถือเป็นแนวคิดและหลักการบริสุทธิ์ด้านพลังงานที่ยั่งยืนและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งการก่อสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากแหล่งน้ำทั่วโลก ได้ยืนยันความยิ่งใหญ่ของแรงโน้มถ่วงที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไหลตามแรงโน้มถ่วงโลกของน้ำในแม่น้ำ นับตั้งแต่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือ Hydroelectric Power Plants แห่งแรกของโลก สร้างจากการดัดแปลงน้ำตกของแม่น้ำ Fox River ในเขตเมือง Appleton มลรัฐ Wisconsin โดย Appleton Paper Manufacturer ของ H.J. Rogers ซึ่งใช้ K Type Dynamo ของ Thomas Alvar Edison ในการปั่นกระแสไฟฟ้า… สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ยั่งยืนกว่าโรงไฟฟ้าเครื่องจักรไอน้ำใน New York ของ Thomas Alvar Edison ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง… โลกก็ค่อยๆ สว่างไสวขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษต่อมา โดยมีเขื่อนผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำเกิดขึ้นเกือบทุกพื้นที่บนโลกที่มีความเป็นไปได้ในการลงทุน
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของแนวคิดการใช้แรงโน้มถ่วงผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืนกว่าเดิม ถูกจดสิทธิบัตรโดย Gravitricity ซึ่งตามมาด้วยการตีพิมพ์ผลงานเชื่อ Gravity Energy Storage Systems โดย Miles Franklin กับ Peter Fraenkel และ คณะ… ซึ่งประสบความสำเร็จจากการสร้างโรงไฟฟ้าต้นแบบขนาด 250 kWh ด้วยเทคนิคการกักเก็บแรงโน้มถ่วง ด้วยการประจุพลังงานศักย์โน้มถ่วง หรือ Potential Energy เอาไว้ในลูกตุ้มน้ำหนักด้วยพลังงานหมุนเวียนจากพลังลม และ โซลาร์เซลล์ในเมือง Edinburgh เขต Scotland
เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าของ Gravitricity ใช้หลักการลูกตุ้มน้ำหนักที่ออกแบบไว้ขนาด 12,000 ตัน แขวนไว้ด้วยสายเคเบิลที่พันรอบแกนเพลา ซึ่งเคเบิลแต่ละเส้นจะโยงเข้ากับกว้านไฟฟ้าที่สามารถยกลูกตุ้มกลับขึ้นด้านบนเพื่อจัดเก็บในรูปของพลังงานศักย์ หรือ Potential Energy ด้วยไฟฟ้าจากพลังงานลม และ แสงแดด…
ข้อมูลที่ Gravitricity เปิดเผยในปัจจุบันยืนยันว่า เทคโนโลยีของ Gravitricity สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้เพียงเสี้ยวินาทีที่เดินเครื่องด้วยการ Discharge Weights หรือ ปล่อยลูกตุ้ม และ มีต้นทุนการประจุพลังงานเพียง 171 ดอลลาร์สหรัฐต่อ MWh ภายใต้การลงทุนนาน 25 ปี ซึ่งถูกกว่าการจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนครึ่งต่อครึ่ง… โดยข้อมูลจาก Gravitricity อ้างว่ามีต้นทุนต่ำที่สุดในบรรดาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
ไอเดียของ Gravitricity ถือเป็นหนึ่งในแนวคิด Perpetual Machine หรือ Perpetual Motion ที่ถูกแก้ปัญหาประสิทธิภาพต่ำ และ การสูญเสียพลังงานในระบบด้วยการใช้ไฟฟ้าพลังลม และ โซลาร์เซลมาชดเชยการเคลื่อนย้าย “ตุ้มน้ำหนัก” ซึ่งระบบในโรงไฟฟ้าต้นแบบที่กำลังก่อสร้างจะใช้ตุ้มน้ำหนัก ขนาด 500 ตัน 24 ลูก… เคลื่อนที่ในแนวดิ่งลึก 300 เมตร สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 20 MWh สำหรับครัวเรือน 63,000 หลังในทุกๆ ชั่วโมงที่ Discharge Weights หรือ ปล่อยลูกตุ้ม
หลังจากประสบความสำเร็จในการสร้างต้นแบบทดสอบแนวคิดขนาด 250 kW ด้วยโครงสร้างหอสูง 15 เมตรที่ Port of Leith หรือ ท่าเรือลีธ ในเมือง Edinburgh… Gravitricity มีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าแรงโน้มถ่วงของพวกเขาที่เหมือง Staříč ในสาธารณรัฐเช็กเป็นแห่งแรก… ข้อมูลเท่าที่มีในมือผมตอนนี้ระบุว่า ทีมวิศวกรของ Gravitricity อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจาก European Investment Bank และ EU Innovation Fund… ซึ่งผมเชื่อว่าคงได้เห็นของจริงในอีกไม่นานนับจากนี้
References…